ตายอีกตัว!! พบพะยูนเพศเมียตายเกยหาด ติดอวน ไส้ทะลัก เน่าเปื่อย(ชมคลิป)

พบพะยูนเพศเมียมีความยาว 1.50 เมตร มีน้ำหนัก 70 กก. ซากมีสภาพเน่าเปื่อย มีบาดแผลบริเวณปาก ท้องแตก และมีอวนปกคลุม น่าจะเสียชีวิตมาแล้ว

วันที่ 2 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประถม รัศมี ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรทางทะเลและชาวฝั่งที่ 8 ได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ว่า พบพะยูน ใส้ทะลัก ลอยติดชายหาดเสียชีวิต บริเวณแหลมไม้ตาย หน้าเกาะระ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ พร้อมกับเก็บซากพะยูน เพื่อส่งไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต เพื่อตรวจพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตอย่างละเอียด จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเป็นพะยูนเพศเมีย มีความยาว 1.50 เมตร น้ำหนักประมาณ 70 กก. ในสภาพเน่าเปื่อย มีบาดแผลบริเวณปาก บริเวณท้องไส้ทะลัก พร้อมกับมีเศษอวนปกคลุมที่ลำตัว สันนิฐานน่าจะเสียชีวิตมาแล้ว ประมาณ 2-3 วัน

ขณะที่ชาวประมงในพื้นที่บอกว่าปัญหาสัตว์ทะเลในพื้นที่คุระบุรีเนื่องจากติดอวนตายไปหลายตัวแล้ว เข้ามาวางใกล้แนวหญ้าทะเล บริเวณเกาะระ เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา เป็นที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลและพะยูน ซึ่งทางชาวประมงพื้นบ้านต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไป

ล่าสุด ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า พะยูนตายอีกแล้วครับ นับเป็นตัวที่ 21 ในปีนี้ มากที่สุดเป็นประวัติการณ์พะยูนตัวนี้ตายอยู่ที่แหลมไม้ตาย บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จ.พังงา (ใกล้เกาะระ/พระทอง)เพื่อนธรณ์อาจสงสัย ไม่ใช่ที่ตรัง/กระบี่หรือ ? พะยูนในไทย 250 ตัว อยู่ตรัง/กระบี่ 200 ตัว ที่เหลืออยู่ตามแหล่งอื่นอีก 11 แห่ง รวมเป็น 12 แหล่งทั่วไทย ทะเลชายฝั่งคุระบุรีถือเป็นแหล่งหญ้าทะเลใหญ่สุดในพังงา และเป็น 1 ใน 12 เขตที่อยู่ในแผนอนุรักษ์พะยูนใน #มาเรียมโปรเจ็ค สาเหตุการตายเห็นชัด ลองดูภาพ จะเห็นอวนดักปลาติดอยู่ พะยูนเป็นสัตว์หายใจด้วยปอด เมื่อติดอวนก็จมน้ำตาย

Advertisement

ดร.ธรณ์ยังระบุว่า ตามที่เคยบอกไว้ 90% ของพะยูนที่ตายจากผลของมนุษย์ เป็นปัญหาจากเครื่องมือประมง การทำประมงทับซ้อนในพื้นที่หากินพะยูน จำเป็นต้องวางแผนในการแก้ไขอย่างรอบคอบ มิใช่ออกกฎเกณฑ์ไปเรื่อย โดยที่ปฏิบัติตามไม่ได้แผนอนุรักษ์พะยูนที่คณะสัตว์ทะเลหายากเพิ่งเสนอผ่านคณะกรรมการทะเลแห่งชาติ รอเข้าครม. จะเน้นเรื่องการหาทางอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับพะยูน โดยตั้งเป้า 12 พื้นที่ รวมทั้งตรงนี้ด้วย ผมพูดคุยกับพี่น้องแถวนั้น เขาก็อยากให้เกิดการอนุรักษ์อย่างจริงจังสักที โดยอาจนำตัวอย่างจากตรังมาประยุกต์ใช้ ให้ชาวบ้านอยู่ได้ พะยูนอยู่ได้ มิใช่อนุรักษ์อย่างเดียวจนชาวบ้านไม่รักพะยูนถึงตอนนี้ คงไม่มีอะไรจะเสนอแนะอีกแล้ว ยกเว้นภาวนาให้ 21 พะยูนในปีนี้ไปสู่สวรรค์ และอย่าให้มีตัวที่ 22 เลย สุดท้ายที่หวังคือขอให้ มาเรียมโปรเจ็ค ผ่านครม. ได้งบพอเพียงตามที่ขอ และแผนอนุรักษ์ 3 ปี (63-65) เดินหน้าเต็มตัวเราสูญเสียมากเกินไปแล้วจริงๆ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image