สาวโรงงานเข้าใจหัวอกลูกหนี้ ลุยชิงเก้าอี้ ‘บอร์ดประกันสังคม’ ดร.ปิยรัชต์ชู 5 ข้อ พลังแรงงานสหกรณ์ ร่ายกวีก่อนดีเบต

สาวโรงงาน เข้าใจหัวอกลูกหนี้ ลงเลือกตั้ง ‘บอร์ดประกันสังคม’ -ทีมพลังแรงงานสหกรณ์ ร่ายบทกวีก่อนดีเบต-ดร.ปิยรัชต์ ชู 5 นโยบาย 

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ที่ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย อาคารเอนกประสงค์ 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สถาบันปรีดี พนมยงค์ สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส สำนักข่าวชายขอบ สำนักข่าว The Reporters และ The Isaan Record จัดเวทีเสวนา“เลือกตั้งคณะกรรมการ ประกันสังคม ปฏิรูปอะไร? อย่างไร?”

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ เวลา 11.00 น. ผู้สมัครรับเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมทั้ง 10 คน เริ่มแสดงวิสัยทัศน์ของทีมทีละราย ท่ามกลางผู้ร่วมงานคับคั่งร่วมฟังล้นห้องประชุม (อ่านข่าว ดีเบต ‘บอร์ดประกันสังคม’ เข้ม เสนอ เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร-เบี้ยชราภาพ)

น.ส.บุญเรือง คุ้มคง จาก ‘ทีม 3 ขอต้องไปต่อ’ กล่าวว่า ตนป็นสาวโรงงานจากย่านลำลูกกา จ.ปทุมธานี มีความตั้งใจมาสมัครลงรับเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้ที่ติดปัญหาหนี้เครดิตบูโร นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่า ตนอาจใช้เวลาพูดไม่ถึง 10 นาทีเนื่องจากตื่นเต้น มีคนมาร่วมฟังจำนวนมาก

Advertisement

โดยทีมของคนเสนอนโยบาย 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ คือ 1.ขอเลือก 2.ขอคืน และ 3.ขอกู้

“สาเหตุที่อยากใช้นโยบายนี้ ก็เพราะว่าจากประสบการณ์ตนเองคือ เคยเป็นหนี้ ไม่สามารถที่จะกู้ธนาคารได้ โดยติดหนี้เครดิตบูโร ในช่วงเกิดโควิด-19 ซึ่งได้ไปเรียกร้องกับกลุ่ม 3 ขอ ตอนนี้จึงมองเห็นโอกาสว่าเราควรจะมาเสนอนโยบายเพื่อผู้ประกันตนที่เข้าไม่ถึง ไปกู้ธนาคารก็กู้ไม่ได้”

“เราจึงยื่นกู้กับประกันสังคมโดยตรง 50% โดยเอาอีก 50% ของเราค้ำประกันเอาไว้ ก็จะเข้าคอนเซ็ปต์ประกันสังคม ‘เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข’ เพราะว่าเราไม่สามารถไปกู้ที่ไหนได้ ก็กู้กับประกันสังคม ในฐานะเป็นผู้ประกันตน อยากจะฝากผู้ที่ได้เข้าไป ขอให้ทำได้อย่างที่หาเสียงกันไว้ เพราะประโยชน์ที่จะเกิดสูงสุดก็คือผู้ประกันตน รวมถึงดิฉันด้วย” น.ส.บุญเรืองกล่าว

Advertisement

ดร.ปิยรัชต์ สมาทา จากทีมประกันสังคมเพื่อแรงงานไทย กล่าวถึงการก่อกำเนิดทีมประกันสังคมเพื่อแรงงานไทย ว่าเพื่อที่จะนำเสนอตนเองกับทีมประกันสังคม เพราะมีทั้งหมด 9 สภา องค์การลูกจ้างที่หล่อหลอมร่วมกันอาสาที่จะรับใช้และดูแลผู้ประกันตน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พวกเรามีสิทธิในการเลือกผู้ประกันตนเข้าไปเป็นตัวแทน เป็นบอร์ดบริหาร ที่มีทั้งผู้อาวุโส ผู้มีความรู้ความสามารถ นักวิชาการ หล่อหลอมกันเป็นที่ปรึกษา

ดร.ปิยรัชต์ กล่าวว่า สำหรับทีมประกันสังคมแรงงานไทยได้เสนอนโยบาย ดังนี้

1.ธนาคารผู้ประกันตน ที่สามารถมีสิทธิ มีอำนาจในการต่อรองเรื่องดอกเบี้ย กู้สินเชื่อต่างๆ
2.โรงพยาบาล เพื่อยกระดับให้โรงพยาบาลต่างๆ รองรับ ดูแล ผู้ประกันตนอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน
3. บำนาญ เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในอนาคต ควรปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและสภาวะเศรษฐกิจทุกระยะ 3-5 ปี เพื่อที่จะสามารถมีเงินรองรับได้ในอนาคต
4. การบริการ สร้างแรงจูงใจการบริการ โดยใส่ใจ ดูแลเจ้าหน้าที่แต่ละพื้นที่ต่างจังหวัด เพื่อให้พวกเขาได้เห็นถึงความสำคัญว่าผู้ประกันตนต้องดูแล และทำให้พวกเขาคำนึงถึงการใส่ใจเรื่องการบริการอย่างเต็มที่
5. การบริหารงาน กระตุ้นเงินกองทุนที่มีอยู่สร้างกำไรให้กับประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอดูแลผู้ประกันตนในอนาคตได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: ‘ธนาคารแรงงาน’ ทำได้ชัวร์! อ.เศรษฐศาสตร์งัดแผน ใช้ประกันสังคม ‘ล้างหนี้-ปล่อยกู้’ กำไรเหนาะๆ

