จาตุรนต์ ชี้ 7 เหตุผล ทำไมสภาฯ ถึงต้องตั้ง กมธ.สร้างสันติภาพชายแดนใต้

จาตุรนต์ ชี้ 7 เหตุผล ทำไมสภาฯ ต้องตั้งกมธ.สร้างสันติภาพชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกมธ.วิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังสภาผู้แทนราษฎร มีมติแต่งตั้ง โดยมีเนื้อหาดังนี้ “ผมให้เหตุผลว่า ทำไมสภา จึงต้องพิจารณาให้เกิดการตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.เรื่องการประเมินสถานการณ์ของภาครัฐได้ประเมินไว้อย่างคลุมเครือและไม่ชัดเจนจนไม่รู้ว่าปัญหาแท้จริงมีมากน้อยเพียงใด (จากเอกสารนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ 2565-2567 ที่จัดทำขึ้นโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ)

2.การกำหนดนโยบายและแผนทำแบบการทำ “ร้อยกรอง” เพราะเอานโยบายและแผนต่าง ๆ มายำรวมกัน เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจ, ความยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นต้น นำแผนเหล่านี้มาร้อยเรียงไม่ให้ขัดแย้งกัน แต่กลับไม่ได้สัมพันธ์กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จนเราไม่รู้ว่าแผนที่จะใช้บริหารพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้จะแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่

Advertisement

3.โครงสร้างองค์กรบริหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับไม่เจอเลยว่า ศอ.บต. อยู่ตรงไหน แต่กลายเป็นว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งสภาความมั่นคง หรือ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบดูแลทั้งเรื่องแก้ปัญหาอัตลักษณ์ เรื่องพหุวัฒนธรรม

ทั้งที่การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่สามารถทำได้โดยฝ่ายความมั่นคง แต่ควรเพิ่มบทบาทของฝ่ายพลเรือนเข้ามา หรือพลเมืองเป็นหลักร่วมกับฝ่ายความมั่นคงใช่หรือไม่?

4.การมีส่วนร่วมของประชาชนยังจำกัด การทำโครงการงบประมาณต่างๆไม่ได้สอบถามความเห็นของประชาชน และปรากฏว่าการพัฒนาเศรษฐกิจก็จะดูแค่การเติบโตของ GDP แต่ไม่มีตัวชี้วัดเลยว่าการพัฒนานี้ตรงกับความต้องการของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แค่ไหนอย่างไร

Advertisement

5.การกระจายอำนาจเพียงพอหรือไม่? มีการให้ข้อมูลไม่ตรงกันโดยหน่วยราชการฝ่ายความมั่นคงก็บอกว่ากระจายแล้วแต่ประชาชนกลับเห็นว่าไม่เพียงพอ

คำตอบก็ชัดอยู่แล้วว่า การกระจายอำนาจไม่พอแน่นอน เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาทั้งประเทศถูกรวบอำนาจไว้ เพราะฉะนั้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยิ่งมีปัญหาการไม่กระจายอำนาจมากกว่าพื้นที่อื่นๆ

6.สิทธิเสรีภาพความไม่ยุติธรรม ความไม่เป็นธรรมยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ ดังจะเห็นจากรัฐบาลชุดก่อนเลื่อน “พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหาย” จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยว่า การเลื่อนของรัฐบาลนั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ พ.ร.บ.นี้จะปกป้องสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดีเรื่องหนึ่ง กลับถูกเลื่อนไปอย่างน่าเสียดาย

7.การเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพจะมีกฎหมายรับรองหรือไม่ สภาผู้แทนราษฎรควรจะมีบทบาทอย่างไร ในการเจรจานี้ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก

ในรายงานของสภาความมั่นคงบอกว่า ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง แต่มีการเพิ่มพื้นที่การเคลื่อนไหวทางการเมือง ในรายงานนั้นไม่ได้บอกว่า สิ่งนี้ดีหรือไม่ ทั้งที่ความจริงในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตยก็เป็นเรื่องดี เพราะจะได้ไม่เกิดความรุนแรง แต่รัฐไทยกลับมีบทบาทจัดการอย่างไม่เหมาะสม และไม่ชัดเจน

จะเห็นว่า เวลามีนักศึกษามาเสนอประเด็นอะไรใหม่ๆขึ้นมา จับดำเนินคดีเอาเป็นเอาตาย แต่ว่ากลับไปเจรจากับขบวนการในต่างประเทศ ถ้าอย่างนี้นักศึกษาคงจะต้องสรุปว่า ถ้าอยากเจรจากับรัฐบาลไทย ก็ต้องเดินทางข้ามไปต่างประเทศแล้วไปร่วมเจรจาที่นั่น เพราะถ้าพวกเขาเขาเสนออะไรในเมืองไทย กลายเป็นถูกจับถูกดำเนินคดีข้อหาร้ายแรง อันนี้เป็นความสับสนทั้งนั้น

ย้อนอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image