กฎหมายคุ้มครองเด็ก (ไม่) ศักดิ์สิทธิ์

มวยเด็ก

หลังจากมีเหตุการณ์เสียชีวิตของนัก มวยเด็ก วัย 13 ปี คาสังเวียน

มวยเด็ก – กระแสผลักดันให้มีการปรับแก้ไข พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ.2542 ก็ถูกพูดถึงอีกครั้ง หนนี้ดำเนินไปด้วยความเข้มข้น เพราะสังคมให้ความสนใจ และจากโศกนาฏกรรมนี้ ทำให้หลายคนโดดร่วมขบวนสนับสนุนให้ปรับแก้กฎหมาย ที่ส่วนหนึ่งมีการกำหนดอายุขั้นต่ำ 12 ปีขึ้นไปจึงสามารถเข้าแข่งขันมวยได้ พร้อมมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยในเด็กต่างๆ ถือเป็นการบ้านฝ่ายการเมืองและนิติบัญญัติ จะไปพิจารณาออกกฎหมายที่คำนึงถึงผลประโยชน์เด็กเป็นหลัก ไม่ใช่ประโยชน์หรือเป็นเครื่องมือความสนุกของผู้ใหญ่บางคน

แต่ทั้งนี้ ก็มีคำถามไปยังกระทรวง พม.ไม่น้อย รู้ทั้งรู้ว่าสามารถเอาผิดผู้เกี่ยวข้องให้มีการแข่งขันมวยเด็กได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 (7)

“บังคับ ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า อันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก”

ที่ผ่านมาทำไมถึงยังปล่อยให้มีการแข่งขันมวยเด็ก และน่าคิดอีกว่าหาก พ.ร.บ.กีฬามวยฯ ฉบับแก้ไขได้บังคับใช้แล้ว จะถูกนำไปใช้เข้มข้นอย่างไร โดยเฉพาะเด็กวัย 12-15 ปี ที่ร่างกฎหมายเปิดช่องให้แข่งขันมวยได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด จะปิดช่องเลี่ยงบาลีได้อย่างไร

Advertisement

‘มวยเด็ก’ วาระที่ ‘ผู้ใหญ่’ ต้องใส่ใจ

คลิปวินาที “เพชรมงคล ป.พีณภัทร”นักมวยเด็ก ถูกน็อก จนเลือดคั่งในสมองดับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image