กทม.ขุดวิจัย แชร์ข้อดี WFH ช่วยลดฝุ่น แถมเซฟต้นทุน

กทม.ขุดวิจัย แชร์ข้อดี WFH ช่วยลด PM 2.5 แถมลดต้นทุน

สืบเนื่องสถนการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่พุ่งสูงขึ้นจนอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ ประกอบกับ กทม.ประกาศการเวิร์กฟรอมโฮม WFH ภายในองค์กร (ยกเว้นหน่วยให้บริการประชาชน) และขอความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน (เครือข่ายเกิน 60,000 คน) ให้ WFH เช่นกันนั้น

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ด้านสิ่งแวดล้อม อธิบายถึงข้อดีของการ WFH โดยชี้ว่าการ WFH มีข้อดีสองมิติคือ 1. การลดปริมาณฝุ่นจากการเดินทางไปที่ทำงาน 2.การป้องกันสุขภาพจากการลดการออกไปข้างนอก

“ในมิติของการลดปริมาณฝุ่นจากการเดินทาง ผมขอแชร์งานวิจัยของ อ.ภัคพงศ์ พจนารถ จากคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม NIDA ที่ได้ทำข้อมูลมา อ.วิเคราะห์หลายนโยบาย เช่น WFH, ห้ามการเผาในที่โล่งโดยเด็ดขาด, เปลี่ยนรถเมล์เป็น NGV, ขยายขอบเขตพื้นที่จํากัดเวลารถบรรทุกขนาดใหญ่ โดยพิจารณา 3 ปัจจัย คือ 1. ปริมาณ PM 2.5 ที่ลดลง (หน่วย: กก.ต่อเดือน) 2.ต้นทุนส่วนเพิ่ม (หน่วย: บาทต่อ กก.ต่อเดือน) 3.ระดับผลกระทบทางสังคม” นายพรพรหมกล่าว

Advertisement

นายพรพรหมชี้อีกว่า สำหรับมาตรการ WFH ที่มีรายละเอียดคือ ให้หน่วยงานภาครัฐพิจารณาให้เจ้าหน้าที่ททำงานจากระยะไกล (Work from remote) โดยตั้งเป้าไว้ที่ 30% และขอความร่วมมือจากบริษัทเอกชนให้พนักงานทางานจากระยะไกล ผลจากงานวิจัยชี้ว่า

1.ปริมาณ PM2.5 ที่ลดลง: 29,746 กก./เดือน
2. ต้นทุนส่วนเพิ่ม: -56,402 บาท/กก./เดือน
3.ระดับผลกระทบทางสังคม: ต่ำมาก
ผลสรุปลด PM 2.5 มาก + ต้นทุนตํ่า (ตํ่าจนกลายเป็นการประหยัด)

นายพรพรหม ยกข้อมูลเปรียบเทียบกับมาตรการจํากัดเวลารถบรรทุกใหญ่ อย่างมาตรการ: ขยายขอบเขตพื้นที่ในการจํากัดเวลารถบรรทุกขนาดใหญ่เข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากวงแหวนรัชดาภิเษก ไปเป็นวงแหวนกาญจนา
1.ปริมาณ PM 2.5 ที่ลดลง: 3,012 กก./เดือน
2. ต้นทุนส่วนเพิ่ม: 450,140 บาท/กก./เดือน
3.ระดับผลกระทบทางสังคม: ตํ่ามาก
ผลสรุป ลด PM 2.5 ตํ่า + ต้นทุนสูงมาก

Advertisement

“จากข้อมูลเหล่านี้ มีข้อสังเกตว่า แม้ ‘ระดับผลกระทบทางสังคม’ ของทั้ง 2 มาตรการจะอยู่ในเกณฑ์ ‘ตํ่ามาก’ เท่ากัน แต่ปัจจัยเรื่องปริมาณ PM 2.5 ที่ลดลง และต้นทุนส่วนเพิ่มนั้นแตกต่างกันอย่างยิ่ง

สอง สำหรับ ‘ปริมาณ PM 2.5 ที่ลดลง’ มาตรการ Work From Remote ของภาครัฐเพียง 30% นั้นสามารถลด PM 2.5 ได้มากกว่าการขยายขอบเขตพื้นที่จํากัดรถบรรทุก (29,746 กก./เดือน vs. 3,012 กก./เดือน)

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ปัจจัยเรื่อง ‘ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น’ ซึ่งสำหรับ มาตรการ WFH นั้นต้นทุนส่วนเพิ่มเป็น negative (-56,402 บาท/กก./เดือน) ซึ่งหมายความว่าจะทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่าย เทียบกับมาตรการขยายขอบเขตพื้นที่ในการจํากัดเวลารถบรรทุกขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนส่วนเพิ่มที่สูงมากถึง 450,140 บาท/กก./เดือน” นายพรพรหมชี้

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image