รัฐราชการรวมศูนย์ ผูกขาดข้อมูลความรู้ ประวัติศาสตร์โบราณคดี

รัฐราชการรวมศูนย์ ผูกขาดข้อมูลความรู้ ประวัติศาสตร์โบราณคดี

รัฐราชการรวมศูนย์ ผูกขาดข้อมูลความรู้ ประวัติศาสตร์โบราณคดี

รายงานโดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ

เสรีภาพไม่มี ครีเอทีฟไม่มา”

ซอฟต์ เพาเวอร์ มีพลังสร้างสรรค์เศรษฐกิจในสังคมประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพทางการแสวงหาข้อมูลความรู้และแสดงความเห็น

แต่กลับกัน ถ้าข้อมูลความรู้ถูกปิดกั้นจากอำนาจนิยม ซอฟต์ เพาเวอร์ ก็อ่อนพลังสร้างสรรค์จนถึงเหี่ยวแห้งร่วงโรยเป็นสมบัติราชการที่รอโละทิ้ง

Advertisement

ไทยเป็น “รัฐราชการรวมศูนย์” โดยราชการใช้อำนาจผูกขาดการบริหารจัดการทางการเมืองการปกครอง และรวมถึงผูกขาดข้อมูลความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดี

ส่งผลให้การศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีถูกครอบงำด้วยข้อมูลความรู้ชุดทางการ ได้แก่ ประวัติศาสตร์สงคราม (หรือประวัติศาสตร์บาดหมางสร้างบาดแผลกับเพื่อนบ้าน) หรือไม่ก็ประวัติศาสตร์ศิลปะ (ของชนชั้นนำ)

ล่าสุดกรณีเมืองศรีเทพ (. ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์) ถูก “รัฐราชการรวมศูนย์” ผูกขาดข้อมูลความรู้ด้วยการกีดกันท้องถิ่นเข้าศึกษาค้นคว้าด้วยเทคโนโลยีก้าวหน้า

Advertisement

เมืองศรีเทพ อยู่ลุ่มน้ำป่าสัก มีพัฒนาการดังนี้ [1.] ชุมชนดั้งเดิมมีไม่น้อยกว่า 2,500 ปีมาแล้ว หรือราว พ.. 1 [2.] เติบโตเป็นบ้านเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 1,500 ปีมาแล้ว หรือราวหลัง พ.. 1000 ซึ่งมีข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

(1.) นับถือศาสนาทวารวดี “ผีพราหมณ์พุทธ” (2.) พบเทวรูปพระกฤษณะสลักหินลอยตัว 3 องค์ (3.) มั่งคั่งจากการค้าทองแดงบริเวณลุ่มน้ำโขงและอีสาน ผ่านเส้นทางแม่น้ำป่าสัก ต้นน้ำอยู่ จ. เลย (4.) นักวิชาการทั้งไทยและเทศจำนวนหนึ่งเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางรัฐทวารวดี (5.) เครือข่ายเครือญาติเมืองเสมา อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา ฯลฯ

เมืองศรีเทพ (บน) ปรางค์ศรีเทพ (ล่าง) เขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อ. ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์ (ภาพจากโดรนมติชนทีวี เมื่อเมษายน 2562)

ปรางค์ศรีเทพ เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จ พ.. 2447 [จากหนังสือ ศรีเทพ กรมศิลปากรพิมพ์ พ.. 2561 หน้า 8]

พระกฤษณะ (อวตารของพระวิษณุ) ฝีมือช่าง เรือน พ.. 1100 (แบบทวารวดี) เจ้าของเมืองทวารวดี พบในเมืองศรีเทพ


(ซ้าย) เศียรพระวิษณุ ราวหลัง พ.. 1000 (สมัยการค้าโลก) อาจารย์และนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พบจากเมืองศรีเทพ เมื่อ พ.. 2510 (ขวา) เศียรพระวิษณุที่พบเมื่อ พ.. 2510 ต่อเข้ากันได้สนิทกับองค์พระวิษณุซึ่งพบก่อนนานแล้ว (โดยจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อ พ.. 2481) เก็บในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.. 2510 นั่งพักข้างทางกับกลุ่มนักศึกษา เพราะต้องเดินลุยทุ่งนาและเดินข้ามแม่น้ำป่าสัก (แห้งหมดไม่มีน้ำ) ทั้งขาไปและขากลับจากถนนใหญ่สายเพชรบูรณ์เข้าเมืองศรีเทพ (ครั้งนั้นยังไม่มีถนนแยกเข้า)


