สถาปนิกยัน ‘เมืองน่าอยู่’ ต้องพึ่งซอฟต์แวร์ ออกแบบไม่พอ เล่าสารพัดโปรเจ็กต์บูสต์ กทม.

สถาปนิกยัน ‘เมืองน่าอยู่’ ต้องพึ่งซอฟต์แวร์ ออกแบบไม่พอ เล่าสารพัดโปรเจ็กต์บูสต์ กทม.

เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ C asean Samyarn CO-OP ชั้น 2 สามย่าน มิตรทาวน์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เครือข่ายผู้จัดงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่สุดในเอเชีย จัดงานเสวนา SX Talk Series #2 ในหัวข้อ ‘เมืองของทุกคน : เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน’

โดยมีนักวิชาการ นักออกแบบ พร้อมทั้งนักพัฒนาเมืองและชุมชน มาร่วมกระตุกต่อมคิด แลกเปลี่ยน หนทาง เพื่อร่วมสร้างเมืองสำหรับทุกคนอย่างแท้จริง ได้แก่ นายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการ “จ้างวานข้า” มูลนิธิกระจกเงา, ผศ.ดร. สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร และกลุ่มมนุษย์ปากคลองฯ, นายไพทยา บัญชากิติคุณ ATOM Design: Founder และอุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์, นายสว่าง ศรีสม ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (Transportation for All, T4A) และ ดร.ทรงวาด สุขเมืองมา ฝ่ายพัฒนาเนื้อหาและธุรกิจ นิตยสารบ้านและสวน

เวลา 13.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเสวนา วิทยากรต่างร่วมเจาะลึกกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ อาทิ “สดชื่นสถาน” สถานีเติมความสดชื่นให้คนไร้บ้านโดยมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งให้บริการห้องน้ำ ซักผ้า และน้ำดื่มสะอาด, “อัศจรรย์เมืองน่าอยู่” เพราะเมืองที่น่าอยู่ต่างจากเมืองที่อยู่ได้ และการออกแบบฟื้นฟูย่านชุมชน สู่การปลดล็อกเพิ่มศักยภาพเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อต่อยอดผลลัพธ์

Advertisement

ในตอนหนึ่ง นายไพทยา ผู้ก่อตั้ง ATOM Design และอุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ กล่าวว่า คิดว่าเมือง ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนา งานที่สถาปนิกทำ คือเปลี่ยนกายภาพ อาคาร หรือตัวเมือง ผมซึ่งโครงการที่ทำคือออกแบบบ้าน อาคาร และสถานที่สาธารณะ ซึ่งในช่วง 20 ปีมานี้เกิดความคิด ว่าจะทำอย่างไรให้เมืองทุกคนอยู่ร่วมกันได้

“เราเข้าสู่สังคมสูงวัย เวลาจะผ่านไปไวมาก จริงๆ การทำให้เมืองของเราให้น่าอยู่ ไม่ได้มีแค่เรื่องการออกแบบ แต่เป็นเรื่องของ ‘ซอฟต์แวร์’ การฝึกทัศนคติด้วย และส่วนตัวเห็นว่าคนรุ่นใหม่ ค่อนข้างมีจิตสาธารณะเยอะขึ้น ลุกให้คนแก่ คนพิการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเมืองน่าอยู่” นายไพทยาเผย

นายไพทยากล่าวอีกว่า สถาปนิกมักจะมองมนมุมที่ต้องรับใช้คนที่อยู่ในระบบหรือมีกำลังทรัพย์ แต่เราเอางานที่ได้เงิน มาหนุนการทำงานเพื่อสาธารณะ บางที่หน่วยงานภาครัฐไม่มีเงิน เราก็ต้องกระโดดเข้าไปทำเอง โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย ‘เมืองที่ดี ต้องอยู่อาศัยได้ ยั่งยืน มีพื้นที่สีเขียว มีเวิร์กไลฟ์ บาลานซ์ มี facilty ที่พอจ่ายได้ไมแพงเกินไป และเมือง จะต้องมีการปรับตัวได้

