โอฬาร เลคเชอร์ จากพฤษภา 35 ถึง รธน.60 วนลูปวงจรเดิม ชี้สมัคร ส.ว.ต้องควัก 2,500 สร้างข้อจำกัด กีดกันปชช.

โอฬาร ลั่น  32 ปี พฤษภา 35 ยังกลับมาวงจรอุบาทว์ คาใจสมัคร ส.ว.ต้องจ่าย 2,500 ออกแบบซับซ้อน สร้างข้อจำกัด สกัดประชาชนมีส่วนร่วม

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม 211 (ห้องศาลจำลอง) คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีการจัดงานเสวนารำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535 ในหัวข้อ ‘การเลือก ส.ว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย’

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปริญญา สงสัย ‘ต้องเชื่อมจิตได้’ ซัดระเบียบชิง ส.ว. แนะนำตัวแค่ 2 หน้า ความโปร่งใสก็ยังไม่เคลียร์

ADVERTISMENT

‘พิชาย’ ชวนจับตา 2 ก.ค. ได้ ส.ว.ชุดใหม่ครบ 200 ตาม กกต. หวังหรือไม่? คาใจไม่ยึดโยงปชช

วันวิชิต เปิดนิยามใหม่ ‘ส.ว.’ ภาวะเชื่อมจิตครั้งสุดท้ายรัฐประหาร 57 แนะอย่าตั้งกฎเหมือนรับสมัครงาน ไม่ตอบโจทย์ประเทศ

ADVERTISMENT

ในตอนหนึ่ง รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ในวาระครบ 32 ปี พฤษภาคมประชาธรรม ตนคิดว่าดวงวิญญาณของวีรชนเหล่านั้น ถ้ามองเห็นคงภูมิใจไม่น้อย เพราะการต่อสู้ เมื่อ 32 ปีที่แล้ว สุดท้ายก็กลับมาอยู่ที่จุดเดิม คือการอยู่ในวงจรอุบาทว์

“สถานการณ์ปัจจุบันก็เป็นสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือ คนรุ่นพฤษภาทมิฬพยายามที่คิดจะหาทางออกร่วมกันในวงจรนี้ คล้ายกับตอนนี้ตั้งรัฐบาล 8 เดือน เรายังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม ตรงความขัดแย้ง เราเห็นสัญญาณบางอย่างของการรัฐประหาร เราเริ่มเห็นศักยภาพที่ไม่แน่นอน และมีวงจรเดียวกัน คือ การร่างรัฐธรรมนูญ” รศ.ดร.โอฬารกล่าว

รศ.ดร.โอฬาร กล่าวต่อไปว่า ย้อนกลับไปที่หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งคิดว่าหลายท่านคงอยู่ในเหตุการณ์นี้ และส่วนใหญ่ได้รับบทเรียนของพฤษภาทมิฬ

  1. ความไร้เสถียรภาพทางการการเมืองของรัฐบาล โดยมีการปฏิวัติ รัฐประหาร และการยุบสภา

2.ปัญหาเรื่องการธรรมาภิบาลของรัฐบาล โดยมีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวาง

3.ปัญหาขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

ปัญหานี้ ทำให้ทุกคนในสังคมในขณะนั้น นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางกิจกรรมเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องเสถียรภาพรัฐบาล เรื่องธรรมาภิบาลของรัฐบาล เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งมีคุณูปการเยอะ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

รศ.ดร.โอฬาร กล่าวต่อว่า ถึงแม้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญของคนชั้นกลาง แต่ทำให้เห็นกระบวนการการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ในรอบ 100 ปี ตั้งแต่ปี 2440 -2540 มีการก้าวกระโดดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งถูกชะงักตอนรัฐประหารปี 2557

