เลือกกก.เนติฯ คึกคัก ยอดส่งบัตรสายตุลาการ-อัยการทุบสถิติครั้งที่แล้ว

เลือกก.ก.เนติฯ64 คึกคัก ‘เมทินี’เผยเเค่3วีค สายตุลาการ-อัยการทะลุสถิติครั้งที่เเล้ว เปิดวิสัยทัศน์’อรรถพล’ปธ.ก.อ.ยังมั่นใจเเม้เปลี่ยนสายทำประโยชน์ให้วงการ ผดุงเกียรติศักดิ์ศรีสมาชิก ‘สราวุธ’เลขาฯศาล ชูเทคโนโลยีควบคู่จริยธรรม เปิด2ม้ามืดสายอัยการ’ศักดา’-‘พฤฒิพร’ ขณะที่สายทนาย’ตราสามดวง’มาเเรง’สมบัติ’ขอยกทีม

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม นางเมทินี ชโลธร รองประธานศาลฎีกา ในฐานะเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งกรรมการเนติบัณฑิตยสภาที่จะเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่จะหมดวาระลงในวันที่ 11 กันยายน 2563 ซึ่งได้มีส่งบัตรเลือกตั้งให้สมาชิกเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมาเเละมีกำหนดส่งบัตรลงคะเเนนคืนภายในวันที่ 28 สิงหาคมก่อนเวลา 16.30 น.เเละตรวจนับคะเเนนวันที่ 29 สิงหาคม นี้ โดยยอดที่ทำการตรวจสอบล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมซึ่งผ่านจากการส่งบัตรไปเเค่3สัปดาห์

พบว่าบัตรเลือกตั้งข้าราชการตุลาการจส่งมา2,533ใบ คิดเป็น 50.37% สายอัยการส่งกลับมา1,904 ใบคิดเป็น49.5% สายทนายความ 358 ใบคิดเป็น4.80% สายบุคคลอื่น 1,390ใบคิดเป็น6.60%

มีข้อสังเกตจากจำนวนบัตรที่มีการเลือกบุคคลกลับมาในเเต่ละสายของตุลาการเเละอัยการที่ส่งกลับมาตอนนี้มีจำนวนมากกว่าผู้ใช้สิทธิทั้งหมดในครั้งที่เเล้วของทั้ง2ประเภท เเละขณะนี้ยังมีเวลาอีกประมาณ1เดือนครึ่ง น่าจะมีการใช้สิทธิมากขึ้นกว่าครั้งที่เเล้วทั้ง4ประเภท เเม้ในขณะนี้ประเภททนายความจะยังน้อยอยู่ เเต่ก็เชื่อว่าจากการประชาสัมพันธ์จะทำให้กลุ่มทนายความเเละกลุ่มบุคคลอื่นทยอยใช้สิทธิตอนนี้อาจจะยังมีการพิจารณาเลือกคนที่ถูกใจ ขอเชิญชวนว่าใครที่ได้รับบัตรเลือกตั้งสามารถทยอยส่งกลับมาได้เรื่อยๆ จะพยายามอัพเดรตตัวเลขบัตรที่ส่งกลับมาเพื่อเเสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนเเปลงของตัวเลข

Advertisement

ส่วนกลุ่มที่มีการส่งบัตรแล้วไม่ถึงมีการตีกลับมาเนื่องจากไม่พบที่อยู่หรือตกสำรวจจากทะเบียนที่มี ก็ตรวจสอบอัพเดทจากฐานข้อมูลที่มีในปัจจุบันเเละส่งไปตามข้อมูลล่าสุดที่มีไปใหม่ ขณะนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของบัตรที่ตีกลับเเล้วก็คาดว่าในไม่ช้านี้จะถึงมือสมาชิก หากสมาชิกคนไหนยังไม่ได้รับบัตรสามารถติดต่อเเจ้งกลับมาที่เเผนกทะเบียนของเนติฯได้เพื่อให้ตรวจสอบให้ ส่วนยอดบัตรที่ตีกลับมามีจำนวนหนึ่งในสายตุลาการที่ตีกลับส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ไปเรียนต่างประเทศ ส่วนบุคคลอื่นมีการตีกลับมากกว่าสายอื่นก็เพราะว่ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพไม่ได้เป็นตุลาการ อัยการ ทนายความ เเละไม่ได้เเจ้งเปลี่ยนข้อมูลมายังเนติฯข้อมูลจึงเป็นของเดิมที่ให้ไว้นานเเล้ว เเต่ในส่วนที่เเจ้งมาเราก็ทยอยส่งไปให้ที่อยู่ใหม่ ตอนนี้ผู้ที่ได้รับบัตรเเล้วยังมีเวลาตัดสินใจตนขอเชิญชวนให้เลือกคนที่รักที่ชอบส่งบัตรกลับมา


นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการอัยการ(ประธาน.ก.อ.) อดีตอัยการสูงสุดในฐานะผู้เสนอตัวรับเลือกเป็นกรรมการเนติฯสายบุคคลทั่วไป กล่าวว่า ในปัจจุบันตนเป็นข้าราชการอัยการบำนาญได้ลงสมัครประเภทบุคคลอื่น(บัตรเลือกตั้งสีเขียว) ที่ผ่านมาเคยดำรงตำแหน่งกรรมการเนติฯมาหลายครั้งจากการเลือกตั้งสายข้าราชการอัยการ เคยดำรงตำแหน่งประธานประชาสัมพันธ์ และเคยเป็นอุปนายกเนติฯคนที่2สมัยที่ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด โดยหลังจากพ้นตำแหน่งอัยการสูงสุดก็ยังได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเนติฯขณะที่เป็นอัยการอาวุโส และดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการเนติฯ ซึ่งตนสอนหนังสือมาหลายปีโดยปัจจุบันสอนวิชาสัมนาวิธีพิจารณาความอาญาในเนติฯ

ส่วนเรื่องนโยบายต้องเข้าใจว่ากรรมการเนติฯมีส่วนดูแลเนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมย์ ที่เเต่งตั้งตาม พ.ร.บ.เนติฯ อีกส่วนคือสำนักอบรมเเละศึกษากฎหมาย ซึ่งเนติฯมีภารกิจสำคัญคือเป็นสถานที่สอนฝึกอบรมวิชาชีพกฎหมาย ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก เนติฯจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมศึกษาวิชานิติศาสตร์เเละการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย มีหลักเกณฑ์มากมายที่เเสดงให้เห็นว่าเนติฯจำเป็นต้องตรวจสอบดูเเล ผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายให้ดำรงตนอย่างเที่ยงธรรมมีความประพฤติไม่เสื่อมเสีย รักษาเกียรติศักดิ์เเห่งการเป็นสมาชิกไว้ เพราะถ้าตุลาการ อัยการ หรือทนายความได้ทำผิดจนกระทั่งถูกถอดถอนจากสมาชิกฯก็จะไม่สามารถประกอบวิชาชีพที่เป็นอยู่ต่อได้

Advertisement

ส่วนเรื่องความมั่นใจในการสมัครเข้ารับเลือก ที่ครั้งนี้ไม่ได้ลงในสายข้าราชการอัยการนั้น เนื่องจากตนอายุ69-70ปีมีการศึกษากฎหมายจบปริญญาโทเเละเนติฯมีประสบการณ์ประกอบอาชีพด้านกฎหมายมายาวนานในฐานะข้าราชการอัยการเเละลาออกในปี2562 คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ถ้าหากได้มีโอกาสเป็นกรรมการเนติฯเพื่อดำเนินการในส่วนผดุงความยุติธรรมส่งเสริมวิชาชีพผดุงเกียรติสมาชิก ขณะนี้ตนยังเป็นประธานอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศของเนติฯซึ่งหากได้เข้าไปเป็นกรรมการก็จะสานต่อในเรื่องการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยการบริหารเเละการสอน

ส่วนโอกาสจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ในสายบุคคลทั่วไปนี้ มองว่าเเม้ข้าราชการอัยการจะไม่มีสิทธิเลือกตน เเต่นิติกร หรือข้าราชการ หน่วยงานต่างๆหรือตุลาการศาลหรืออัยการต่างๆที่เกษียณจะเป็นผู้มีสิทธิเลือก ตนขอเป็นตัวเลือกให้ผู้มีสิทธิเลือกได้พิจารณาเลือก ตนจะเข้าไปช่วยการดำเนินการเนติฯที่เป็นศูนย์รวมนักกฎหมายที่จะมีส่วนผดุงความยุติธรรมความเป็นธรรมของนักกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนได้

ในปีนี้มีผู้เสนอตัวเข้ามาเป็นกรรมการเนติฯจำนวนมากในทุกสาย โดยคึกคักมากกว่าทุกรอบโดยเฉพาะสายข้าราชการอัยการที่เเข่งขันมากกว่าสายอื่นเนื่องจากมีการตกลงในวาระที่จะถึงนี้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการสายอัยการจะนั่งตำเเหน่งเลขาธิการเนติฯ เเละเลขาธิการสำนักอบรมฯ ความเห็นส่วนตัวในสายอัยการการเเข่งขันปีนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้าราชการอัยการจะต้องเลือกคนที่มีความรู้ความเข้าใจในภารกิจของเนติฯมาเป็นกรรมการ

“ข้าราชการอัยการที่ลงสมัครผมรู้จักเคยร่วมงานทุกคนเเต่ถ้าได้บุคคลที่เคยทำงานในเนติฯมีส่วนเข้ามาด้วยจะทำให้ขับเคลื่อนภารกิจเนติฯเเละของสำนักอบรมฯได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ ที่ต้องพูดเเบบนี้ไม่ได้จะเชียร์ใครคนหนึ่งเพราะอัยการที่ลงสมัครก็เป็นน้องๆผมทั้งนั้น” นายอรรถพลกล่าว