สำรวจไลดาร์ “ศรีเทพ” สะดุด

กรมศิลป์เบรกสแกนพื้นที่อุทยานฯ ศรีเทพ

[ข่าวจากไทยพีบีเอส 28 มกราคม 2565]

กรมศิลปากรไม่อนุมัติให้บินโดรนไลดาร์ระบบเลเซอร์แสงเหนือพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ แม้ท้องถิ่นยืนยันว่าสํารวจเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม

จากกรณีที่สภาวัฒนธรรมอําเภอศรีเทพและสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ร่วมกันใช้โดรนไลดาร์ (LiDAR) ระบบเลเซอร์แสง บินสํารวจอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพและบริเวณโดยรอบ เพื่อสํารวจแหล่งโบราณสถาน และการตั้งชุมชนโบราณอย่างละเอียด ขนาดพื้นที่การสํารวจประมาณ 50 ตารางกิโลเมตรด้วยงบประมาณไม่ถึง 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา และมีกําหนดสิ้นสุดการบินสํารวจในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 นั้น

ล่าสุดพบว่า ทางทีมสํารวจไม่ได้รับอนุญาตให้บินสํารวจในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพตามที่วางแผนไว้แผนการบินสํารวจพื้นที่เมืองโบราณศรีเทพในเขตอุทยานประวัตศาสตร์ศรีเทพและบริเวณรอบๆ โดยสภาวัฒนธรรมอําเภอศรีเทพ และสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ขนาดพื้นที่รวมกันประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอสว่ากรมศิลปากรมีแผนขอสํารวจไลดาร์ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่แล้ว โดยอยู่ระหว่างการของบประมาณปีงบประมาณ 2566 วงเงินประมาณ 5 ล้านบาท มาดําเนินการ ทั้งนี้วงเงิน 5 ล้านบาทนั้นอาจฟังดูมาก แต่เป็นงบประมาณที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายการบินสํารวจในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ การแปลผลข้อมูล และทําเป็นแผนภาพตต่างๆ หรือมีแผนดําเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันด้วย

หากงบประมาณได้รับการจัดสรรตามแผนที่วางไว้ กรมศิลปากรสามารถดําเนินการสํารวจไลดาร์ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2565 ซึ่งไม่ได้ล่าช้าแต่อย่างใด”

อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวต่อไปอีกว่าที่ผ่านมากรมศิลปากรยินดีทํางานกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวิจัยร่วมกับสถานศึกษาต่างๆ หรือหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ใกล้เคียงกัน กรมศิลปากรมองว่าหน่วยงานราชการซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ควรเป็นเจ้าของข้อมูลตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เปิดให้เอกชนหรือหน่วยงานอื่นเข้ามาสํารวจแล้วค่อยมาดูว่าข้อมูลใดเปิดเผยสาธารณชนได้หรือไม่ได้ เพราะทีมสํารวจย่อมเข้าถึงข้อมูลการสํารวจตั้งแต่ต้น

การที่หน่วยงานอื่นๆ จะเข้ามาขอบินผ่าน หรือขอมาสํารวจโบราณสถานที่ยังสํารวจไม่พบเพราะอยู่ใต้ดิน ผมคิดว่าไม่ใช่ภารกิจหน้าที่โดยตรง ยกเว้นแต่ว่าเป็นการวิจัยร่วมกัน แต่ว่าในส่วนนี้เรายังไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้น จู่ๆ จะมีข้อมูลที่เราเองก็ไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ถูกเอาออกไปภายนอกก็อาจจะยังไม่ค่อยเหมาะสม อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าเราไม่อนุญาต เพราะว่าต่อไป ในเมื่อเราได้งบประมาณมาแล้วอาจจะมาทํางานร่วมกันก็ได้” อธิบดีกรมศิลปากรกล่าว

