กอ.รมน. ถอนฟ้อง 3 นักสิทธิมนุษยชน ผู้เผยแพร่รายงาน 54 กรณีซ้อมทรมาน จชต.

กอ.รมน. ถอนฟ้อง 3 เอ็นจีโอ รายงาน54 กรณีซ้อมทรมาน จชต. พร้อมจับมือตั้งกลไกร่วม สอบข้อเท็จจริง เป็นบทเรียนในอนาคต ด้าน เอ็นจีโอ ขอบคุณ “นายก-กอ.รมน.” พร้อมร่วมมือประสานงาน จนท.รัฐ เดินหน้า ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิพลเรือนในพื้นที่

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่โรงแรมสุโกศล พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ส่วนหน้า พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช รองแม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (รองผอ.รมน.ภาค 4 สน.) พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.)ในฐานะผู้แทนรัฐบาล ประชุมร่วมกับนายสมชาย หอมละออ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา หีมมินะ ซึ่งเป็นนักสิทธิมนุษยชน ผู้เผยแพร่รายงาน “สถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีฯ ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557 – 2558” และถูกฟ้องร้องดำเนินคดีโดยกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ร่วมกันแถลงข่าว เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ และไกล่เกลี่ยให้ยกฟ้องยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักสิทธิมนุษยชนฐานหมิ่นประมาท

พ.อ.ปราโมทย์ แถลงภายหลังการพูดคุยว่า กอ.รมน.ภาค 4 สน. พร้อมด้วยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้จัดประชุมหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ร่วมกัน สืบเนื่องจากกอ.รมน.ภาค 4 สน. โดยผอ.รมน.ภาค 4 สน.มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายเข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนสภ.เมืองปัตตานี เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานผู้ต้องหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้กอ.รมน.ภาค4 สน.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐไม่มีเจตนาเอาชนะในทางคดี หรือให้ 3 เอ็นจีโอที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้รับโทษทันแต่อย่างใด ที่ผ่านมาทางผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้มีการประสานงานกันมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือการวางวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างผู้แทนรัฐบาลและผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติที่เข้ามาร่วมสังเกตการณ์และเป็นพยานโดยบรรยากาศการประชุมในวันนี้เป็นไปด้วยดี สรุปในวันนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นร่วมกันว่าจากนี้ไปการแก้ไขปัญหาจชต. ทั้งหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต้องร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือสันติสุขต้องเกิดขึ้นภายในจังหวัดชายแดนภาคใต้

พ.อ.ปราโมทย์ กล่าวต่อว่า ในการหารือได้มีข้อบรรลุตกลงร่วมกันประการ 3 ประการคือ1.ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกันกรณีที่พบว่ามีรายงานหรือการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จชต. 2. จะต้องมีการจัดตั้งกลไกที่มีความเหมาะสมเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนรวมทั้งมาตรการแก้ไขแล้วเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปแล้ว เช่นสถานที่การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยจะมีการออกระเบียบในการซักถามพร้อมรวมทั้งซักซ้อมทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรสิทธิมนุษยชน 3.การจัดทำรายงานด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จชต.ต้องผ่านความเห็นชอบจากกลไกต่างๆที่ร่วมกันตั้งขึ้นมาเพื่อร่วมตรวจสอบ ให้การรายงานเหตุการณ์ต่างๆหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยความถูกต้องและไม่เกิดผลกระทบต่อใคร รวมทั้งเพื่อให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์การแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

Advertisement

“กอ.รมน.ภาค4 สน.ยินดีร่วมงานกับภาคเอกชนทุกองค์กร รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมทั้งภายในและต่างประเทศ พร้อมให้เข้าตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่สำหรับการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีนั้นเพียงต้องการให้มีการตรวจสอบการความจริงร่วมกันเพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไปนี้ด้วยเหตุนี้ทางกอ.รมน.ภาค 4 สน.และเจ้าหน้าที่รัฐทุกนายถูกพาดพิง และกล่าวถึงในรายงานฉบับดังกล่าวจึงไม่ขอไม่ขอติดใจเอาความน่าจะขอถอนแจ้งความดำเนินคดีกับ 3 เอ็นจีโอที่สภ.เมืองปัตตานีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป” พ.อ.ปราโมทย์ กล่าว

ขณะที่นายสมชาย กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นถือว่าทุกฝ่ายควรเรียนรู้ ทั้งฝ่ายเอ็นจีโอและรัฐบาลในการส่งเสริมการปกป้องสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมใน จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญ ของสันติสุข ที่ทุกฝ่ายต้องการเห็น ทั้งนี้รายงานข้อเท็จจริงดังกล่าว ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นข้อมูลที่ได้จากผู้ร้องเรียนที่ต้องได้รัยการาอบสวนต่อไป โดยในส่วนราชการต้องมีการตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย เราไม่ประสงค์ ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดนำข้อมูลเหล่านี้ไปอ้างอิงเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองทั้งสิ้น เพราะรายงานนี้ต้องผ่านการตรวจสอบก่อน

นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเดียวหรือหลายๆกรณี ที่ได้บันทึกจากเรื่องร้องเรียนในเบื้องต้น จะเสนอให้หน่วยราชการหรือส่วนที่เกี่ยวข้องได้ทำการตรวจสอบเสียก่อน โดยมีการประสานงานกัน ก่อนที่จะมีการเผย เเพร่ออกไปสู่สาธารณะ

Advertisement

“ขอขอบคุณแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้นำรัฐบาล ผู้นำกองทัพ หลังจากที่ได้มี การประสานชี้แจงทำความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวกับคดีและได้ถอนฟ้อง อย่างไรก็ตามรายงานทั้ง 54 กรณี ผมคิดว่าทางราชการจะไม่นิ่งดูดายและจะร่วมกันตรวจสอบเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ถ้ามีเจ้าหน้าที่ ทำผิดจริงก็จะต้องดำเนินการตามกฏหมาย และจะมีการแก้ไขเยียวยา ให้กับผู้ที่ถูกละเมิด ที่ ไม่เกิดจากข้อผิดพลาดของเจ้าหน้าที่อย่างเดียว แต่รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการก่อเหตุความรุนแรงด้วย โดยเราจะประงานกับเจ้าหน้าที่และองค์กรต่างๆในภาคประชาสังคมในการเป็นปากเป็นเสียง และดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา ต่อไปด้วย” นายสมชาย กล่าว

นายสมชาย กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่จะไม่มีการเปิดเผยรายงานแต่ใช้วิธีการประสานงานภายใน จะทำให้สาธารณะชนไม่ได้รับข้อมูลหรือไม่นั้น ตนคิดว่า เมื่อมีรายงานออกมาก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบและแก้ไขก่อน อีกทั้งในรายงานต้องสะท้อน ข้อเท็จจริงที่มีความต่างกัรอยู่ระหว่างกรรรมการสิทธิและหน่วยงานรัฐ เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้วิจารณญาณ รับรู้ข้อมูลเพราะในบางคดีไม่ใช่เรื่องขาว ดำ เท่านั้น อาจมีข้อมูลและรายละเอียด ที่ต่างกันไป ดังนั้นรายงานที่ดีก็จะพยายามทำให้มีข้อเท็จจริงรอบด้าน และวันนี้ไม่ใช่เป็นการต่อรองเรื่องการถอนฟ้องแต่เป็นการหารือเรื่องการประสานงานในอนาคต

เมื่อถามว่า เอ็นจีโอจะมีการผลักดันรายงานชุดนี้ในที่ประชุมสภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ที่จะประชุมที่เจนนิวาร์ ต่อไปหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า เราไม่ได้ส่งคนไปที่เจนนิวาร์ และอีกทั้งรานยงานก็ได้มีการเผยเเพร่ไปแล้ว จะดึงกลับก็คงไม่ได้ เราเพียงต้องการสะท้อนข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ ในโอกาสที่เราจะมีได้

พ.อ.ปราโมทย์ กล่าวว่า ต่อจากนี้เลขาธิการ กอ.รมน.ภาค 4 สน. จะเชิญส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมถึงมูลนิธิ มาทำการตรวจสอบในเบื้องต้น ที่เราจะตรวจสอบเฉพาะในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ และได้นำหลักฐานมายืนยัน ยังไม่พบว่ามีการละเมิด จากนี้ไป กลไกที่เราจะตั้งขึ้นมาก็ต้องทำการตรวจสอบร่วมกัน ส่วนเอกสารที่เผยเเพร่ไปก่อนหน้านี้ ไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ แต่ เราจะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เอกสารฉบับนั้นจะไม่สามรถให้ใครนำไปโฆษณาชวนเชื่อ แอบอ้างเพื่อประโยชน์และการใดๆก็ตาม

อีกทั้งหากในอนาคต เกิดกรณีที่ข้อมูลทั้งสองส่วนไม่ตรงกัน วันนี้ได้มีการพูดคุยกันเรื่องตั้งกลไกเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อมี รายงานการซ้อมหรือละเมิดสิทธิขึ้นมา จะเริ่มต้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงคู่ขนานพร้อมกันไปด้วย ถ้าพบว่ามีข้อมูลจริงตามที่กรรมการสิทธิรวบรวมมา ทางรัฐก็มีมาตราการลงโทษ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ละเมิดตามกฎกติกา