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้เสนอตัวสมัครในการเลือกตั้งกรรมการเนติฯสายบุคคลทั่วไปกล่าวว่า ในครั้งนี้ลงรับสมัครในสายบุคคลทั่วไป ซึ่งที่ผ่านมาเคยดำรงตำเเหน่งกรรมการเนติฯมาเเล้ว2ครั้งเป็นเวลา8ปี เคยเป็นทั้งเหรัญญิกเเละนายทะเบียน เเละเลขาธิการสำนักอบรมกฎหมายเเห่งเนติฯ ซึ่งเนติฯเป็นองค์สภาวิชาชีพทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ เเละอาชีพอื่นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ได้มีเกียรติเเละศักดิ์ศรี เป็นองค์กรที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพความรู้ให้ผู้ศึกษาเเละประกอบวิชาชีพกฎหมาย โดยเฉพาะสำนักอบรมฯเป็นแหล่งที่ผลิตเนติบัณฑิตฯ การจะเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการจะต้องมีการสอบเนติบัณฑิตให้ได้ก่อน

เรื่องจำเป็นสำหรับเนติฯเช่นการปรับปรุงหลักสูตร ตนเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณายกระดับเพิ่มพูนความรู้ เพิ่มศักยภาพ เพราะในปัจจุบันมีกฎหมายใหม่ๆออกมาเป็นจำนวนมาก และโลกก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี นักกฎหมายต้องมีความรู้และศักยภาพเพียงพอให้ทันกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญ ต่อไปจะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างช่วงไวรัสโควิด-19ที่ผ่านมาก็มีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ เเต่ที่สำคัญสำหรับเนติบัณฑิตยสภานอกจากความรู้ คือการอบรมเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย

“ปีนี้มีการตื่นตัวของนักกฎหมายมีการสมัครแข่งขันมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นโอกาสที่กรรมการที่รับเรื่องจะได้ข้อคิดเห็นผู้ประกอบวิชาชีพหรือสมาชิกเนติฯให้ดีขึ้น ส่วนเรื่องความมั่นใจนั้นผมพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ส่วนจะได้หรือไม่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้มีสิทธิเลือกไม่อาจตอบล่วงหน้าได้ว่ามั่นใจแค่ไหน ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกในสัดส่วนของบุคคลทั่วไปจะมีจำนวนมากที่สุดในสายต่างๆ”นายสราวุธกล่าว

นายศักดา ช่วงรังษี  รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และรองเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ผู้สมัครสายข้าราชการอัยการกล่าวว่า ในฐานะผู้เสนอตัวรับเลือกเป็นกรรมการเนติฯ ในสายอัยการ ไม่เคยสมัครกรรมการเนติฯเลย แต่มีประสบการณ์ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลานานกว่า 13 ปีแล้ว  และเป็นอาจารย์สอนวิชาพยานหลักฐานและวิชาสัมมนาวิธีพิจารณาความอาญามานานกว่า 16 ปีแล้วเช่นกัน  อันนี้เป็นประสบการณ์ในการทำงานของตนที่เนติฯ

ในส่วนของนโยบายหากได้รับเลือกเป็นกรรมการเนติฯ นั้น อยากให้เข้าใจว่า เนติฯ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ  คือ  การส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์และการประกอบอาชีพทางกฎหมาย  รวมทั้งส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิกด้วย  ดังนั้น ตั้งแต่เป็นรองเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภามานานกว่า 13 ปี จนถึงปัจจุบันนั้น เห็นว่า คณะกรรมการเนติฯ ทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ได้วางนโยบาย และหลักเกณฑ์ต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ให้เนติบัณฑิตยสภามีภารกิจในการกำกับดูแลความประพฤติปฏิบัติของนักกฎหมาย การเข้าสู่วิชาชีพ ทั้งศาล อัยการ และทนายความ ที่เป็นหลักสำคัญของสังคมไทย  และเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ด้านกฎหมาย  ซึ่งนโยบายต่างๆ ที่ได้วางไว้ และตนได้นำมาปฏิบัติตามจึงเห็นว่า เป็นนโยบายที่เข้มแข็งดีมาก

“ส่วนนโยบายอีกประการหนึ่งที่เห็นว่าดีและเหมาะสมกับวิชาชีพนักกฎหมายคือ คณะกรรมการเนติฯ ในทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาตลอด10 กว่าปีที่ได้ทำงานมานี้ ได้เน้นย้ำกับท่านอาจารย์ผู้สอนทุกๆท่านว่า อย่าสอนแต่กฎหมายให้สอดแทรกจริยธรรม คุณธรรมนักกฎหมาย  จะทำให้นักกฎหมายมีจริยธรรม มีคุณธรรม ซึ่งก็เป็นไปตามหลักนิติธรรม”นายศักดากล่าว

