เปิดผลวิจัยความเครียด ‘น.ศ.แพทย์’ กังวลเรื่องสอบที่สุด เกือบครึ่งไม่กล้าปรึกษาอาจารย์

เปิดผลวิจัยความเครียด ‘น.ศ.แพทย์’ กังวลเรื่องสอบที่สุด เกือบครึ่งไม่กล้าปรึกษาอาจารย์

จากกรณีที่เหล่านักศึกษาแพทย์ ได้ออกมาโพสต์เรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์ หลังจากอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ได้ออกมาโพสต์ว่า “ขอเสียงนักศึกษาแพทย์เลว พูดความจริงที่คณะไม่อยากฟัง” จนกลายเป็นประเด็นในทวิตเตอร์ และมีติดแฮชแท็ก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จนขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์นั้น

#นักศึกษาแพทย์เลว ติดเทรนด์ทวีต แห่แชร์เรื่องจริงวงการหมอ ที่คณะแพทย์ไม่อยากฟัง

‘หมอธีระวัฒน์’ รับ #นักศึกษาแพทย์เลว เรื่องจริง ยกบทความย้อนเล่า สภาพการณ์ทำงานหมอ

เฟซบุ๊กแฟนเพจ Thammasat University Library ได้เผยแพร่งานวิจัย เรื่อง “การศึกษาปัจจัยความเครียดในนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวินิทรา นวลละออง ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้วิจัยกับกลุ่มนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก จำนวน 182 คน ในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเทอมที่ 2 ของปี 2549

Advertisement

ในงานวิจัย มีการศึกษความซุกของนักศึกษาแพทย์ที่มีความเครียดในประเทศไทย โดยรัชนีบูล เศรษฐภูมิรินทร์ พบว่า นักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับต่ำ (ร้อยละ 83.87) และมีความเครียดในระดับสูงร้อยละ 16.13 วนความเครียดในนักศึกษาแพทย์ วันเพ็ญ ธรกิตต์วัณณ การได้สำรวจสุขภาพจิตของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในการศึกษา 2539-40 จำนวน 341 คน พบว่านิสิตร้อยละ 24.63 ความเครียดรุนแรงจนเป็นปัญหาสุขภาพจิต โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสติติ (p < 0.06) ได้แก่ ชั้นปีที่ศึกษาอยู่โดยชั้นปีที่ 2 เป็นชั้นปีที่มีจำนวนผู้มีความเครียดสูงที่สุด, บัญหาด้านการเงิน, ปัญหาด้านที่พัก การมีกิจกรรมนอกหลักสูตร, ความสัมพันธ์กับบิดามารดา, ความสัมพันธ์กับอาจารย์, และความสัมพันธ์กับเพื่อน

ใน 2542 มีการศึกษาโดยเธียรชัย งามทิพย์วัฒนา และคณะได้ศึกษาเรื่องความเครียด และรูปแบบการแก้ปัญหาของนักศึกษาแพทย์ ปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พบว่านักศึกษาที่มีความเครียดเล็กน้อยพบร้อยละ 10.63 และความเครียดมากพบร้อยละ 7.25 ในคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีมีการศึกษาความเครียดในนักศึกษาแพทย์เช่นกัน (Saipanish 2003) โดยทำการศึกษาแบบ cross sectional ด้วย
แบบทดสอบ Thai Stress Test ในนักศึกษาแพทย์ทุกชั้นปื พบว่าร้อยละ 61.4 มีความเครียดเล็กน้อย, ร้อยละ 24 มี ความเครียดในระดับสูง โดยความซุก (prevalence) สูงที่สุดในชั้นปีที่ 3 ปัญหาหลักที่นำมาซึ่งความเครียดคือปัญหา ด้านการเรียนโดยเฉพาะการสอบ

สำหรับผลงานวิจัยชิ้นดังกล่าว พบว่า แพทย์ชั้นคลินิกร้อยละ 46.70 มีความเครียดระดับปานกลาง รองลงมา ร้อยละ 26.37 มีความเครียดน้อย และ 23.08 มีความเครียดในระดับสูง โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างแพทย์หญิงและชาย

Advertisement

ขณะที่ปัจจัยความเครียดของนักศึกษาชั้นคลินิก 4 อันดับแรก ได้แก่ การสอบ (35.70), การเปลี่ยนจากวิชาปรีคลินิกไปสู่คลินิก (ปี 3-4 ที่ 31.30), การเขียนรายงานผู้ป่วย (22.50) และ ผลคะแนนสอบ (20.90) ลำดับต่อไปคือ การเข้ากับกลุ่มเพื่อนที่เปลี่ยนไปตามวิชาเรียน และ การปรับตัวเข้ากับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย

ส่วนปัจจัยความเครียดที่นักศึกษาแพทย์ ไม่รู้สึกกังวล ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต (10.46), ปัญหาด้านการเงิน (9.17) ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว (9.08) ขณะที่ปัญหาที่กังวลมาก ได้แก่ การสอบ (9.24), ผลคะแนนสอบ (8.57) การเรียนกับผู้ป่วยจริงในหอผู้ป่วย (8.43)

อย่างไรก็ตาม พบกว่าเกือบครึ่งหนึ่งของนักศึกษาแพทย์ไม่กล้าปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาด้านการเรียน ที่ร้อยละ 41.90 ขณะที่ร้อยละ 46.11 ไม่คิดปรึกษาอาจารย์แม้ว่าเกิดความเครียดแค่ไหนก็ตามส่วนร้อยละ 14.44 ไม่ทราบว่าอาจารย์ที่ปรึกษาของตนเป็นใคร และ 12.12 เชื่อว่าการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาอาจมีบันทึกเก็บไว้และส่งผลต่อการทำงานในอนาคต นอกจากนั้น ร้อยละ 16.02 รู้สึกอายมาก หากเพื่อนทราบว่ามีปัญหาความเครียดจนต้องปรึกษาอาจารย์ โดยพบว่าส่วนใหญ่ นักศึกษาแพทย์มีผู้ให้คำปรึกษาได้เสมอ ร้อยละ 80.66 อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 14.53 เมื่อปรึกษาเพื่อนหรือคนในครอบครัวแล้วไม่มีทางออก ก็ไม่รู้จะปรึกษาใครอีกแล้ว ร้อยละ 22.10

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image