เดินหน้าชน : เวลาวัดใจ

 การเมืองหลังเลือกตั้งเริ่มมีความชัดเจนสัปดาห์ต่อสัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดความอึมครึม เกมพลิกไปพลิกมา ระหว่างสองพรรคใหญ่ก้าวไกลเพื่อไทย อ้างสิทธิตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร

สุดท้ายเก้าอี้ก็ไปตกตาอยู่วันมูหะมัดนอร์ มะทา ขึ้นนั่งบัลลังก์ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลไปต่อได้

สเต็ปต่อไปสัปดาห์นี้ ต้องโฟกัสจุดเปลี่ยนสำคัญจากการประชุมร่วมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อลงมติว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่แบ๊กอัพโดย 8 พรรคร่วม จะมีเส้นทางสู่ทำเนียบราบรื่นหรือไม่

โหวตแรกจะเกิดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้

Advertisement

เป็นโหวตแรกเพราะคาดกันว่าการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีเที่ยวนี้ คงไม่ใช่แบบม้วนเดียวจบ

อาจมีก๊อก 2 วันที่ 19 กรกฎาคม หากลงมติยังไม่สะเด็ดน้ำ ก็ไปต่อก๊อก 3 วันที่ 20 กรกฎาคม

หาก 3 รอบปิดจ๊อบไม่ลง ส่งพิธานั่งเก้าอี้นายกฯไม่สำเร็จ ก็อาจถึงคิวเพื่อไทยขึ้นนำ ส่งแคนดิเดตพรรคชิงตำแหน่งนายกฯบ้าง

Advertisement

ความเยิ่นเย้อของการเลือกนายกฯ เป็นผลพวงรัฐธรรมนูญ 2560 ที่วางเงื่อนไขเลือกนายกฯ ต้องใช้เสียง ส..มาร่วมลงคะแนนด้วย

ทั้งที่ครรลองระบอบประชาธิปไตยของการเมืองในประเทศที่มีระบบ 2 สภา ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ให้อำนาจประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกนายกฯทางอ้อม ด้วยการมอบฉันทานุมัติผ่าน ส..ไปทำหน้าที่เลือกนายกฯตามแนวทางที่พรรคนั้นหาเสียงไว้

ต้องย้ำว่า ไม่มี ส..ประเทศไหนมีอำนาจในการเลือกนายกฯ เขายึดถือเสียงผู้มีสิทธิเลือกตั้งผ่าน ส..

แต่รัฐธรรมนูญปัจจุบัน กำหนดให้ผู้จะได้รับเลือกเป็นนายกฯ ต้องได้รับคะแนนสนับสนุนไม่น้อย 376 เสียง หรือเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา (..+.. 750 เสียง)

เป็นความบิดเบี้ยวจนเกิดความไม่ปกติของการเมือง

8 พรรคร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลแม้มี ส..รวมกัน 312 เสียง (เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรไปไกลพอสมควร หากเป็นรัฐบาลก็นับว่ามีเสถียรภาพ) แต่จากกติการัฐธรรมนูญจึงยังขาดอีก 64 เสียง ต้องไปหามาเติมจาก

หนึ่ง พรรคร่วมรัฐบาลเดิม 188 เสียง 

หนึ่ง ส.. 250 เสียง 

ประเทศไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบัน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 25 ชุดไปลงคะแนนเลือกนายกฯ

และมีสมาชิกวุฒิสภา 12 ชุด

11 ชุดแรกไม่เคยมีความเกี่ยวข้อง หรือต้องมาลงคะแนนเลือกนายกฯ

จนภายหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เกิดชุดที่ 12 หรือชุดปัจจุบัน แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มี พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ

หลังการรัฐประหาร เกิดรัฐธรรมนูญ 2560 ให้อำนาจ ส..ชุดนี้ร่วมโหวตนายกฯที่ชื่อ พล..ประยุทธ์ เมื่อครั้งการเลือกตั้งปี 2562

หลังเลือกตั้งล่าสุด 14 พฤษภาคม จนถึงปัจจุบัน เชื่อกันว่า ส..จำนวนมากคงแอบอิงอยู่กับกลุ่มอำนาจเดิม แม้มีบางส่วนที่ถือเป็นส่วนน้อยประกาศท่าทีจะลงคะแนนให้ฝ่ายเสียงข้างมากก็ตาม แต่เมื่อฟังสุ้มเสียงจากระดับแกนนำยังยืนยันแข็งขันไม่เอาพิธาและพรรคก้าวไกล ขณะที่ส่วนใหญ่เงียบงันไปรอลุ้นเอาหน้างาน

จะคาดหวังจากฝั่งวุฒิฯเข้ามาหนุนเห็นจะริบรี่เต็มทน 

อาจต้องมองไปที่ ส..พรรคขั้วตรงข้าม ในฐานะผู้ผ่านการหาเสียงตากแดดตากฝนตัวดำปี๋กว่าจะได้คะแนนจากประชาชนเข้าสภา จะยืนหยัดต่อเจตจำนงของผู้มีสิทธิออกเสียง 

หรือยอมรับแต่โดยดีให้ศักดิ์และสิทธิ ส..จากการแต่งตั้ง เป็นผู้ชี้ชะตานายกรัฐมนตรีของประเทศ

13 กรกฎาฯนี้ มีคำตอบ

สัญญา รัตนสร้อย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image