นายศักดากล่าวว่า หากได้รับเลือกตั้ง ก็อยากจะสืบสานต่อยอดนโยบายนี้ให้เป็นผลสำเร็จต่อไป  อีกประการหนึ่ง  ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ  จึงน่าจะได้มีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เป็นเครื่องมือ ในการต่อยอดให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนของเนติฯ ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับนักศึกษา  และสอดคล้องกับลักษณะการดำเนินชีวิตท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจ โรคระบาด และการจราจร เป็นต้น

นอกจากนี้สามารถใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ของเนติบัณฑิตยสภา  ให้นักศึกษาสามารถเรียกใช้ข้อมูล  วิเคราะห์บทเรียนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษาซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในวงการกฎหมายในภายภาคหน้า  สามารถเรียนรู้และปรับตัวให้ทันกับปัญญาประดิษฐ์ที่จะถูกนำมาใช้ในวิชาชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ทั้งนี้ นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารนี้  หากไม่สามารถก้าวตามให้ทันอาจเกิดผลร้าย ในทางตรงกันข้ามทำให้ไม่สามารถปรับตัวในการประกอบอาชีพซึ่งมีการแข่งขันสูง  ต้องการความคล่องตัวและความถูกต้องในการคิดวิเคราะห์

ประการสุดท้าย ในฐานะที่เสนอตัวเป็นกรรมการในสายอัยการ  ก็อยากจะผลักดันให้ข้าราชการอัยการเข้าไปมีบทบาทในภารกิจของเนติฯ และสำนักอบรมฯ ให้มากยิ่งขึ้น  เช่น ในเรื่องการคุมสอบและ การตรวจข้อสอบ เป็นต้น

“ผมมีความตั้งใจจริงในการสมัครครั้งนี้ ผมเป็นรองเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภามานานกว่า 13 ปี จนถึงปัจจุบัน หากได้รับเลือกตั้ง จะสามารถปฏิบัติภารกิจของเนติฯ และ ของสำนักอบรมฯ ได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็วฉับไว เพราะไม่ต้องมานั่งเรียนงานอีก จึงได้ตัดสินใจเสนอตัวเป็นตัวแทนสายอัยการ ก็อยากให้พี่น้องชาวอัยการที่รักทุกท่าน พิจารณาประวัติการทำงานแล้วเลือกผมเป็นหนึ่งในกรรมการสายอัยการด้วย”นายศักดากล่าว

นางพฤฒิพร  เนติโพธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายอาจารย์ผู้บรรยายวิชาทรัพย์ – ที่ดิน เนติฯ(ภาคปกติ) ผู้สมัครกรรมการเนติฯสายอัยการ กล่าวว่าที่ผ่านมาไม่เคยสมัครรับเลือกตั้งที่ไหนมาก่อน เป็นครั้งแรกที่สมัครรับเลือกตั้ง   เหตุที่สนใจสมัครเนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานอัยการควบคู่กับการสอนหนังสือและการเป็นนักวิจัยมาตลอด จากประสบการณ์ในด้านการทำงานตั้งแต่ช่วงที่เป็นอัยการจังหวัด สั่งคดีอาญาพบว่าคนที่ไม่รู้กฎหมายอาจถูกเอาเปรียบได้ เมื่อมาเป็นอธิบดีสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ที่มีหน้าที่ตอบข้อหารือให้แก่หน่วยงานของรัฐและจัดทำสัญญาภาครัฐ ได้เจรจาสัญญากับนักกฎหมายภาคเอกชนก็ยิ่งเล็งเห็นว่าผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่ดีต้องมีจริยธรรมและต้องมีความรอบรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

จึงอยากจะใช้ประสบการณ์ที่มีเข้ามาทำงานให้เนติบัณฑิตยสภาซึ่งเป็นสถาบันชั้นสูงสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย   และเมื่อเป็นพนักงานอัยการนอกจากจะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นก็อยากที่จะส่งเสริมบทบาทของพนักงานอัยการให้เข้ามาทำงานร่วมกับเนติบัณฑิตยสภามากขึ้น เพราะเนติบัณฑิตยสภา เป็นสถาบันการศึกษาสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายซึ่งเน้นให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติเสริมจากประสบการณ์เพิ่มมิติที่ครบถ้วน ให้เป็นนักกฎหมายที่มีความรู้ รอบรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ตนอยากส่งเสริมให้ผู้ที่จบนิติศาสตร์บัณฑิตมาเรียนที่เนติฯ ก่อน เมื่อได้มุมมองจากการเรียนซึ่งได้จากประสบการณ์จากอาจารย์ผู้สอนที่มีหลากหลาย ทั้งจากอัยการ ผู้พิพากษา ทนายความ อาจารย์มหาวิทยาลัย ก็จะเห็นมุมมองเพื่อที่จะเลือกว่าจะประกอบวิชาชีพอะไรโดยใช้กฎหมายเป็นพื้นฐาน