ด้าน นายปัณฐวิชญ์ มุ่งสมัครศรีกุล จากทีมพลังแรงงานสหกรณ์ ร่ายกวีตอนหนึ่งก่อนริ่มกล่าวดีเบต

ความว่า

‘ถึงแม้จะมากันจากหลากพื้นฐาน แต่เพื่อแรงงานสหกรณ์อันสดใส มาร่วมเรียงเคียงกันเช่นมาลัย สร้างสรรค์ให้ไทยราษฎรพัฒนา’

นายปัณฐวิชญ์กล่าวว่า ตนเป็นผู้อำนวยการผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ดูแลพี่น้องสมาชิก 12 ล้านคน มีสหกรณ์ทั้งหมดที่ดูแลประคับประครองอยู่ 6 ปี 7,000 กว่าแห่ง และยังเป็นสหกรณ์ในสถานประกอบการอีก 400 แห่ง พวกเราอยู่ตรงนั้นอีก 300,000 กว่าคน และน้องๆ ที่เคยเป็นอดีตกระทรวงสาธารณสุขอยู่เกือบ 20 ปี เพราะฉะนั้นจึงเข้าใจหัวอกพนักงานกระทรวงสาธารณะสุขอีก 200,000 คน

“ในกระบวนการสหกรณ์มีอะไรหลายอย่างที่ดีๆ ที่จะพัฒนาคุณภาพ ก้าวมั่นอย่างมั่นคง ก้าวมั่นไปเพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชน เรามาช่วยกันทำให้ได้ ดูคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น เลือกเฟ้นคนที่ใช้ทำงาน เพื่อพัฒนาประกันสังคม” นายปัณฐวิชญ์เผย

โดยทีมพลังแรงงานสหกรณ์ ได้เสนอนโยบายโดยใช้หลัก 4 ลด 5 เพิ่ม 6 เสริม ดังนี้
4 ลดได้แก่.
1. ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้
2. สามขา ผู้ประกันตนไม่ต้องส่ง 5% ส่งเพียง 2.5 %
3. ลดบทบาทอำนาจรัฐที่ควบคุมกำกับ ส่งเสริมให้มีอิสระและปกครองตนเอง
4. ลดการครอบงำอำนาจทางการเมือง

5 เพิ่ม ได้แก่

1. เพิ่มเงินทดแทน กรณีการว่างงานรับประโยชน์จากเงินทดแทน 50 % จากฐานเงินเดือนถึง 6 เดือน
2. เพิ่มสิทธิรักษา รักษาได้ทุกโรงพยาบาล ไม่ต้องรอการรักษาที่ยาวนาน
3. เพิ่มรักษาพยาบาล กรณีการเจ็บป่วยและทุพพลภาพ
4. เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร อายุถึงเพียง 10 ปี ได้รับเงินสงเคราะห์ 3,000 บาท กรณีคลอดบุตร การดูแลรักษาบุตรได้รับ 20,000 บาท มากถึง 120 วัน
5. เพิ่มเบี้ยเงินชราภาพ เพื่อให้สังคมผู้สูงอายุอยู่ได้อย่างยาวนาน

ส่วน 6 เสริม ได้แก่
1. ยกระดับประกันสังคมสู่รัฐสวัสดิการ คนประกันสังคมควรมีสิทธิเท่ากับทุกๆ คน เพราะประเทศจะเจริญเติบโตอยู่ได้ต้องอาศัยพลังแรงงาน
2.สร้างโรงพยาบาลประกันสังคม ยกระดับการเข้าถึงประกันสังคมมากขึ้น
3.ผู้ประกันตนสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ตามความต้องการ ทั้งเรื่องรับบำนาญ กองทุนบำเหน็จ รวมทั้งกองทุนชราภาพ
4.มีสินเชื่อเพื่อพัฒนาชีวิต ส่งเสริม Soft Loan ให้กับขบวนการสหกรณ์ทั้งระบบเกษตรและออมทรัพย์
5.ส่งเสริมกองทุน เพื่อการศึกษาให้กับบุตรของตนเอง
6.ส่งเสริมให้มีธนาคารสำหรับผู้ประกันตน

“ซื่อตรง มั่นคง ปลอดภัย ยั่งยืน เพื่อหลักประกันที่มั่นคงในการสร้าง และดำรงชีวิตของคนแรงงานเลือก ทีมพลังแรงงานสหกรณ์” นายปัณฐวิชญ์กล่าว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-แรงงานเพื่อสังคม อาสา ‘ทวงเงินนายจ้าง’ เปลี่ยนกฎว่างงาน หยุดวงจรกลั่นแกล้ง ลั่น ต้องมีสิทธิเลือก

-ษัษฐรัมย์ ประกาศ ‘ปฏิรูปชีวิตคนทำงาน’ เปลี่ยนทุกบาทให้คุ้มศักดิ์ศรี เก็ตหัวอกคนธรรมดา

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image