ผลสำรวจมติชน “ไม่ปลื้ม” นักการเมือง “กลับคำพูด”

ในการทำงานทางการเมืองแล้ว เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้คนส่วนใหญ่ นักการเมืองมีความจำเป็นต้องกลับคำพูดที่เคยพูดไว้แต่เดิมหรือไม่
มติชน ออนไลน์ มติชน ได้เชิญชวนผู้อ่านร่วมแสดงความคิดเห็นประเด็นนี้

ปรากฏว่ามีผู้อ่านเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นมากพอสมควร ส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีใครเห็นด้วยกับการพูดแล้วกลับคำ ของนักการเมือง โดยในทวิชเตอร์นั้น พบว่า 25% เห็นว่า มีความจำเป็น และ 75% เห็นว่าไม่มีความจำเป็น

สำหรับความคิดเห็นที่ผ่านทางเฟชบุ๊คนั้น ค่อนข้างจะมีความหลากหลาย โดยความเห็นหนึ่งตั้งคำถามกลับว่า หากคนดีจะตระบัดสัตย์หรือ และยังมีคนบอกอีกว่า เรื่องการกลับคำพูดของนักการเมืองนั้น ไม่น่าแปลกใจเลยสักนิด เพราะรู้ดีว่าไม่ทำไม่ได้อย่างที่พูดอยู่แล้ว หรือมีคนบอกว่า นักการเมืองที่ดีจะไม่กลับคำ เพราะเมื่อโกหก ก็ไม่น่าไว้วางใจในการจับต้องเงินภาษีของประชาชน บางคนมีข้อเสนอ ว่า หากนักการเมืองคนนั้นกลับคำได้แต่เราก็จะไม่เลือกเขาเป็นการแลกเปลี่ยน เพราะคำพูดของเขาเชื่อถือไม่ได้แล้วนโยบายของเขาจะไปเชื่อถือได้อย่างไร

ความเห็นหนึ่ง เปรียบเทียบกับนักการเมืองของประเทศมาเลเซีย อย่างน่าสนใจว่า ดูตัวอย่างมหาเธย์มาเลเชีย ที่เกลียดการโกงเข้ากระดูกดำ นั่งนายกหลายสมัย อุตส่าห์วางมือทางการเมืองให้นาจิบลูกศิษย์ก้นครัวสืบอำนาจนั่งนายกแทนหลายสมัยเช่นกัน แต่นาจิบ กลับเหลิงอำนาจโกงเงินกองทุน จนชาวมาเลเชียออกมาขับไล่ ขณะเดียวกันมหาเธย์ออกมาตำหนิพฤติกรรมการโกงของนาจิบที่ผิดสัญญาว่าจะไม่โกง แต่นาจิบไม่ฟังแถมไล่ลูกชายมหาเธย์ออกจากพรรค..

Advertisement

“มหาเธย์โกรธจัด เลยหันไปจับมือกับฮับราฮิม ราชัค อดีตฝ่ายค้านคู่แค้นของมหาเธย์ สมัยมหาเธย์ดำรงตำแหน่งหลายสมัยและมหาเธย์เคยประกาศว่าชาตินี้ไม่มีทางจะไปจับมือทางการเมืองกับราชัคคู่แค้นฝ่ายค้านเด็ดขาด แต่สุดท้ายมหาเธย์ตะบัดสัตย์หันไปจับมือราชัคอดีตฝ่ายค้านคู่แค้นที่มหาเธย์จับติดคุกข้อหาร่วมเพศกับชายเพศเดียวกัน จนคว่ำนาจิบลูกศิษย์ก้นครัวได้ จึงเกิดปรากฎการณ์ ครูล้างลูกศิษย์ และไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวรทางการเมือง
ถามว่ามหาเธย์กลับคำไหม ถ้ากลับคำเพื่อชาติก็โอเคนะ”

บางความเห็นระบุว่า ไม่ว่านักการเมืองหรือสังคมทั่วไป หากไม่มีสัจจะ ก็จะขาดความน่าเชื่อถือ ในทางศาสนาคือผิดศีล ในทางโลกเราถูกอบรมสั่งสอนตั้งแต่เด็ก อย่าเป็นเด็กเลี้ยงแกะ ในวิชาลูกเสือจัดว่าเป็นข้อปฏิบัติหลักเลยที่เดียว เสียชีพอย่าเสียสัตย์ หรือบางคนบอกว่า การกลับคำพูดในเรื่องใหญ่ๆไม่ควรเกิดขึ้นเลย ยิ่งเป็นบุคคลสาธารณะไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองระบอบเผด็จการทหารหรือนักการเมืองระบอบประชาธิปไตย

สำหรับกลุ่มที่เห็นว่า นักการเมืองสามารถกลับคำพูดได้ มีเหตุผลว่า เพราะว่านักการเมีองไม่เคยคิดว่าทำเพื่อประเทศชาติ แต่ชอบอ้างส่วนรวมและประเทศชาติเพื่อให้ตัวเองดูดีในสายตาคนอื่น จุดสุดท้ายพวกนี้เป็นได้แค่เห็บเหา ไม่มีกระพี้แก่นสารให้ผู้ใดกล่าวถึงเมื่อจากโลกไป เมื่อเทียบกับรัฐบุรุษ เช่น ลินน์คอนส์ เคเนดี้ คานธี บ้างก็ว่า การเมืองเป็นเรื่องสกปรก อย่าลืมว่าในคำจำกัดความทางวิชาการหรือภาคทฤษฏีนั้น การเมืองคือการแก่งแย่งช่วงชิงผลประโยชน์ระหว่างกัน ดังนั้นเพื่อผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย จึงทำให้พวกเขาจะกระทำสิ่งใดก็ได้ ที่เห็นว่าจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ให้แก่พวกเขา โดยไม่ต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณ ศีลธรรม ความชอบธรรมทั้งหลาย

Advertisement

หรือบางคนระบุว่า ทำได้ เพราะ แค่แค่คำอ้างว่าจะเลิกจะไม่ยุ่งการเมือง อ้างทำเพื่อประชาชน สุดท้ายคือจะไปสร้างสิ่งที่ตัวเองทำเอาไว้ก่อนหน้าในสมัยก่อนให้เสร็จ และบอกว่า เรื่องนี้ เป็นธรรมชาติของนักการเมือง โดยเฉพาะคนคนนั้นเลย น่าสงสารสำหรับผู้ที่ไปเชื่อคำของบุคคล คนนั้น ทั้งนี้พูดโกหกเป็นคุณสมบัติข้อแรกของนักการเมืองอยู่แล้ว ไม่ว่านักการเมืองนั้นจะมาจากการเลือกตั้ง หรือว่ายึดอำนาจมา ไม่ต่างกัน คนไทยถือว่าการไม่รักษาคำพูดเป็นบุคคลไม่มีเกียรติ ไม่น่าเชื่อถือครับ โดยเฉพาะอดีตเคยทำอะไรไว้ยิ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม โกงกันยังทำได้ และกลับคำพูดมีหรือจะทำไม่ได้ ความซื่อสัตย์ในคำพูดของตัวเองยังไม่มี แล้วจะให้นับถือกันได้อย่างไร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image