นโยบายของตนคือ สอนเนติฯ เข้าใจเนติฯ และสนับสนับสนุนบทบาทอัยการที่เนติฯ ซึ่งหากได้เข้ามาเป็นกรรมการก็จะยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ โดยมุ่งส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายให้พัฒนาตนเองเป็นนักกฎหมายที่มีความรอบรู้และมีคุณธรรมที่ดี และต้องมีความร่วมมือร่วมใจ ใฝ่รู้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยความมุ่งหวังที่จะทำ ในด้านการเรียนการสอนนั้น

1. สนับสนุนให้มีการเรียนการสอนทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มปริมาณนักศึกษาให้เข้าถึงการสอนของอาจารย์ ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้แม้แต่จะอยู่ในที่ห่างไกล Anywhere Anytime ต่อยอดให้มีการสมัครทางออนไลน์ และรวบรวมคำบรรยายเป็นระบบอีบุ๊ค ซึ่งจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

2. จัดการอบรมกฎหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี การค้าระหว่างประเทศ กฎหมายร่วมทุน PPPs (Public Private Partnerships) กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ต้องช่วยเพิ่มพูนองค์ความรู้ในส่วนนี้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ทุกคนเข้าถึงได้ ให้เป็นบริการทางสังคม ตนเจรจาสัญญาร่วมทุนกับทนายความบริษัท Law firm ในโครงการโครงสร้งพื้นฐานหลายโครงการ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเห็นว่านักกฎหมายในสาขาเหล่านี้ขาดแคลนมาก ต้องเริ่มสร้างพื้นฐานให้นักศึกษากฎหมาย

3. เพิ่มการพัฒนาภาษาต่างประเทศ

4. เพิ่มจำนวนทุนสงเคราะห์นักศึกษา รวมถึงไม่คิดค่าลงทะเบียนสำหรับนักศึกษาที่ขัดสนทางการเงิน เพื่อขยายโอกาสเปิดให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนการสอน

5. การให้ความรู้ทางกฎหมายซึ่งเป็นงานที่คาบเกี่ยวกับงาน สคช. คุ้มครองสิทธิของอัยการ ทนายความอาสา สภาทนายความ ให้เป็นทางเลือกของผู้ที่มีปัญหาความเดือดร้อนทางกฎหมายส่วน การสนับสนุนบทบาทของพนักงานอัยการนั้นจะสามารถเสริมได้ทุกด้าน ทั้งในด้านการเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาปกติที่เปิดสอน อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบ รวมถึงการเป็นวิทยากรอบรมกฎหมายพิเศษต่าง ๆ รวมทั้งให้ความรู้ทางกฎหมายซึ่งเป็นงานที่คาบเกี่ยวกับงานของอัยการ จะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันให้ดีขึ้น

และประการสำคัญจากการที่ตนเป็นทั้งอาจารย์และผู้ออกข้อสอบทั้งในส่วนของอัยการและเนติบัณฑิต เห็นว่านักศึกษาที่มีความรู้แต่ไม่สามารถที่จะเขียนอธิบายออกมาให้ชัดเจนได้ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการสื่อข้อความ จึงมีแนวคิดที่จะให้พนักงานอัยการที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในแต่ละประเภท มาช่วยเนติฯ ตั้งเป็นรูม(room) สำหรับให้นักศึกษาที่ยังคงประสบปัญหามาขอความเห็นซึ่งอาจผ่านทางออนไลน์ เขียนคำตอบวิชากฎหมายมาให้พนักงานอัยการที่เชี่ยวชาญช่วยให้ข้อวิจารณ์ ขจัดจุดด้อยในการอธิบายข้อกฎหมาย

ในส่วนความมั่นใจคิดว่าเมื่อลงรับสมัครก็มั่นใจว่าจากประสบการณ์ที่มีน่าจะเป็นทางเลือกให้พนักงานอัยการได้ใช้ดุลพินิจตามที่อัยการสูงสุดได้มีสารของอัยการสูงสุดให้พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจเลือกผู้ที่เหมาะสม คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความทุ่มเทในการทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่กรรมการเนติบัณฑิตยสภาในฐานะตัวแทนอัยการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมเกียรติของอัยการ ในเนติบัณฑิตยสภา

