ศาลอุทธรณ์ยืนยกฟ้อง”บิ๊กตู่”ผิดม. 116 ประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้เป็นอำนาจนายกฯ

ศาลอุทธรณ์ยืนยกฟ้องชั้นตรวจฟ้อง .ชา ฟ้องบิ๊กตู่ผิดม. 116 ประกาศพ...ฉุกเฉิน ชี้เป็นอำนาจนายกฯ

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม  ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้นตรวจฟ้องในคดีดำ 321/2564 ที่ นายอนัตต์ณังธะโคตร  ญาณ์ธนโชติ หรืออาจารย์ชา เจ้าของโครงการชุมชนธะธรรมชาติพื้นที่เขารอยต่อ .หล่มเก่า .เพชรบูรณ์ , นางณัฐ์ชญาดา ณสิริ ,นายกวีวัฒน์ เงินทอง,..จิราภรณ์ ดำจูด,นายสรรเสริญ พุทธสวัสดิ์,นายวุฑฒิกร พิมาย,นายแก้ว แซ่หลี,นายอรรถพล ศรีแก้วณวรรณ,นางสุภัคชา ก้อนคำ,นางฐิติรัตน์ ไชยหงษ์,นายอนุวงศ์ นิวาส,นายบุญสงค์ ก่ำรัมย์ โจทก์รวม 12 คน ยื่นฟ้องพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในคดีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ

โจทก์ฟ้องว่า  เมื่อระหว่างวันที่ 14 -22 .. 2563 จำเลยกับคณะรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยอ้างว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวนปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย และความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตาม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของ มาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งความจริงแล้ว การชุมนุมของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เกิดความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ มิได้เกิดความรุนแรง จึงไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนและร้ายแรงที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกประกาศดังกล่าวเพื่อให้โจทก์และประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมชุมนุมกระทำความผิด ล่วงละเมิดต่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร เหตุเกิดที่แขวงดุสิต เขตดุสิตกรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,

Advertisement

116

ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาฟ้องของโจทก์แล้ววินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่ใช่การกระทำที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ที่โจทก์ตั้งเป็นข้อหาและขอให้ลงโทษ จึงพิพากษายกฟ้อง

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ..2563 โจทก์ยื่นอุทธรณ์

Advertisement

ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่

เห็นว่า ที่จำเลยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 ซึ่งให้อำนาจแก่จำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรีที่จะมีประกาศเช่นนั้นได้ หากปรากฏเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิต หรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล จึงมิได้เป็นการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวิธีอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ ส่วนจะมีเหตุให้จำเลยมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กล่าวอ้างหรือไม่นั้น เป็นความชอบด้วยกฎหมายในการมีประกาศดังกล่าวซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก และพระราชกำหนดดังกล่าวก็มีเจตนาเพื่อให้มีการแก้ไขเหตุการณ์ที่

เกิดขึ้นให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที มิใช่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนทั่วไปหรือโจทก์ทั้ง 12 คนล่วงละเมิดประกาศดังกล่าวแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image