Advertisement

สั้นๆ เป็น 4 เรื่องที่ตนคิดคือ 1.ทำอย่างไรให้เมืองเขียวขึ้น 2.รวมคนทุกกลุ่ม ทั้งคนจนเมือง คนไร้บ้าน มาอยู่ร่วมกันได้ 3.เมืองที่เดินได้ 4.คนพิการใช้ได้

“ผมทำงานพัฒนาเมือง เราพยายามเอาเงินเอกชนมาช่วยเมือง คิดหาทางว่าทำอย่างไรให้เมืองเขียวขึ้น คนมีโอกาสลดความเครียดลง มีพื้นที่สีเขียวให้หายใจได้”

“มี GNH คือความสุขมวลรวมของประเทศ ที่คนให้ความสำคัญมากขึ้น และเราเริ่มปรับใช้ เริ่มง่ายๆ จากการทำให้สิ่งแวดล้อมของเมืองเขียวขึ้น ซึ่ง WHO บอกว่า เมืองที่ดี ควรมีพื้นที่สีเขียว 9 ตรม./คน”

นายไพทยากล่าวต่อว่า ส่วน 4.5 กม. คือระยะที่ควรเดินถึงพื้นที่สีเขียวได้ เรามักถูกเทียบกันสิงคโปร ์แต่เขาเน้นปลูกป่า ของเราแค่เดิน หรือขับมอเตอร์ไซค์ยังแน่ เมื่อการพัฒนามักจะอยู่ติดถนนใหญ่ จึงคิดเอาพื้นที่ของเอกชน ทำมาเป็นสีเขียวริมฟุตปาธ ขับรถแล้วเห็นพื้นที่สีเขียวในเมือง คือส่วนที่เราทำได้ ในฐานะสถาปนิก

“อย่างบางพื้นที่ ห่างจากที่สาธารณะ 5-10 กม. เมื่อทำแล้ว สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขี้นได้ทันที เริ่มเอาต้นไม้เข้าไปในคอนโด มีพื้นที่สีเขียวให้มากที่สุด” นายไพทยากล่าว

จากนั้น ยกตัวอย่าง ‘ชุมชนบ่อนไก่’ ที่ก็มีสถาปนิกเข้าไปดีไซน์ชุมชนแออัด ซึ่งความจริงแล้ว มีสตรีทไลฟ์ เดินผ่านร้านอาหารในซอยหลังเลิกงาน

“เราพยายามให้เขาขึ้นอยู่แนวตั้งให้ได้ โดยที่ไม่เสียคุณภาพชีวิตแบบเดิมไป ให้เขายังคุ้นชิน และหารายได้ได้ ซึ่งช่วยลดการเกิดไฟไหม้ได้ ด้วย เพราะไฟไหม้ที ทางแคบจนหนีออกมาไม่ได้”

ชี้ว่า สิ่งสำคัญคือ บ้านทุกหลัง ออกแบบให้คนมีเงิน ง่ายกว่าคนที่มีข้อจำกัดทางรายได้ จึงออกแบบใหม่ให้ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ เช่น สามารถขายก๋วยเตี๋ยวหน้าบ้าน

“เราต้องทำแบบจริงจังมากๆ ให้เขามั่นใจว่าจะมีรายได้ ผมทำบ้านให้ชุมชน ทำบ้านอย่างให้เขาดูด้วย ว่ามีพื้นที่ มีสเปซอย่างไร ซึ่งยังออกแบบให้เหมาะกับผู้สูงวัยด้วย” นายไพทยาเผย

นายไพทยาชี้ว่า ชุมชนแบบไทย ต้องการพื้นที่สำหรับมาพบปะกัน ทำกิจกรรม พูดคุยกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก จึงมีกระบวนการออกแบบ รวมถึงมีการพรีเซนต์งานกับคนในชุมชน จนตอนนี้เริ่มสร้างเข้าสู่กระบวนการพัฒนาแล้ว เกิดเป็น ‘โครงการบ้านหลังแรก’