นายชาลี ทัพภวิมล อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็นผู้สมัครกรรมการเนติฯสายทนายความ กล่าวว่า เป็นครั้งเเรกที่ลงสมัครกรรมการบริหารเนติฯ ซึ่งได้รับการชักชวนจากนายนคร พจนวรพงษ์ ทนายความผู้ก่อตั้ง”คณะตราสามดวง”ซึ่งอดีตเคยเป็นผู้พิพากษารุ่นเดียวกัน มีความสนิทกันต่อมาตนได้เกษียณ ซึ่งก็มีใบอนุญาตทนายความ นายนครซึ่งได้เกษียณเเละเป็นตั้งสำนักกฎหมายทนายความ”ตราสามดวง”เเละเป็นอนุญาโตตุลาการ ได้มีความประสงค์ที่จะเข้าไปทำงานในเนติฯเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น เเละจะหาทางเกื้อหนุนวิชาชีพทนายความให้มีความโดดเด่น

นายชาลี กล่าวว่าตนกับนายนครก็คุยมีความเห็นว่า มีทนายความได้เข้าไปเป็นอาจารย์บรรยายที่เกี่ยวกับการว่าความในเนติฯอยู่น้อย จึงคิดว่าควรปรับปรุงวิชาชีพทนายความให้มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาทนายความส่วนใหญ่นั้นยังสอบไม่ได้เนติฯ คนภายนอกอาจจะมองว่าต่างกัน เเต่ความจริงไม่ได้เเปลว่าคนที่สอบได้เนติฯจะเก่งกว่าคนที่สอบไม่ได้เสมอไป เรื่องนี้อยู่ที่การฝึกฝนเเละการตั้งใจทำงานมากกว่า จึงมีความคิดเสนอว่าถ้าได้รับเลือกเข้าไปเป็นกรรมการจะเสนอการตั้งวิทยาลัยวิชาชีพทนายความชั้นสูง ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะทนายความอาจจะคล้ายๆกับหลักสูตร บยส.ของศาลยุติธรรมที่เน้นภาคปฏิบัติโดยสังกัดกับเนติฯ

ส่วนเรื่องความมั่นใจว่าจะได้รับเลือกเข้าไปเป็นกรรมการบริหารหรือไม่นั้นตอบยาก เพราะเรื่องการโฆษณาหาเสียงนั้นไม่ค่อยได้ทำเต็มที่คือเเผ่นผับ เเต่ละทีมสายทนายความก็ส่งคนดีๆเข้ามา เเต่ที่ตนเชื่อคือนโยบายของคณะตราสามดวงที่จะโดนใจทนายความเเละประวัติของสมาชิกที่ลงสมัครนั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ตนเชื่อในหลักการนี้ ช่วงนี้ยังมีเวลาเลือกก็อยากให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการเนติฯสายทนายความได้ตื่นตัวใช้สิทธิเข้ามามากๆเเละมีการตรวจสอบบัตรลงคะเเนนว่ามีการส่งผิดพลาดหรือไม่ได้อัพเดตข้อมูลก็ขอให้เเจ้งที่เนติฯให้ทราบเพื่อที่จะได้มีโอกาสใช้สิทธิ


ว่าที่พันตรี ดร. สมบัติ วงศ์กำแหง ผู้สมัครกรรมการสายทนายความ กล่าวว่าปัจจุบันเป็นกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เนติบัณฑิตยสภา มีผลงานให้ความช่วยเหลือเด็กหญิงพิการผู้สูญเสียพ่อจากอุบัติเหตุ ในอดีตเคยเป็นผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความสภาทนายความ ผู้ก่อตั้งวิทยากรภูมิภาค ทั่วประเทศ ขอเสนอตัวพร้อมทีมงานรวม 5 คน คือ ประกอบด้วยนายสัตยะพล สัจจเดชะ อดีตนายกสมาคมนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ,นายพูลศักดิ์ บุญช กรรมการตรวจสอบภายในเนติบัณฑิตยสภา
อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความ 3 สมัย,นางสาวรัตนา ปืนแก้ว ทนายความดีเด่น ปี 2550และ ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล คณบดีคณะนิติศาตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต เป็นตัวแทนวิชาชีพทนายความ เพื่อให้ทนายความที่เป็นสามัญสมาชิก (จบเนติ) เลือกทั้ง 5 คน เป็นกรรมการเนติบัณฑิตยสภา(สายทนายความ) อีกสมัย
ซึ่งในสมัยที่ผ่านมา มีผลงานโดดเด่นด้านการช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย และการทำงานประสานงานกับทุกสายวิชาชีพได้เป็นอย่างดี และเน้นหนักในการสนับสนุนและส่งเสริม ด้านทักษะ วิชาการ เทคโนโลยี เพื่อยกระดับวิชาชีพทนายความและนักกฎหมายไทย

ว่าที่พันตรี ดร.สมบัติ กล่าวต่อว่า ตนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจเสนอตัว ขออาสาพี่น้องทนายความเป็นผู้แทนของวิชาชีพทำงานให้กับทนายความทั่วประเทศเพื่อเป็นเสียงของทนายความในเนติบัณฑิตยสภา ไปทำประโยชน์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทนายความเพื่อนร่วมวิชาชีพสุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกคะแนนเสียงที่สนับสนุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบัตรเลือกตั้งกรรมการเนติฯจะมี4ประเภทดังนี้