เมื่อถามว่าการถอนฟ้องครั้งนี้มีนัยยะสำคัญกับการที่สภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชนจะมีการพิจารณาสถานการณ์ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ในสัปดาห์หน้าหรือไม่
โดย พล.ท.ชินวัตร แม้นเดช รองผอ.รมน.ภาค 4 กล่าวว่า กระบวนการนี้เกิดขึ้นมานาน ในการทำงานร่วมกับเอ็นจีโอ ในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ตนขอยืนยันว่านโยบายการแก้ปัญหาของรัฐบาลยึกหลักสันติวิธี โดยเฉพาะการยืนยันของนายกรัฐมนตรีที่ใช้แนวทางนี้มาโดยตลอด รวมถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสันติวิธี ที่รัฐ ต้องรับผิดชอบและทำอย่างเต็มที่ ทางภาคประชาสังคมและเอ็นจีโอที่ลงไปทำงาน ถือเป็นกระจกเงา ในการสะท้อนการทำงานของรัฐอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้น จึงไม่อยากให้สื่อไปโยงกับนัยยะสำคัญอื่นๆ เพราะเป็นความต้องการของเรามาโดยตลอด ในการทำงานร่วมกับองค์กรสิทธิมนุษยชนทุกองค์กร เพื่อยุติปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเเนวทางสันติวิธี

“การจัดตั้งกลไกร่วมที่จะทำต่อจากนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกัน เป็นการมองไปข้างหน้าเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเรื่องสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ การเขียนรายงานซ้อมทรมาน เป็นสิทธิและหน้าที่ของเอ็นจีโอ กลไกตั้งกล่าวเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ใช่การปิดกั้นรายงาน เเต่เพียงให้รับรู้ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง และจะแก้ไขปัญหาลงโทษผู้กระทำผิดตามกระบวนการกฎหมาย รวมถึงเยียวยา ผู้ถูกละเมิดอย่างไร ” พล.ต. ชินวัตร กล่าว

พล.ต.ชินวัตร กล่าวต่อว่า ตนขอย้ำว่าทางกอ.รมน.ภาค4 สน.ได้มีการทำงานร่วมกันกับผู้ทำรายงานทั้ง 3 คน ซึ่งหละงจากการตรวจสอบพบว่าไม่มีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในรายงาน คงถือเป็นบทเรียนการทำงานรายงานของเราในอดีต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอยาคต เราจะต้องเดินไปด้วยกัน ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายเเดนใต้ ตนเชื่อว่าทุกภาคส่วนต้องการเห็นความสงบสุขและสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ การทำงานร่วมกันคือพลัง ในการสร้างสันติสุข และยุติปัญหาความรุนแรงลงได้

25

นายโคทม อารียา กล่าวว่า เป้าหมายของการพูดคุยวันนี้ คือทำอย่างไรให้เกิดความไว้วางใจและการทำงานร่วมกัน พร้อมกับรับทราบข้อห่วงใยของทุกฝ่ายร่งมกัน เช่น นำข้อมูลในรายงานอาจนำไปใช้ในการก่อความรุนแรง ต่อไปรายงานอาจมีข้อเท็จจริงที่ต่างกันอยู่ ผู้ร้องเรียนอาจร้องเรียนว่าถูกนำไปสอบสวนโดยไม่ให้ใส่เสื้อผ้า แต่ฝ่ายสอบสวนบอกว่าไม่มี ต่อไปก็อาจมีกลไก สอบสวนแบบใหม่ เช่นไม่ให้สอบสวน 1 ต่อ 1 แต่ให้มีกล้องวงจรปิด จะเป็นการกำหนดเรื่องกลไกในการตรวจสอบต่อไป และเมื่อมีเรื่องร้องเรียนจะนำไปสู่จุดใดที่จะนำไปสู่การประสานงานที่มีคุณภาพ

นางสาวอัญชนา กล่าวว่า ขอขอบคุณ ในการ ถอดเเจ้งความ และในจุดยืนของผู้ทำรายงานและองค์กร ก็ยังยืนยันที่จะทำงานในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ต่อไป สิ่งที่จะเพิ่มเติมคือการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ ในการป้องกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิ โดยจะต้องหาเเนวทางต่อไปในอนาคตร่วมกัน ในลักษณะ แนวทางปฏิบัติอย่างแท้จริงและที่สำคัญต้องปกป้องเหยื่อที่เป็นพลเรือนทุกคนด้วย

นางสาวพรเพ็ญ กล่าวว่า ถือเป็นบทเรียนสำคัญ ในการทำงานตามบทบาทของนักสิทธิมนุษยชนซึ่งบทบาทการทำงานไม่ได้มีเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทางการทำงานร่วมกันนี้ถือเป็นประโยชน์ สำหรับประชาชนทั้งนี้การทำรายงานด้านสิทธิมนุษยชนถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องมีความรอบคอบมากขึ้นประสานและรับฟังคงจะไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและอาจจะเป็นตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ ในการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ในสังคมไทยด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image