วิธีเริ่มลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวต้องทำอย่างไร

เริ่มลงทุน, อยากลงทุน,วิธีลงเริ่มทุน

วิธีเริ่มลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวต้องทำอย่างไร หลายคนคงมีเป้าหมายที่อยากเริ่มลงทุนอะไรสักอย่างกันแล้วใช่ไหมคะ แต่ถ้าพูดถึงคำว่า “ลงทุน” มือใหม่อย่างเราๆก็คงจินตนาการไปไกลแล้วว่า ต้องเป็นหุ้นที่ดูยากๆ หรือต้องมีเงินก้อนถึงจะลงทุนได้ แล้วมันเป็นแบบนั้นจริงหรือ? แล้วถ้าอยากเริ่มลงทุนควรต้องเริ่มจากตรงไหนอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาให้เพื่อนๆที่อยากเริ่มลงทุนกันค่ะ 

  1. รู้จักตัวเองและตั้งเป้าหมาย
    อย่างแรกสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่อยากเริ่มลงทุน ต้องถามตัวเองก่อนว่า “เป้าหมาย” ในการลงทุนของเราคืออะไร มีงบประมาณเท่าไหร่ในการลงทุน แล้วอยากได้ผลลัพธ์อย่างไร และคำถามที่สำคัญเลยก็คือ เราสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน? เพราะคำถามเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในการลงทุนของเราได้ ว่าเราเหมาะกับตัวไหน ซึ่งความเสี่ยงมีอยู่  3 ระดับดังนี้
  • ความเสี่ยงต่ำ คือ สามารถรับความผันผวนได้น้อย โดยมุ่งเน้นไปที่การเก็บรักษาเงินทุน 
  • ความเสี่ยงปานกลาง คือ สามารถรับความผันผวนได้ในระดับหนึ่ง โดยหวังจะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น 
  • ความเสี่ยงสูง คือ ไม่กังวลเรื่องความผันผวนที่เกิดขึ้น เพราะมุ่งหวังจะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น 

    2. ทางเลือกการลงทุน
    เมื่อเราตั้งเป้าหมายและรู้จักตัวเองมากขึ้นแล้วที่นี้เราต้องรู้ก่อนว่าทางเลือกการลงทุนมีอะไรบ้าง เพื่อเตรียมการวางแผนการลงทุนแล้วแต่ละอย่างให้ผลลัพธ์อย่างไร โดยทางเลือกการลงทุนมี 6 อย่างดังนี้

  • หุ้น คือ เราสามารถเป็นเจ้าของกิจการโดยไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ เพียงแค่เรานำเงินไปลงทุนกับกิจการ โดยได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล เมื่อกิจการมีกำไร สามารถศึกษาเกี่ยวกับการเล่นหุ้นได้ที่  เริ่มเล่นหุ้นฉบับนักลงทุนมือใหม่
  • อนุพันธ์ คือ สัญญาทางการเงินที่ทำเพื่อตกลง ซื้อขาย หรือ ให้สิทธิในการซื้อขาย “สินค้าอ้างอิง” ในอนาคต 
  • กองทุนรวม คือการระดมเงินลงทุนจากคนจำนวนมากและนำไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล เพื่อตั้งเป็น กองทุนขึ้นมา โดยเงินที่ได้รับนั้นจะมี “ผู้จัดการกองทุน” ที่เป็นมืออาชีพ นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ
  • DW  คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ซื้อในการซื้อ หรือ ขาย  หลักทรัพย์อ้างอิงในอนาคต
  • อีทีเอฟ คือ เป็นกองทุนเปิดที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลและส่วนต่างราคาตามดัชนีอ้างอิงที่กองทุน ETF นั้น ๆ
  • ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ถือ (ผู้ลงทุน) มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกมีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้รับ “เงินต้น” คืนเมื่อครบกำหนดอายุ 

    3. วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
    ไม่ว่าจะลงทุนสินทรัพย์แบบไหนก็ตาม เราควรเข้าใจปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์นั้นๆด้วย เพราะราคาของสินทรัพย์นั้นสามารถผันผวนได้ โดยเริ่มวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ มาอุสาหกรรม และสุดท้ายเรามาเลือกสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ควรลงทุนได้4. สร้างพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเอง
     เมื่อเราได้วางเป้าหมาย รู้จักกองทุนและการวิเคราะห์​แล้ว อย่าเพิ่งรีบร้อยลงทุนกันนะคะ เราควรสร้างพอร์ตการลงทุนเสียก่อน เหมือนเป็นการวางแผนว่าเราจะลงทุนกับอะไรในสัดส่วนเท่าไหร่บ้าง โดยพอร์ตการลงทุนควรมีลักษณะดังนี้

กระจายความเสี่ยงอย่างสมดุล

ไม่ควรทุ่มเงินลงทุนเพื่อการลงทุนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งทั้งหมด 

ความยืดหยุ่น 

สามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป โดยต้องหมั่นติดตาม ประเมิน และทบทวนแผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ 

ไม่หลากหลายหรือกระจัดกระจายมากเกินไป 

Advertisement

เพราะจะทำให้ยากต่อการติดตามราคา และ ข่าวสารต่างๆ 

มีสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

มีความสมดุลกันระหว่างการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย ให้ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอน กับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งผลตอบแทนไม่แน่นอน แต่ถ้าได้ก็จะได้จำนวนมาก 

5. ลงมือทำตามแผน
ก่อนที่เราจะเริ่มลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ ต้องเริ่มต้นจากการ “เปิดบัญชี” เพื่อการซื้อขายก่อนค่ะ ในกรณีลงทุนในหุ้น,ตราสารหนี้,อีทีเอฟ,หรืออนุพันธ์ เราต้องเปิดบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล) หรือที่เรียกกันว่า “โบรกเกอร์” โดยมีขั้นตอนดังนี้

6. ติดต่อบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อขอเปิดบัญชีขายหุ้นผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดหรือผ่านอินเทอร์เน็ต 

Advertisement

7. กรอกคำขอการเปิดบัญชี พร้อมหลักฐานที่ใช้ในการเปิดบัญชีส่งให้หลักทรัพย์และรอพิจารณาภายใน 1-2 วัน 

8. ได้รับเลขที่บัญชีหรือเลขซื้อขาย เมื่อคุณได้รับการอนุมัติจากบริษัทหลักทรัพย์ โดยต้องเก็บไว้เป็นความลับ

9. ส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น ผ่านเจ้าหน้าที่ตลาดหรือผ่านทางอินเทอร์เน็ตไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถสั่งซื้อได้ 

10. ติดตามผลและทบทวนแผน
เมื่อเราได้ลงทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราต้องติดตามผลในทุกๆ 6 เดือนหรือ 1 ปี ว่าสิ่งที่เราลงทุนไปนั้นเป็นไปตามแผนที่เราตั้งไว้หรือไม่ ถ้าหากไม่เป็นไปตามแผน เราควรปรับพอร์ตการลงทุนทันที 

    ไม่ว่าผลการลงทุนครั้งแรกจะเป็นอย่างไร ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่าเราลงทุนได้หรือไม่ได้นะคะ การเป็นนักลงทุนมือใหม่เริ่มลงทุนจะมีเรื่องให้เราเรียนรู้และท้าทายตลอดเวลา แต่รับรองเลยว่าถ้าเราเริ่มลงทุนได้แล้วเราจะสามารถต่อยอดเงินที่เรามีได้ไม่น้อยละค่ะ 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image