1.บัตรสีฟ้าเป็นประเภทข้าราชการตุลาการ

2.สีชมพูเป็นประเภทข้าราชการอัยการ

3.สีเหลืองเป็นประเภททนายความ

4.เขียวเป็นประเภทบุคคลอื่น

โดยภายในซองบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทจะประกอบด้วยบัญชีรายชื่อสามัญสมาชิกผู้มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเนติฯ และส่งไปรษณีย์สำหรับใส่บัตรเลือกตั้งเพื่อส่งกลับมายังเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งสามารถเลือกตั้งกรรมการเนติฯจากบุคคลในประเภทของตนจำนวนไม่เกิน 5 คน

ทั้งนี้เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปภัมภ์ เป็นองค์การอิสระ ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ถือเป็นสถาบันสำคัญระดับสูงที่มีบทบาทส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยด้านวิชาการของการประกอบอาชีพทางกฎหมายรวมทั้งจัดหาทุน ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก รวมถึงมีการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย

มีคณะกรรมการ 23 คนประกอบด้วยประธานศาลฎีกา เป็นนายกประธานศาลอุทธรณ์ เป็นอุปนายกคนที่ 1 และอัยการสูงสุด เป็นอุปนายกคนที่ 2 คณะกรรมการที่เหลือ20คนมาจากการเลือกตั้งจาก สายตุลาการ อัยการ ทนายความ เเละบุคคลอื่น สายละ 5 คน โดยกรรมการมีวาระ4ปี

สำหรับบรรยากาศการหาเสียง ช่วงนี้หลังจากมีการส่งบัตรไปถึงสมาชิกผู้มีสิทธิเลือกกรรมการเนติฯเเต่ก็ยังมีผู้ที่ได้รับบัตรเเต่ยังไม่ตัดสินใจจำนวนมาก ผู้สมัครของทุกสายก็มียุทธวิธีการหาเสียงเเละวิธีในการติดต่อสมาชิกเพื่อหาคะเเนนเสียงไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพย์ ส่งจดหมาย ของที่ระลึก เอสเอ็มเอสหรือใช้โปรเเกรมไลน์ เพื่อหาเสียง

ที่น่าจับตามองยังคงเป็นสายอัยการที่หากใครได้รับเลือกก็จะเป็นสายที่มีวาระบริหาร ที่เต็งคงไม่พ้น นายสิงห์ชัย ทนินซ้อน อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา ที่จะมีคิวขึ้นอัยการสูงสุด ,ที่จับกลุ่มกับนาย นายชัชชม อรรฆภิญญ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญาธนบุรีอัยการคนดังหน้าสื่อ ,นาย มั่นเกียรติ ธนวิจิตรพันธ์ อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน ,น.ส.นารี ตัณฑเสถียร์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย รวมเป็นทีม 5 คนเเม้เป็นทีมที่เเข็ง เเต่นอกจาก นายสิงห์ชัย คนอื่นๆ ในทีมก็มีโอกาสโดนผู้สมัครรายบุคคลเข้าไปเเทรกได้สูงเช่นกัน เพราะหลังจากในช่วงหลังการการเเจกบัตรลงคะเเนน พบว่ามีการหาเสียงเเละฝากกัน ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกก็มีการรับปากจึงต้องมองเรื่องการหาเสียงมากกว่าเฉพาะชื่อเสียงตำเเหน่งตัวบุคคลเดิม

เเต่อัยการส่วนมากก็ยังมองว่าใน4ปีนี้อัยการจะได้โควต้าสำคัญในเนติฯควรจะมีคนที่มีประสบการณ์อยู่เเล้วเข้าไปที่ต้องจับตามอง คือ นายศักดา ช่วงรังษี ที่ประสบการณ์นั่งรองเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา กว่า 15 ปีมีประสบการณ์ในหลายภาคส่วน ที่สำคัญนายศักดายังได้รับการสนับสนุนเรียกคะเเนนเสียง จากนายอรรถพล ใหญ่สว่างที่มีบารมีในหมู่อัยการอย่างมากเนื่องจากเป็นเด็กเเปดริ้วเเละเป็นกรรมการในสมาคมชาวฉะเชิงเทราที่มีนายอรรถพลเป็นนายกสมาคมด้วยกัน รวมถึงยังมีบุคคลอื่นที่น่าสนใจ เช่น ม.ล.ศุภกิตต์ จรูญโรจน์ อัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย โดดเด่นงานบริหารและงานวิชาการเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการรองอัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดมาหลายสมัยติดต่อกัน ในยุค อสส.คนปัจจุบันมีบทบาทในการผลักดันปรับปรุงโครงสร้างและตำแหน่งของอัยการในยุคนี้

