ณัฐพล ใจจริง ชี้สัญลักษณ์ ‘การเมืองใหม่’ ผ่านไฮไลต์ ‘หนังสือเก่า’ ยุคสร้างชาติ

ณัฐพล ใจจริง ชี้สัญลักษณ์ ‘การเมืองใหม่’ ผ่านไฮไลต์ ‘หนังสือเก่า’ ยุคสร้างชาติ

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) เครือมติชน นำโดย ศิลปวัฒนธรรม, สำนักพิมพ์มติชน, ศูนย์ข้อมูลมติชน (MIC) และเส้นทางเศรษฐี ร่วมกันจัดงาน ‘๒๔ มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์’

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน ซึ่ง มีประชาชนสนใจเข้าร่วมจนเต็มพื้นที่โถงชั้นล่าง ซึ่งมีการจัด ‘เทศกาลหนังสือการเมือง’ จากสำนักพิมพ์มติชนและพันธมิตรอีก 7 แห่ง

นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจกับร้านอาหารเมนู ‘ยุคสร้างชาติ’ ที่คัดสรรโดยเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ โดยต่อคิวชิมเมนูต่างๆ อย่างคับคั่ง โดยเฉพาะร้านผัดไทยโบราณเจ๊นิด, เจริญพุงโภชนา, และไอศกรีมบ้านแพ้ว เป็นต้น

Advertisement

สำหรับบรรยากาศนิทรรศการเปิดกรุของที่ระลึกและหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 2475 มีผู้สนใจร่วมชมอย่างต่อเนื่อง

ภายในงานยังมีการนำชมนิทรรศการเปิดกรุสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ดังกล่าว

Advertisement

ในตอนหนึ่ง มีการนำชมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ใจจริง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา และ หนึ่งในเจ้าของวัตถุล้ำค่าดังกล่าว

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวแนะนำหนังสือ และเอกสารต่างๆ อาทิ รายงานการประชุมผู้แทนสภาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม

“รายงานการประชุมผู้แทนสภาครั้งที่ 1 จะพูดถึงการเปิดประชุมสภาครั้งแรกว่าเป็นอย่างไร
พระยาพหลพลพยุหเสนามอบอำนาจให้กับสภาผู้แทน ฯ โดยถือว่าสภาผู้แทนมีอำนาจสูงสุด เหนือสถาบันการเมืองอื่นๆ ตัดสินทุกอย่างได้หมด ในการประชุมครั้งแรกจะบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้

นอกจากนี้ ยังมีสิ่งพิมพ์ในงานฉลองวันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม มีรายงานบทกลอน ปาฐกถาเผยแพร่รัฐธรรมนูญ ตอนนั้นประชาชนอยู่ต่างจังหวัดยังไม่ค่อยทราบข่าวสาร เขาก็จะมีหน้าที่ไปบอกประชาชน มีปาฐกถาของ ส.ส.นครศรีธรรมราชว่าเขาไปพูดอะไรกับประชาชน รวมทั้งสมุดแนะนำตัว ส.ส.ว่าเขาเป็นใคร มีหนังสือแนะนำตัว มีปาฐกถาสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ปราศรัยในงานวันชาติ ว่าเขาพูดอะไรกับประชาชนก็จะมีการรายงานผ่านวิทยุ และ พิมพ์เอกสารแจกจ่ายประชาชนต่อไป” ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าว

ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าวว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว รัฐบาลมีหน้าที่บอกสัญญลักษณ์ใหม่ของชาติให้กับประชาชน

“มีการพูดถึงการมีธงชาติ เพราะระบอบเก่าธงชาติมีความสำคัญในระดับที่3 ตาม พรบ. ธง ลำดับสำคัญสูงสุดคือธง มหาราชธงชาติหรือธงไตรรงค์สำคัญลำดับ3 ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ประชาชนขึ้นมาเป็นใหญ่ ธงชาติถูกยกให้เป็นสัญญาลักษณ์อันดับ 1 ดังนั้น แบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ก็จะบอกประชาชนว่าธงชาติหรือธงไตรรงค์นั้นสำคัญ นี่คือการบอกประชาชนถึงสัญลักษณ์การเมืองแบบใหม่” ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าว

นอกจากนี้ ผศ.ดร.ณัฐพล ยังอธิบายถึงผลงานของกรมโฆษณาการ, หนังสือตำราการเมืองหลัง 2475, หนังสือคู่มือการเมืองระบอบใหม่, หนังสือหลักวิชาการเมือง, คู่มือพลเมือง และคำพิพากษาศาลพิเศษ เรื่อง กบฏ 2482 เป็นต้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image