มิวเซียมธรรมศาสตร์และการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

มิวเซียมธรรมศาสตร์และการเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

สุจิตต์ วงษ์เทศ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีกำเนิดบริเวณเกี่ยวเนื่อง “ใจเมือง” กรุงรัตนโกสินทร์ (ในภาพ)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (78 ปีที่แล้ว) .. 2489
(ภาพถ่ายจากเครื่องบิน โดย ปีเตอร์ วิลเลียม ฮันท์ เมื่อ พ.. 2489 จากหนังสือ กรุงเทพฯ 2489-2539 กรมศิลปากรจัดพิมพ์ 2539)

พิพิธภัณฑ์การเมืองไทยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เคยคิดให้มีขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โดยกลุ่มผู้บริหารสำนักหอสมุดและ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ราว 20 ปีที่แล้ว เมื่อ พ.. 2547

Advertisement

.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่เป็น “ผู้ใหญ่” มีบัญชาให้ผมซึ่งเป็น “ผู้น้อย” ต้องทำการบ้านเรื่องนี้

ครั้งนั้นผมทำการบ้านด้วยการยกตัวอย่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติว่า (1.) ใช้งบประมาณสูงมาก (2.) ใช้เวลานานมากกว่า 10 ปี บางแห่ง 20 ปี

ดังนั้น ธรรมศาสตร์ควรนุ่งเจียมห่มเจียมตามสภาพสังคมที่ไม่ให้ความสำคัญกับ พิพิธภัณฑ์ โดยทำง่ายๆ บ้านๆ เรียกเป็นสามัญว่า “พิพิธภัณฑ์ทำมือ” (เลียนแบบ “หนังสือทำมือ” เมื่อ 20 ปีที่แล้ว หมายถึงหนังสือที่เข้าเล่มด้วยตนเอง ซึ่งประหยัดมากเพราะไม่ต้องไปจ้างโรงงาน)

Advertisement

จำไม่ได้ว่าส่งการบ้านหรือไม่? เพราะความจำชำรุดนานแล้ว

ครั้นปีนี้มีความเคลื่อนไหวอีกครั้งเรื่อง “มิวเซียมการเมืองไทยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เลยทบทวนแนวคิดทำมิวเซียมที่น่าจะปฏิบัติได้โดยใช้งบประมาณไม่มาก ซึ่งขอย้ำว่าเป็นแค่แนวคิดเท่านั้น ถ้าจะปฏิบัติจริงต้องลงรายละเอียดต่างหากมากกว่านี้โดยผู้รู้เฉพาะทาง

มิวเซียมมีชีวิต” ที่ท่าพระจันทร์

มิวเซียมเป็นแหล่งแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้อย่างรื่นเริงตลอดชีวิต โดยไม่ต้องเข้าห้องเรียน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) สตอรี่มีอุดมสมบูรณ์ ควรบริหารจัดการเป็นมิวเซียมแบบสากล เพื่อเติมเต็มให้สังคมไทยที่ขาดแคลน

พื้นที่ มีความเป็นมามากว่า 500 ปี สมัยอยุธยาตอนต้น สืบเนื่องถึงธนบุรี, รัตนโกสินทร์ปัจจุบัน

สถาปนา 27 มิถุนายน 2477 สืบเนื่องจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475ชื่อ “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” (มธก.) บริเวณวังหน้า ร.1-.5 แผ่นดิน ร.5 ยกเลิกตำแหน่งวังหน้า เป็นเหตุให้พระราชวังบวร “ว่างลง” แบ่งพื้นที่วังหน้าเป็น 2 ส่วนตั้งแต่ พ.. 2430 (1.) พิพิธภัณฑสถาน สำหรับพระนคร และ (2.) ราชการทหาร

อาคารสถานที่ เป็นโบราณสถานในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ตอนต้นปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่กำเนิดจนปัจจุบัน (และอนาคต) เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองไทยอย่างแยกมิได้ ซึ่งตื่นเต้นโลดโผนใน (1.) เอกสาร และ (2.) เรื่องเล่าจากความทรงจำ

มิวเซียมธรรมศาสตร์และการเมือง เป็น “มิวเซียมมีชีวิต” ลักษณะ open museum, site museum, museum without wall (1.) อาคารสถานที่เป็นพื้นที่ทำงานและมีการเรียนการสอนตามปกติ (2.) ขณะเดียวกันก็ปรับเป็นมิวเซียมด้วยการทำป้ายอธิบาย “สตอรี่” ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกี่ยวข้องการเมืองไทย

เนื้อหา มี 2 เรื่องปนกันแยกไม่ได้ คือ (1.) ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ (2.) การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 ถึงปัจจุบัน

