แอลทีเอฟลดหย่อนเอื้อคนรวยมากกว่า เสนอใช้เครดิตภาษีแทน

นายอธิภัทร มุทิตาเจริญ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เม็ดเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) ตามข้อมูลของสมาคมบริษัทจัดการ ลงทุนมีอยู่ราว 3.9 แสนล้านบาท ซึ่งผู้ลงทุนในแอลทีเอฟส่วนใหญ่มีการลงทุนเพื่อต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี อย่างไรก็ตาม สิทธิลดหย่อนภาษีจากแอลทีเอฟจะหมดอายุในปี 2562 ซึ่งอาจจะไม่มีการต่ออายุ จากการประเมินข้อมูลจากสรรพากรในปี 2555 จะพบว่ากรณีที่ผู้ซื้อแอลทีเอฟไม่มีการเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เลย การไม่ต่ออายุแอลทีเอฟจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่เคยลดหย่อนภาษีผ่านแอลทีเอฟอย่างมีนัยสำคัญหรือ 30-40% ของภาระภาษีโดยเฉลี่ย แต่คาดว่าผู้ซื้อจะมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้เครื่องมือการลดหย่อนภาษีอื่น เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(อาร์เอ็มเอฟ) เพราะผู้ซื้อแอลทีเอฟมักมีการซื้ออาร์เอ็มเอฟด้วย โดยผู้มีรายได้น้อยและปานกลางซื้อ 17.1% และผู้มีรายได้สูงซื้อสัดส่วน 39.1% ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ยังใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีน้อยกว่าเพดานที่กฎหมายอนุญาต ด้านประกันชีวิตเป็นตัวเลือกส่วนใหญ่ที่มีดารใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีอยู่แล้ว 

นายอธิภัทร กล่าวว่า การซื้อแอลทีเอฟมีการกระจุกตัวเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้มีรายได้สูง สะท้อนผู้มีรายได้น้อยและปานกลางจะไม่กล้ารับความเสี่ยง มากนัก และพบว่าส่วนใหญ่ซื้อแอลทีเอฟมากกว่าอาร์เอ็มเอฟเพราะเงื่อนไขการลงทุนที่สั้นกว่า โดยหากพิจารณาสัดส่วนการประหยัดภาษีต่อมูลค่าการซื้อจะพบว่าผู้มีรายได้น้อยและปานกลางประหยัดภาษีเพียง 11% หากเทียบกับยอดซื้อแอลทีเอฟที่เท่ากัน ขณะที่ผู้มีรายได้สูงประกยัดถึง 24% หมายความว่าผู้มีรายได้น้อยและปานกลางจะ ได้รับแรงจูงใจในการซื้อแอลทีเอฟน้อยกว่าผู้มีรายได้สูง แม้ว่ารัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เป็นช่องทางการออมและการลงทุนของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ด้านส่วนลดภาษีจากแอลทีเอฟต่อรายได้ของผู้มีรายได้สูงอยู่ที่ 2.5% ส่วนผู้มีรายได้น้อยและปานกลางอยู่ที่ 0.9% ขณะที่เมื่อพิจารณาส่วนลดภาษีต่อภาระภาษี โดยสัดส่วนการประหยัดภาษีจากแอลทีเอฟต่อภาระภาษีจะค่อนข้างใกล้เคียงกัน ทั้งกลุ่มปู้มีรายได้น้อยและป่นกลางและผู้มีรายได้สูง

“การพิจารณาแอลทีเอฟว่าควรจะมีการต่ออายุหรือไม่นั้น หากภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมการออมและการลงทุนระยะยาวสาหรับคนชั้นกลาง อาจจะมีการเปลี่ยนการเปลี่ยนการลดหย่อนภาษีจากแอลทีเอฟเป็นเครดิตภาษีเหมือนในประเทศอื่นๆ  เช่น 20% เป็นต้น ที่จะทำให้ได้ส่วนลดภาษีเท่ากันและทำให้แรงจูงใจในการซื้อแอลทีเอฟเท่ากันสำหรับผู้เสียภาษีทุกคน แต่ต้องพิจารณาอัตราเครดิตภาษีที่เหมาะสม เพราะอาจจะทำให้เกิดต้นทุนภาครัฐ และอาจจะทำให้เป็นการจูงใจกลุ่มผู้มีรายได้สูงเหมือนเดิม ดังนั้นรัฐบาลควรพิจารณาให้รอบคอบถึงลำดับความสำคัญของสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการเป็นเครื่องมือ ส่งเสริมความพร้อมทางการเงินสาหรับการเกษียณอายุ” นายอธิภัทร กล่าว

เกาะกระแสเศรษฐกิจ กับ Line@มติชนเศรษฐกิจใกล้ตัว

Advertisement

เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image