ความคืบหน้าล่าสุดของการบินโดรนไลดาร์ฯ สํารวจเมืองโบราณศรีเทพในครั้งนี้ของสภาวัฒนธรรมอําเภอศรีเทพและสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ คืบหน้าไปมากกว่าร้อยละ 50 และเตรียมสแกนพื้นที่ในทิศใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยทางชุดสํารวจได้ระงับแผนบินเหนืออุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ตามคําสั่งของอธิบดีกรมศิลปากร


ครวัด, นครธม ถูกสแกน

ด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ นานมาแล้ว

เทคโนโลยีไลดาร์ (LiDAR, Light Detection and ranging data) โดยสรุปก็คือการวัดระยะเวลาจากการฉายแสงเลเซอร์ด้วยความเร็ว 1 ล้านลำแสงต่อ 4 วินาที ลงไปที่ผิวดินก่อนที่จะส่งผลกลับมาที่ตัวเซ็นเซอร์ แล้วประมวลให้เห็นเป็นภาพว่าภายใต้ผิวดินมีวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างอะไรอยู่บ้าง?

ด้วยประสิทธิภาพดังกล่าว เทคโนโลยีจึงถูกนำมาใช้งานโบราณคดี เพื่อประเมินขนาด และความหนาแน่นของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในแหล่งโบราณคดีต่างๆ ก่อนการขุดค้น หรือสร้างภาพจำลองของแหล่งโบราณคดีในอดีตขึ้นมาอย่างคร่าวๆ

ไลดาร์โด่งดังขึ้นมาเมื่อถูกทีมนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (The University of Sydney) ใช้ดำเนินงานทางโบราณคดีที่ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะที่เขาพนมกุเลน (นครวัด) และเมืองพระนครหลวง (นครธม) ซึ่งได้ดำเนินดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.. 2556 เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้เห็นถึงสิ่งปลูกสร้างที่แสดงให้เห็นถึงขนาดของชุมชน และโครงสร้างต่างๆ ของเมืองนอกเหนือจากบรรดาปราสาทหินต่างๆ เป็นจำนวนมากมายแล้ว ก็ยังช่วยให้นักโบราณคดีสามารถประเมินจำนวนประชากรที่อยู่ในเมืองพระนครหลวง (ปัจจุบันอยู่ใน จ. เสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา) เมื่อช่วงราว พ.. 1800 ว่ามีมากถึง 700,000-900,000 คนอีกด้วย


ไลดาร์ (LiDAR) คืออะไร?

ทําไมกรมศิลป์จึงต้องหวงพื้นที่ไว้ ไม่ให้ใครมาทําที่ศรีเทพ

[เพจคิดอย่าง โพสต์วันที่ 29 มกราคม 2565]

สืบเนื่องจากกรณีที่สภาวัฒนธรรมอําเภอศรีเทพ และสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ทําการขออนุญาตกรมศิลปากรใช้โดรนไลดาร์ บินสํารวจพื้นที่อําาเภอศรีเทพ เพื่อหวังจะพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น ศึกษาภูมิประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐาน โดยครอบคลุมพื้นที่การศึกษา 50 ตารางกิโลเมตร ใช้งบประมาณ 2 แสนบาท

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ได้ระงับการดําเนินการนี้ แม้ว่าทางจังหวัดเพชรบูรณ์ยืนยันว่าจะส่งมอบข้อมูลทั้งหมดที่มีให้กรมศิลปากรได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งข้อมูลการวิเคราะห์แปลผลเรียบร้อยแล้ว และยินดีสงวนข้อมูลที่กรมศิลปากรเห็นว่าอ่อนไหวเอาไว้ โดยจะเผยแพร่ในสาธารณะ

แต่นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ระบุว่าทางกรมศิลปากรมีโครงการจะใช้ไลดาร์ศึกษาพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่แล้วในปีงบประมาณ 2566 ด้วยงบประมาณ 5 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ขนาด 50 ตารางกิโลเมตร แต่ก็ไม่ได้แพงกว่า เพราะจะรวมค่าแปลผลข้อมูลเอาไว้เสร็จสรรพในตัว พร้อมทั้งให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า

