“บิ๊กตู่”ถกศบค.ชุดใหญ่บ่ายนี้ ประเมินหลังล็อกดาวน์ จ่อแลกวัคซีนภูฏาน-รับบริจาคยาเยอรมนี

“บิ๊กตู่”เตรียมประชุมศบค.ชุดใหญ่ บ่ายนี้ ประเมินสถานการณ์หลังครบ 14 วันล็อคดาวน์ 29 จังหวัด สธ.คาดการณ์คุมโควิดได้ผลร้อยละ 25 ชี้สถานการณ์ระบาดยังสูงต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เดินทางเข้าปฏิบัติภารกิจภายในทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ในช่วงเช้า โดยในเวลา 09.00น. นายกรัฐมนตรี แถลงข่าว “จุดยืนลดภาระทางการศึกษา” ผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอรเรนซ์ จากนั้นเวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ครั้งที่1/2564 ผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอรเรนซ์

ช่วงบ่ายในเวลา 13.30 น. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) ชุดใหญ่ ครั้งที่ 12/2564 ผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอรเรนซ์ โดยวาระการประชุม จะได้รับทราบแผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ,การรับความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากต่างประเทศ ทั้งการแลกวัคซีนโควิด-19(AstraZeneca) ระหว่างรัฐบาลภูฏานกับรัฐบาลไทย และการรับบริจาค Monoclonal Antibody (Casirivimab/Imdevimab) จากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศเยอรมนี

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมจะมีการประเมินผลการปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควดิ–19 และมาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) และโครงการนำร่อง การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน หรือแฟคทอรี่แซนบ็อกซ์ (Factory Sandbox) ขณะเดียวกันที่ประชุมเตรียมพิจารณามาตรการควบคุมสำหรับการเดินทางเข้าออกทางน้ำเฉพาะกรณีเรือที่ไม่มีสัญชาติไทย เพื่อปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม ภารกิจอื่นใดบนยานพาหนะหรือ สิ่งปลูกสร้างในทะเล

Advertisement

นอกจากนี้ยังติดตามการเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภเก็ตเชื่อมต่อจังหวัดนาร่องอื่น(7+7) ,พิจารณา
,แนวทางการประชาสัมพันธ์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด- 19 ,พิจารณามาตรการผ่อนปรนให้ 4 ธุรกิจหลักที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของประชาชนได้แก่ 1.ธนาคาร สถาบันการเงิน 2.ธุรกิจสื่อสาร ไอที 3.ร้านเบ็ดเตล็ด 4.ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น

นอกจากนี้ที่ประชุมยังจะรับทราบสรุปสถานการณ์และแนวโน้วการระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ที่พบว่าการระบาดทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยหลายประเทศแถบยุโรปพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น และพบยอดผู้เสียชีวิตไม่สูงมาก รวมทั้งประชากรได้รับวัคซีนในสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ประเทศไทยมีแนวโน้ม พบผู้ติดเชื้อในเกณฑ์สูงต่อเนื่องในอีก 1-2 เดือน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบผู้ติดเชื้อเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อรับการรักษา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในเกณฑ์สูงคงตัว ทั้งจากตรวจคัดกรองด้วยวิธี RT-PCR และ ATK จึงจำเป็นต้องเร่งมาตรการ ทางสังคมเพื่อลดจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ และเพิ่มจำนวนทีมปฏิบัติเชิงรุก “CCR Team” เพื่อให้ผู้ป่วย ได้เข้าถึงการดูแลที่บ้านได้เร็วขึ้น ลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก รวมทั้งลดการใช้เตียงเหลือง-แดง

สำหรับภาคกลางและภาคตะวันออก พบการระบาดต่อเนื่องจากโรงงาน สถานประกอบการ สู่คนในชุมชน ครอบครัว คนที่รู้จักกัน และตลาด จึงจำเป็นต้องยกระดับมาตรการควบคุมโรคพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในโรงงานและสถานประกอบการ ขณะที่พื้นที่ภาคใต้และชายแดนใต้ พบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจานวนมากอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องเน้นมาตรการ DMHTT ทั้งในบ้านและชุมชน ส่วนผลการประเมินมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ (ล็อคดาวน์) ตามข้อกำหนด ในห้วงระยะเวลา 14 วันที่ผ่านมาพบว่าการล็อกดาวน์ได้ผลร้อยละ 25

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image