‘หมอธีระ’ เผยวิจัยพบการติดเชื้อซ้ำเสี่ยงเกิด ‘ลองโควิด’ มากขึ้น 2 เท่า แนะอย่าประมาท

‘หมอธีระ’ เผยวิจัยพบการติดเชื้อซ้ำเสี่ยงเกิด ‘ลองโควิด’ มากขึ้น 2 เท่า แนะอย่าประมาท

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า “Update เรื่อง Long COVID
เป็นที่ทราบกันทั่วโลกว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นไม่ใช่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่การติดเชื้อแต่ละครั้งนั้น เสี่ยงต่อการป่วย ป่วยรุนแรง เสียชีวิต หรือทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวอย่าง Long COVID ที่จะบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิตประจำวันได้ ทั้งในเรื่องสมอง ระบบประสาท ทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร หรือแม้แต่ระบบต่อมไร้ท่อ (เช่น เบาหวาน)

โอกาสเกิด Long COVID
Long COVID ในยุค Omicron มีโอกาสเกิดราว 10.4%

ติดเชื้อซ้ำ เสี่ยง Long COVID มากขึ้น
ผลวิจัยล่าสุดจาก US NIH RECOVER Study เผยแพร่ในวารสาร JAMA เมื่อ 25 พ.ค.2566 นั้นชี้ให้เห็นว่า การติดเชื้อซ้ำ (Reinfection) มีแนวโน้มทำให้เสี่ยงเกิด Long COVID มากขึ้นราว 2 เท่า

Advertisement

วิธีรักษา Long COVID
ด้วยความรู้ทางการแพทย์จากการศึกษาวิจัยตามมาตรฐานเป็นขั้นเป็นตอนนั้น Long COVID ยังไม่มีวิธีการรักษามาตรฐาน

การป้องกัน Long COVID
การป้องกันที่ทำได้ดีที่สุดคือ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อหรือไม่ติดซ้ำ

วิธีลดความเสี่ยงที่จะเกิด Long COVID
ที่ผ่านการวิจัยทางการแพทย์มาแล้ว ได้แก่ การรับวัคซีน การได้ยาต้านไวรัส Paxlovid หรือ Molnupiravir หรือ Ensitrelvir รวมถึงยา Metformin

Advertisement

การฉีดวัคซีนครบเข็มกระตุ้น จะช่วยลดเสี่ยง Long COVID ได้ 43%
ยา Metformin ช่วยลดได้ 42%
ยา Ensitrelvir ช่วยลดได้ราว 30-40%
ยา Paxlovid ช่วยลดได้ 26%
และยา Molnupiravir ช่วยลดได้ 14%

ย้ำดังๆ ว่า “กัญชา กัญชง อาหารเสริม สมุนไพร ฟ้าทะลายโจร รวมถึงสิ่งเสพติด ยาผีบอกต่างๆ ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ และไม่ควรหลงไปซื้อหาหรือนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่อ Long COVID ดังกล่าว

สถานการณ์ไทยเรา มีคนติดเชื้อกันมาก
ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวเสมอ
เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
ไม่ควรแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image