กรมศิลปากรมองว่า #หน่วยงานราชการซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ควรเป็นเจ้าของข้อมูลตั้งแต่ต้น #ไม่ใช่เปิดให้เอกชนหรือหน่วยงานอื่นเข้ามาสํารวจ แล้วค่อยมาดูว่าข้อมูลใดเปิดเผยต่อสาธารณชนได้หรือไม่ได้ เพราะทีมสํารวจย่อมเข้าถึงข้อมูลการสํารวจตั้งแต่ต้น การที่หน่วยงานอื่นๆ จะเข้ามาขอบินผ่าน หรือขอมาสํารวจโบราณสถานที่ยังสํารวจไม่พบเพราะอยู่ใต้ดิน #ผมคิดว่าไม่ใช่ภารกิจหน้าที่โดยตรง ยกเว้นแต่ว่าเป็นการวิจัยร่วมกัน แต่ว่าในส่วนนี้เรายังไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้น จู่ๆ จะมีข้อมูลที่เราเองก็ไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ถูกเอาออกไปภายนอก ก็อาจจะยังไม่ค่อยเหมาะสม อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าเราไม่อนุญาต เพราะว่าต่อไป ในเมื่อเราได้งบประมาณมาแล้ว อาจจะมาทําางานร่วมกันก็ได้”

ความร้อนรนกระทั่งกล้าออกมาพูดต่อสื่อสาธารณะสั่งสอนผู้อื่นว่าอะไรใช่หน้าที่ไม่ใช่หน้าที่ และสื่อสะท้อนระบบความคิดผูกขาดความรู้เอาไว้ที่หน่วยงานตนเองนี้ ทั้งที่หน่วยงานกรมศิลปากรก็บกพร่องต่อหน้าที่ในการดูแลโบราณสถาน และทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่กฎหมายมอบหมายให้ดูแลมากมาย ทําไมไลดาร์จึงสําคัญ และอธิบดีถึงกับต้องออกมาเบรกและพูดอะไรแบบนี้ออกสื่อสาธารณะโดยไม่สงวนท่าที

ไลดาร์ คือเทคโนโลยีคล้ายกับ 3D สแกนเนอร์ ที่ยิงแสงไปตกกระทบวัตถุแล้วคํานวณเวลาที่แสงจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับ ทําให้ได้ตําแหน่งของวัตถุนั้นๆ เครื่อง 3D สแกนเนอร์ จะยิงแสงจํานวนมากออกไปกระทบผิววัตถุแล้วประมวลออกมาเป็นภาพสามมิติของวัตถุนั้นๆ เทคโนโลยีนี้เริ่มใช้กันทั่วไปในวงการอสังหาริมทรัพย์ สถาปัตยกรรม และการอนุรักษ์แล้ว

เครื่อง 3D สแกนเนอร์นี้ ได้ถูกพัฒนาให้ใช้สําหรับนําไปติดตั้งอยู่บนอากาศยาน เพื่อสแกนภูมิประเทศจากเบื้องบน ด้วยเหตุที่แสงที่ยิงออกมาจากเครื่อง 3D สแกนเนอร์ เป็นลําแสงเล็กๆ มันจึงสามารถส่องทะลุต้นไม้ใบไม้ลงไปถึงพื้นที่มีต้นไม้ปกคลุม สร้างเป็นพื้นผิวของแผ่นดิน ซึ่งอาจเผยให้เห็นโครงสร้างของอาคาร โบราณสถานที่ซ่อนอยู่ รวมไปถึงโครงข่ายของเมือง เช่น คูน้ำ คันดิน เนินดิน ที่อาจสังเกตด้วยการสํารวจจากพื้นรอบได้ไม่ชัดเจน

เทคโนโลยีนี้ถูกใช้ในหลายประเทศเช่นที่กัมพูชา ทําให้พบโครงสร้างของพระนครศรีมเหนทรบรรพตของศรีชยวรรมเทวะที่ 2 บนพนมกุเลนที่ถูกต้นไม้ปกคลุม เห็นโครงสร้างของเมืองละแวกของเขมรสมัยกลาง เป็นต้น

ไลดาร์เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาและใช้งานแพร่หลายในแวดวงการสํารวจมาจนจะเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 แล้ว ในหลายๆ ประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เริ่มเปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีในหลายๆ พื้นที่ สําหรับอังกฤษมีผู้ให้บริการหลายแห่งจัดทําไลดาร์ในรูปแบบซ้อนทับกับกูเกิลแมพ ใช้งานได้สะดวก ใครๆ ก็เข้าถึงได้