ในปี 2540 การเลือกตั้ง ส.ว. ทุกคนอยากให้ ส.ว. มีความยึดโยงกับประชาชน ต้องการให้ ส.ว.เป็นสถาบันทางการเมืองแห่งหนึ่งที่จะช่วยกันติดตาม ตรวจสอบ เพื่อแก้ปัญหาธรรมาภิบาลในการใช้อำนาจของรัฐบาลและการเลือกองค์กรอิสระ เพราะฉะนั้นองค์กรอิสระถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยให้กระบวนการทางการเมือง มีธรรมาภิบาลมากขึ้นในการตรวจสอบในหลายๆ ด้าน แต่ผลรูปธรรมที่เราเห็นในรัฐธรรมนูญปี 2540 คือเกิดการเลือกตั้ง ส.ว. ที่ใช้ฐาน ส.ส. ประจำจังหวัด ในการเลือกตั้งของตระกูลการเมือง ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สภาผัวเมีย นำไปสู่ปัญหาเรื่องการแต่งตั้งองค์กรอิสระที่ถูกตั้งคำถามว่าเพื่อตอบรัฐบาลในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เลยมีข้อจำกัดขึ้นมา” รศ.ดร.โอฬารกล่าว

รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว

รศ.ดร.โอฬาร กล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2540 – ปัจจุบัน มี ส.ว.ที่แตกต่างกันก็จริง แต่สังคมไทยอาจตั้งคำถามไปด้วยว่า เรามี ส.ว. ไว้ทำไม บางครั้งเราพบว่าในแต่ละเรื่องบทบาทหน้าที่ของ ส.ว. ถูกใช้ในทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน ทำให้อาจจะไม่ตรงไปตรงมา

สำหรับวิธีการได้มาของ ส.ว. ชุดนี้ ออกแบบในการไปสร้างข้อจำกัดและสร้างความซับซ้อนให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนจำนวนมากรู้สึกยากต่อการเข้าถึง ซึ่งการออกแบบให้ซับซ้อน เป็นการกีดกันการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยปริยาย ส่วนหลักการในเรื่องโอกาสและความเสมอภาคนั้น การได้มาของ ส.ว. มีปัญหา ผู้สมัครที่มีสิทธิ์ในการเลือกต้องจ่ายมาก่อน 2,500 บาท

อาจจะไม่เยอะสำหรับคนมีเงินเดือน แต่สำหรับชาวบ้าน หรือชาวนา ที่อยากมีส่วนร่วม  2,500 บาท อาจจะเป็นเงินทั้งเดือนของเขาก็ได้ ผมคิดว่า เป็นการสร้างข้อจำกัดและโอกาสของประชาชนที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งอำนาจ

หลักการต่อมา เรื่องศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ การได้มาของ ส.ว. มีปัญหาต่อหลักการประชาธิปไตย ถึงแม้จะพยายามใช้ฐานสาขาอาชีพ ซึ่งถ้าใช้ฐานสาขาอาชีพ ต้องสร้างการเลือกตั้งตามฐานสัดส่วนที่แท้จริง ให้ทุกคนได้เลือก เพื่อสร้างตัวแทนที่ยึดโยงกับฐานสาขาอาชีพ

ในขณะที่ การสร้างข้อจำกัดในความเสมอภาคเช่นนี้ ทำให้เกิดโอกาสที่จะสร้าง ส.ว. จัดตั้งได้ง่าย และทำให้คนที่มีโอกาส มี 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนที่มีเงิน 2. กลุ่มคนที่มีชื่อเสียง 3.กลุ่มคนที่มีโอกาส

ถ้ามองจากเงื่อนไขทางการเมือง ถ้าหลุดจากส.ว. ชุดนี้ไป จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างใหญ่ๆ โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เพราะฉะนั้นประชาชนมีอย่างเดียวก็คือรณรงค์ให้ไปสมัครกันเยอะๆ ให้ได้มากที่สุด ต้องมีความตื่นตัว เพราะมีโอกาสเดียวที่จะเข้าไป ภายใต้กติกาที่มีปัญหาตั้งแต่ต้นได้ ทั้งหมดทั้งมวลคือกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองร่วมกันของสังคม” รศ.ดร.โอฬารกล่าวทิ้งท้าย

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image