ผลความคิดเห็นพบ 50 % ต้องช่วยเหลือหากพบความรุนแรงในครอบครัว อีก 41% ไม่แน่ใจ

จากกรณีข่าวเรื่องความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นกรณีการทำร้ายร่างกายระหว่างสาวทอมกับแฟนสาว หรือกรณีสามียิงภรรยาด้วยเหตุนอกใจและจับเป็นตัวประกัน หรือกรณีภรรยาขับรถชนสามีด้วยเหตุนอกใจ

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้ข้อคิดว่า จริงๆคนในสังคมป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ จาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดยเจตจำจงของกฎหมายช่วยให้ครอบครัวมีทางออก โดยที่สังคมต้องมีส่วนร่วมอันนี้สำคัญมาก ในหลายกรณีที่คนในครอบครัวถูกทำร้ายผลจากการเข้าไปสอบถามมักพบว่าเพื่อนบ้านได้พบเหตุการณ์ทำร้ายร่างการเป็นประจำ แต่สังคมกลับเพิกเฉยจนกลายเป็นระบบปิดของครอบครัว ทั้งที่จริงหากเราเข้าไปแทรกแซงหรือหาวิธีช่วยเหลือตั้งแต่แรก ก็จะไม่เกิดเหตุสลดดังข่าว

มติชนออนไลน์ ได้เชิญชวนแสดงความเห็น “หากพบความรุนแรงในครอบครัว..คุณจะช่วยเหลือหรือไม่..เพราะเหตุใด..”

โดยผลการแสดงความคิดเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ MatichonOnline พบว่า ร้อยละ 50 ช่วยเหลือ ร้อยละ 9 ไม่ช่วยเหลือ และร้อยละ 41 ไม่แน่ใจ

Advertisement

ส่วนเฟซบุ๊ก MatichonOnline มีความคิดเห็นหลากหลาย อาทิ

“ช่วยตามความเหมาะสม ตามดุลยพินิจของตัวเองครับ เอาความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง เช่นถ้าว่า เห็นถือมีด ถือ ปืน ทะเลาะกันอยู่ ก็โทรแจ้ง ตร.สะ
หรือ ถ้าเห็น ผญ.ตบตี เด็กอะไรอยู่ เราพอห้ามปราบได้ก็ทำ ประมาณนี้
กฎหมายไม่ใช่ว่าจะต้องบังคับให้ช่วยเหลือทุกกรณี”

Advertisement

“กฎหมายบังคับให้ช่วย แต่ไม่คุ้มครองถ้าเกิดอันตรายกับผู้เข้าไปช่วย ภาษาชาวบ้านคืออาจตายฟรี”

“ช่วยครับช่วยแจ้งความให้ตำรวจมาจัดการแต่จะไม่เข้าไปช่วยด้วยตัวเอง…กลัวตาย”

“โทรแจ้ง 191 อย่างน้อยก็มีความพยายามทำอะไรแล้ว การช่วยเหลือตัวเราเองก็ต้องไม่เป็นอันตรายหรือเดือดร้อน มองความเป็นจริงๆๆ”

จากกรณีข่าวเรื่องความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นกรณีการทำร้ายร่างกายระหว่างสาวทอมกับแฟนสาว…

โพสต์โดย Matichon Online – มติชนออนไลน์ เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2018

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image