เปิดข้อมูลปฏิบัติการเจาะถ้ำหลวง “ด้านฟิสิกส์-ธรณีวิทยา” ภารกิจช่วยหมูป่าอะคาเดมี

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 26 กรกฎาคม ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ภายในงานเสวนาด้านเทคนิคธรณี วิศวกรรม “ปฏิบัติการเจาะถ้ำหลวง ทีมธรณี-วิศวะ” เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในอีกมุมมอมง หลังจากภารกิจช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย

นายพิษณุ วงศ์พรชัย อ.ประจำภาควิชาธรณีวิทยา ม.เชียงใหม่ กล่าวถึงประเด็นทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อภารกิจการหาโพรงทางด้านท้ายและตะวันตกเพื่อที่จะขุดเจาะและเข้าไปช่วยเหลือเด็กว่า ตอนแรกคิดว่าจะเจาะด้านตะวันตกลงไปหาเด็กเลย แต่ยังไม่ทราบตำแหน่งของเด็กและผนังถ้ำหนามาก แม้คิดว่าสามารถทำได้แต่ต้องมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม แต่นำเครื่องมือลงไปวัดได้ไม่เกิน 100 เมตร เพราะสภาพแวดล้อมไม่อำนวย ถือเป็นความยาก จึงเปลี่ยนไปทางด้านใต้ บริเวณนั้นดูจากแผนที่เหมือนจะเห็จุดมาร์ติน พ้อยท์ หรือจุดที่นานมาร์ติน เอลลิซ นักสำรวจถ้ำชาวอังกฤษที่เคยเข้าไปยังถ้ำหลวงฯ ได้เดินมาถึงแถวนั้นแล้วเห็นแสงและเชื่อว่าสามารถทะลุออกไปอีกด้านของถ้ำได้

นายพิษณุ  กล่าวอีกว่า แต่สุดท้ายแผนที่เลื่อน จึงต้องเสี่ยงทำตรงจุดที่คิดว่าเป็นไปได้ สำหรับการหาโพรงนั้น ตรงโพรงมีหิน อากาศ ตะกอน มีการนำไฟฟ้าต่างกัน มองว่าเร็วง่ายพอจะได้ผลบ้าง ทำได้แต่อาจใช้เวลา 3-6 เดือน คงเป็นไปไม่ได้ เลยเปลี่ยนมาหาความต้านทานไฟฟ้า ถ้าวัสดุเหมือนกันไฟฟ้าจะวิ่งได้ง่าย จึงมีการทดลองปล่อยกระแสไฟฟ้า เป็นเทคนิคที่ใช้ในการทำงานเพื่อหาตำแหน่งและค่าต่างๆเกี่ยวกับความลึก เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นภาพ แต่ก็ต้องนำตัวเลขมาแปรค่า เช่น น้ำ หิน กรวด เป็นต้น แต่ก็เป็นค่าที่ไม่คงที่ ต้องใช้ความรู้ด้านธรณีวิทยามาผนวกกัน เพื่อทำเป็นโมเดล เพื่อหาจุดที่สามารถขุดเจาะได้ หลังจากนั้นพบว่าน้ำร้อยละ 30 มาจากดอยผาหมี หากจัดการน้ำตรงจุดนั้นได้ก็จะทำให้น้ำในถ้ำลดลงร้อยละ 30


ด้านนายดีเซลล์ สวนบุรี รองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายบริการวิชาการ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ระบุว่าตอนแรกไม่มั่นใจและมีความกังวลในเรื่องกระแสไฟฟ้า และข้อจำกัดและเทคโนโลยีการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า ตอนแรกได้รับติดต่อให้ไปช่วย มีเวลาเก็บของและรวมทีม 2 ช.ม. ครั้งแรกที่ไป โจทย์แรกคือมีรถพร้อมเจาะ แต่จะเจาะตรงไหน ตอนแรกไปสแกนหน้าผาเพื่อหาจุดเหมาะสม ซึ่งตอนแรกเลือกหาดพัทยา มีสภาพเหมาะมากแต่ทำยาก สุดท้ายสรุปว่าสแกนได้แต่เจาะไม่ได้เพราะไม่มีหินปูน ต่อมาจึงย้ายไปทำบนเขาแทน ยังไม่สำเร็จจนเข้าวันที่ 4-5 เริ่มมีความกังวล โดยหลังจากนั้นมีการคำนวนและสแกนภูเขาเพื่อเดินหน้าหาโพรง

Advertisement

สำหรับนายสุวิทย์ โคสุวรรณ จากกรมทรัพยากรธรณี อธิบายถึงหลักการสแกนถ้ำเพื่อสร้างแผนภาพหาตำแหน่งของเด็กในถ้ำด้วยการใช้เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวว่า ทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่จะมีการปล่อยคลื่นความถี่ออกมา 2 ชนิดคือคลื่น S และ คลื่น P และใช้หลักฟิสิกส์พื้นฐาน ในการคำนวณหาความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวคูณกับระยะเวลาเพื่อหาว่าคลื่นแต่ละเดินทางมาห่างกันเท่าไหร่ ซึ่งแรงสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยที่มนุษย์อาจไม่รู้สึกแต่เครื่องมือวัดสามารถจับได้ ทั้งนี้ ภายในโถงสามที่มีหน่วยซีลอยู่มาก ก็ได้ใช้เครื่องมือดังกล่าวปูพรมพื้นที่เหนือถ้ำ และให้หน่วยซีล สร้างแรงสั่นสะเทือนด้วยการนำถังออกซิเจนเปล่ากระแทกกับผนังถ้ำเพื่อสร้างแรงสั่นสะเทือนแต่เครื่องสูบน้ำกลับสร้างคลื่นรบกวน จึงต้องเปลี่ยนแผนอื่นต่อไปเพื่อค้นหา ”มาร์ตินพอยท์” โพรงลมทางทิศใต้ของถ้ำอีกแห่งที่นายมาร์ติน เอลลิส พบจากการค้นหาภายในตัวถ้ำ โดยขณะนั้นมีเพียงทางเข้าออกเดียวด้านหน้า

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image