นางพฤฒิพร เนติโพธิ์ อธิบดีอัยการสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ที่มีผลงานโดดเด่นทั้งในด้านสายงานวิชาการและสายงานบริหาร เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ อาจารย์สอนกฎหมายที่เนติบัณฑิตยสภา อยู่ในสายงานให้คำปรึกษาและตรวจร่างสัญญาของรัฐมากว่า 20 ปี มีบทบาทสำคัญในการรักษาประโยชน์ของรัฐในการตรวจร่างสัญญาและเจรจาต่อรองโครงการรถไฟฟ้า 3 สนามบิน และโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของอีอีซี มีนโยบายเด่นมุ่งผลักดันให้อัยการมีบทบาทในเนติบัณฑิตยสภามากขึ้น

นายชาตรี สุวรรณิน ผู้ตรวจการอัยการที่เป็นอาจารย์ผู้บรรยายกฎหมายเนติบัณฑิตยสภามา26ปี เคยเป็น ก.อ.ที่ยังมีบารมีในองค์กร

สายศาลตัวเต็ง นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีก ,นายเอื้อน ขุนแก้ว ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ,นายประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ อธิบดีศาลแพ่งตลิ่งชัน (เลขาฯสำนักอบรมและศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาคนปัจจุบัน) ,นายทองธาร เหลืองเรืองรอง ผู้พิพากษาศาลฎีกา , นายอำนาจ พวงชมพู ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ อดีตอธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตฯคนเเรก จับ5คนเป็นทีมเดียวกัน ยังเเข็ง ถ้าจะมีเเทรกเข้ามาได้คงเป็น นายวิบูลย์ แสงชมพู ผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม(กบศ.)เเละอดีต คณะกรรมการตุลาการ (กต.)ที่มาเเรง

สายทนายความคงหนีไม่พ้นสมาชิกของทั้ง 4 ทีมผสมกัน ได้เเก่ 1.ทีมดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภา2.ทีมว่าที่พ.ต.สมบัติ วงศ์กำแหง กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เนติบัณฑิตยสภา เเละอดีตผู้บริหารสภาทนายควาทเเละ3 ทีม ศ.(พิเศษ)ดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ อดีตนายกสภาทนายความหลายสมัย เเละ4.ทีมคณะตราสามดวง ของนายนคร พจนวรพงษ์ กรรมการ อดีตผู้พิพากษาอาวุโส ที่ชูนโยบายโดดเด่นชัดเจนเรื่องผลักดันให้มีโควต้าอุปนายกคนที่3 ในเนติบัณฑิตยสภามาจากนายกทนายความพร้อมกล้าเเสดงความเห็นในสิทธิที่ทนายพึงมี

การเเข่งขันในสายทนายความเชื่อว่าการตัดสินใจส่วนมากจะเลือกจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์เป็นอาจารย์ผู้บรรยายกฎหมายในเนติบัณฑิตยสภามาหลายปีมีลูกศิษย์หลายรุ่นเเละทนายความผู้มีชื่อเสียงในสังคมโดยผู้ที่มีตำเเหน่งในกรรมบริหารสภาทนายจะมีความได้เปรียบ มีการมองกันว่าโอกาสผู้ที่เป็นหัวหน้าทีมเเละสมาชิกของเเต่ละทีมที่มีบทบาทในสังคมจะมีสิทธิได้รับเลือก โดยในสายทนายความโอกาสที่ทีมไหนได้รับการเลือกยกทีมเลยเป็นไปได้น้อยมากเเต่ก็พบว่าคณะตราสามดวงก็มีความนิยมขึ้นเรื่อยๆในช่วงหาคะเเนนเสียงจากนโยบายที่ชัดเจนประกอบกับสมาชิกเเต่ละคุณล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากอดีตผู้พิพากษาเเละบุคคลที่มีชื่อเสียง

สายบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นสายที่ผู้มีสิทธิเลือกจะเป็นจากสมาชิกนักกฎหมายที่ไม่อยู่ใน3ประเภทข้างต้น สายนี้มีการจับทีมของสมาชิกที่มีชื่อเสียงในวงการนักกฎหมายระดับประเทศ 5คน ประกอบด้วย นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการอัยการอดีตอัยการสูงสุด ,นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนปัจจุบัน , ศ.ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ เเห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรมาจารย์ด้านวิ.อาญา, นายสมชาย จุลนิติ์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, ศ.(พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผ.อ.สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ อดีตปลัดก.ยุติธรรม ซึ่งคงได้รับเลือกทุกคน ก็คงอยู่ที่ว่าสุดท้ายเเล้วคะเเนนของเเต่ละคนจะมากน้อยเเตกต่างกันอย่างไร

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image