กรมแผนที่ทหารเริ่มจ้างเหมาบริษัททําการเก็บข้อมูลไลดาร์ในพื้นที่ภาคกลาง สําหรับให้บริการประชาชนในอนาคตอันใกล้โดยคิดค่าบริการเป็นตารางเมตร

ทุกประเทศในโลกที่มีกําลังทรัพย์พอก็ต่างลงทุนในไลดาร์เพื่อสร้างแผนที่พื้นผิวของประเทศ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการทําผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ การพัฒนามหาศาล และแน่นอนมันช่วยพัฒนาองค์ความรู้ทางโบราณคดี ไม่ว่าจะเป็นการตั้งถิ่นฐาน สัณฐานของเมืองโบราณต่างๆ

การที่กรมศิลปากรจะกังวลว่าไลดาร์จะทําให้เจอร่องรอยโบราณสถานจนคนเข้ามาบุกรุกทําลายก่อนกรมศิลปากรนั้น เป็นคําแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น เพราะทางเพชรบูรณ์ก็ยินดีประสานข้อมูลกับกรมศิลป์โดยตลอด อีกทั้งการขุดหาของโบราณเกิดขึ้นทุกวันโดยไม่ต้องมีไลดาร์ โดยที่กรมศิลปากรก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรอย่างจริงจัง เอาแค่การดูแลโบราณสถานสําคัญของชาติไม่ให้ทรุดโทรมก็ยังทําไม่ได้ การประสานงานกับพระกับวัดไม่ให้กระทบกระทั่งกันก็ยังสร้างความเข้าใจอันดีกับวัดไม่ได้มากนัก การใช้อํานาจเกินควรของกรมศิลปากรนําไปสู่การฟ้องร้องของวัดสําคัญบางวัดว่ากรมศิลป์ตีความกฎหมายโบราณสถานครอบคลุมทั้งวัดทําให้วัดเดือดร้อนจนคดีต้องไปตัดสินกันที่ศาลและกรมศิลป์เป็นฝ่ายแพ้ เรื่องเพิ่งเกิดขึ้นต้นเดือนนี้เอง

การที่อธิบดีไม่อนุญาตให้บินไลดาร์ที่เพชรบูรณ์จึงไม่ได้เกิดจากความห่วงใยในโบราณสถานอะไรอย่างที่ยกขึ้นคําแรก แต่คือคําที่สองที่บอกว่ากรมตั้งงบไว้แล้ว 5 ล้านบาทแพงกว่าเขา และคําที่สามคือ กรมอยากทําเอง ค้นพบเอง อย่างที่นักโบราณคดีเขมร ฝรั่งเศสค้นพบความยิ่งใหญ่ของเขมรโบราณที่ซ่อนอยู่ในป่า ถ้าอนุญาตไป คนค้นพบก็จะไม่ใช่กรมศิลป์เสียหน้า เอาหน้าเอาภาพลักษณ์ไม่ได้

เช่นนี้ใช่ไหมจึงต้องหวงเอาไว้ อย่าให้ใครมาแย่งชิ้นเนื้อที่ตัวเองก็เหลือกําลังดูแล ซ้ำค่าใช้จ่ายยังแพงกว่าเขาหลายเท่าตัว

กรมศิลปากรไม่ได้กําลังปกป้องมรดกของชาติ แต่กําลังมองว่ามรดกของชาติเป็นของตัวเอง เพื่อหน้าตาตัวเอง ใครมายุ่งก็จะบอกเขาว่าไม่ใช่หน้าที่

กรมศิลปากรต้องหยุดทําให้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชาติ เป็นสมบัติส่วนตัวของคนในกรมที่ใครก็อย่ามาแตะต้อง เพราะนั่นเท่ากับคุณทําให้องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของประเทศนี้ไม่ก้าวหน้า ไม่ไปไหน และสุดท้ายจะไม่มีใครให้เกียรติให้เครดิตคุณ อย่างที่คุณไม่เคยให้เกียรติให้เครดิตชาวบ้านชาวช่องที่ไม่ใช่พวกของคุณมาเนิ่นนาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image