ระดมคนละร้อย หวัง 10 ล้าน ! ซื้อที่ดินข้างพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เจ้าของเดิมทุ่มแล้ว 30 ล้าน กันสร้างตึก 8 ชั้นบังแหล่งเรียนรู้

ภาพเล็ก รศ.วราพร สุรวดี เจ้าของเดิมพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการเปิดรับบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านเพื่อซื้อที่ดินด้านข้างพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ซึ่งมีราคาเต็ม 40 ล้านบาท โดย ร.ศ. วราพร สุรวดี ประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง วัย 80 ปี นำเงินส่วนตัวมัดจำแล้ว 30 ล้านบาท มีกำหนดชำระส่วนที่เหลือ 10 ล้านบาทภายใน 2 กันยายนนี้ (อ่านข่าว ตึกสูงรุกคืบ ‘พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก’ เหตุเมิน ‘ภูมิทัศน์’ หรือความผิดพลาดของ ‘ผังเมือง’?)

ที่ดินหลังรั้วสังกะสีพื้นที่ 105 ตารางวา ซึ่งจะมีการสร้างตึก 8 ชั้น อยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกในซอยเจริญกรุง 43 หรือตรอกสะพานยาว
ที่ดินหลังรั้วสังกะสีพื้นที่ 105 ตารางวา ซึ่งจะมีการสร้างตึก 8 ชั้น อยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกในซอยเจริญกรุง 43 หรือตรอกสะพานยาว

สำหรับจุดประสงค์การซื้อที่ดินดังกล่าว สืบเนื่องมาจากพื้นที่ด้านข้างพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ได้ถูกขายต่อจากเจ้าของเดิม ซึ่งเจ้าของใหม่กำลังเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารสูง 8 ชั้น โดยได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ร.ศ. วราพร เล็งเห็นว่าหากตึกดังกล่าวสร้างแล้วเสร็จ จะบดบังทัศนัยภาพของพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวลงอย่างสิ้นเชิง รวมถึงห่วงว่าจะส่งผลกับโครงสร้างของอาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีหลายหลัง อีกทั้งเป็นอาคารอนุรักษ์อีกด้วย จึงตัดสินใจทำจดหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อร้องขอให้ซื้อที่ดินดังกล่าว แต่ไม่เป็นผล ร.ศ.วราพรจึงเจรจากับเจ้าของที่ดินใหม่ เพื่อขอซื้อด้วยตนเอง โดยนำเงินส่วนตัวจ่ายไป 30 ล้านบาท คงเหลืออีก 10 ล้านบาทซึ่งต้องขอระดมทุนจากประชาชนทั่วไป

ร.ศ. สุรวดี จึงเปิดรับบริจาค รายละ 100 บาท หรือตามกำลังความสามารถ โดยโอนเข้าบัญชี น.ส.วราพร สุรวดี (โครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวกลางกรุงเทพ) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจัตุรสั จามจุรี เลขที่บัญชี 407 – 061757 – 2 รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก โทร. 02-233-7027

ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ประกอบด้วยที่ดินตามโฉนด 2 แปลง รวม 1-0-6 ไร่ เป็นของตกทอดตั้งแต่บรรพบุรุษมาจนถึงมารดาของ รศ.วราพร คือ นางสอาง สุรวดี (ตันบุญเต็ก) เมื่อท่านถึงแก่กรรม ตัวบ้านจึงถูกปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ด้วยความสนใจส่วนตัวในด้านศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งต้องการรักษาสถาปัตยกรรมและข้าวของเครื่องใช้อันล้ำค่าของชาวบางกอก เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ต่อมาได้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง คืออาคารพิพิธภัณฑ์ทั้ง 4 หลัง อีกทั้งข้าวของต่างๆ ที่จัดแสดงอยู่ภายใน ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม.ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2547 กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก มีผู้เยี่ยมชมเดือนละกว่า 700 คน

Advertisement
บรรยากาศร่มรื่นที่พิพิธภัณฑ์อยากเก็บไว้เป็นปอดของคนกรุงเทพฯ จึงห่วงการสร้างอาคารสูงในย่านเก่าอย่างเจริญกรุง-บางรัก
บรรยากาศร่มรื่นที่พิพิธภัณฑ์อยากเก็บไว้เป็นปอดของคนกรุงเทพฯ จึงห่วงการสร้างอาคารสูงในย่านเก่าอย่างเจริญกรุง-บางรัก

 

วิถีชีวิตชาวบางกอกในอดีต ถูกบอกเล่าผ่านข้าวของเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเดิมเป็นบ้านของครอบครัว รศ.วราพร สุรวดี
วิถีชีวิตชาวบางกอกในอดีต ถูกบอกเล่าผ่านข้าวของเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเดิมเป็นบ้านของครอบครัว รศ.วราพร สุรวดี

 

รศ.วราพร สุรวดี ประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง ในวัย 80 ปีซึ่งสนับสนุนกิจการของพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
รศ.วราพร สุรวดี ประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง ในวัย 80 ปีซึ่งสนับสนุนกิจการของพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image