จากนั้น นายไพทยา กล่าวถึง ‘โครงการเดินได้เดินดี’ ที่ทำกับ กทม. และ สสส. ล่าสุดคือ ‘สกายวอล์กราชวิถี’ ตรงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์รวมการแพทย์ขั้นนำของไทยและเอเชีย ทำให้เข้าถึงได้ง่าย โดยเชื่อมทางบีทีเอส ยาวไปถึงโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ เหมือนที่เราลงสถานีชิดลมแล้วเดินไปสยาม สบายมาก ซึ่งถือเป็นโครงการที่ดี

“เราพยายามเชื่อมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ให้ยาว และคุณหมอขอให้ยาวกว่า 4 เมตร เพื่อวิ่งรถกอลฟ์ลำเลียงผู้ป่วยได้ ขอความร่วมมือองค์กรโดยรอบ ปักเสา ทำทางเชื่อม นอกจากสะดวก ต้องสะอาด และสว่าง เพื่อมองเห็นไม่เป็นอันตรายต่อผู้คนด้วย ซึ่งก็จะมีการติดสตรีทไลต์ติ้ง”

ล่าสุดทาง กทม. มีนโยบายว่า อนาคตอาจจะเพิ่มหลังคาฟุตปาธ จะเกิดในสาธร จุฬาลงกรณ์ สามย่าน ก่อน แล้วขยับไปโซนจตุจักร จะเห็นว่า เมืองเราก็พยายามพัฒนา แต่อาจจะใช้เวลาหน่อย

ส่วนในระดับโลก มีการทำข้อตกลง ลดคาร์บอน Net Zero Emissions ซึ่งไทยก็จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย เราเอาด้วย แต่ขอช้ากว่า 20 ปี คือ 2065 ซึ่งไทยเริ่มมีการปลูกป่า ขายคาร์บอนเครดิต ในต่างจังหวัด

อีกโครงการที่ทำร่วมกับสมาคมสถาปนิก คือการพยายามเเติมพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โชคดีมากที่เรามีสวนเบญจกิติ เราจะเห็นว่าเวลาจะเข้าห้าง ต้องมีเงินซื้อของซื้อกาแฟ แต่สวนสาธารณะเป็นพื้นที่ทีืคนไม่มีเงินเลย กับคนที่รวยมาใช้ชีวิตร่วมกัน โดยไม่ได้แบ่งด้วยอายุ เจน หรือรายได้ เราอยากสร้างภาพใหม่ ให้เมืองของเรา ที่ผ่านมาจึงมีการจัดงาน Wow festival 2025 wonder of well living city เชิญหน่วยงานมาร่วม

ประดับไฟ ตกแต่ง เอาศิลปะเข้าไปประกอบ ครอบครัวแทนที่จะเดินห้าง มาเดินทางสาธารณะได้ เราพยายามทำให้ กทม. เป็นเหมือนเมืองต้นแบบให้ได้ โดยมีทั้งรัฐเอกชนมาร่วมมากมาย” นายไพทยาชี้

นายไพทยากล่าวอีกว่า นอกจากนี้ โครงการที่เอกชน พยายามทำให้เมืองดีขึ้น เราก็มอบรางวัลให้ รวมทั้งคลองเตยลิงก์ ฟื้นฟูชีวิตริมคลองโอ่งอ่าง เป็นต้น

“อยากจะขอน้องๆ คนรุ่นใหม่ การจะทำให้เมืองดีขึ้นได้ ก็ด้วยความร่วมมือ เอาแค่หน้าบ้านเรา เห็นฟุตปาธ ย้ายก้อนหินสักก้อน ช่วยกันคนละนิดละหน่อย”

กทม.และอีกหลายส่วน พยายามทำให้เมือง เป็นเมืองที่คนออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น อย่างงาน Wow มันต้องการคนดู เอาตัวเอาไปเอนจอย ไปสนุกกันมัน การมีคอนดูเยอะๆ จะทำให้มีสปอนเซอร์ และคนในชุมชนมีกำลังทรัพย์” นายไพทยากล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image