รูปแบบ ไม่ตายตัว แต่ปรับเปลี่ยนตามพื้นที่และเงื่อนไขทั่วไป

การจัดแสดง ออกแบบไม่กีดขวางการเรียนการสอนและการทำงานของราชการ มี 2 แบบ ถาวร และ ชั่วคราว

วัตถุจัดแสดง ไม่ต้องมีสิ่งที่เรียกว่าโบราณวัตถุ หรือ objects ก็ได้ (1.) อาคารสถานที่จริง (2.) ภาพถ่าย, ภาพวาด (ประกอบตามความจำเป็น) (3.) โบราณวัตถุ (เท่าที่มีไม่เน้น)

ข้อความอธิบาย สั้น ง่าย ไม่ฟูมฟาย บนแผ่นป้าย และมือถือ สแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code)

พื้นที่ ในห้อง และ นอกห้อง (1.) ในห้องเท่าที่จำเป็น และเท่าที่มีห้องว่าง (2.) นอกห้องเกือบทั้งหมด

วิธีทำ ป้ายอธิบายหลายขนาดและหลายรูปแบบ (1.) ข้อความบอกเหตุการณ์เกี่ยวข้องอาคารสถานที่นั้น (2.) รูปประกอบเท่าที่จำเป็น ขนาดตามสมควรแก่ป้าย (3.) ปักตามอาคารสถานที่หรือติดผนัง (ที่ไม่ทำให้รก) (4.) ออกแบบด้วยมืออาชีพ

งบ (1.) มีมาก ทำมาก (2.) มีน้อย ทำน้อย (3.) ไม่มีก็รอก่อน

กิจกรรม (1.) บรรยายเสวนา ไม่จำกัด ซึ่งมีอยู่แล้วเป็นปกติ (ประกอบการเรียนการสอน) แต่เพิ่มขึ้นมาให้เข้ากับมิวเซียม (2.) การละเล่น เพื่อเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ เช่นแต่งกายย้อนยุคเป็นสมัยต่างๆ ตามที่ตกลงกัน, เพลงดนตรี, ประเพณี เช่น ลอยกระทง, สงกรานต์ ฯลฯ

มิวเซียมมีชีวิตด้วยกิจกรรมหลากหลายและสม่ำเสมอ วิชาการ และกึ่งวิชาการ พิพิธภัณฑ์ไทยไม่มีชีวิต เพราะไม่มีกิจกรรม หรือมีแบบซังกะตาย

ผู้เข้าชม (1.) นักศึกษาธรรมศาสตร์ เก่าใหม่ (2.) นักเรียนนักศึกษาทั่วไป (3.) ประชาชน (4.) นักท่องเที่ยวนานาชาติ

ค่าเข้าชม (1.) ไม่เก็บ (2.) หารายได้ด้วย . ร้านกาแฟ / อาหาร . ของที่ระลึกหลากหลาย

มิวเซียมถูกทำเป็น “พิพิธภัณฑ์”

มิวเซียมมีเพื่อสนอง “ผู้อยากเรียนรู้ แต่ไม่อยากเข้าห้องเรียน”

สังคมไทยเสียโอกาส เพราะขาดมิวเซียมมาตรฐานสากล ที่บรรจุข้อมูลบอกความเป็นมาของประเทศชาติและประชาชน ซึ่งประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไม่บอกความเป็นมาของประเทศชาติและประชาชนหลายชาติพันธุ์ตามมาตรฐานสากล แต่เป็นสถานที่หล่อหลอมกล่อมเกลาและบงการควบคุมความคิดของประชาชน ให้เป็นไปตามต้องการของชนชั้นนำ

จอร์จ ออร์เวลล์ บอกใน 1894 ว่า “ผู้ที่ควบคุมปัจจุบัน ย่อมบงการอดีตได้ ผู้ที่ควบคุมอดีตได้ ย่อมบงการอนาคตได้”

สะท้อนความจริงทางสังคมที่ชนชั้นนำบงการสั่งสอน ไม่สั่งสม

สังคมไทยถูกครอบงำให้มีทัศนคติต่อมิวเซียม เป็น “พิพิธภัณฑ์” ที่เก็บของเก่า โดยเฉพาะพระพุทธรูป (เศียรพระ, แขนพระ, ขาพระ, ตีนพระ (พระพุทธบาท), รวมทั้งศิวลึงค์ เป็นต้น ไม่เกี่ยวกับข้อมูลหรือความรู้ใดๆ ทั้งนั้น (นอกจากดูของเก่า)

สังคมก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างมิวเซียมหลายแบบ แล้วมีกิจกรรมดึงดูดคนเข้าชม ดังนี้ (1.) แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ตลอดชีวิต ซึ่งลดปัญหาสังคมได้ไม่น้อย (2.) กระตุ้นพลังเศรษฐกิจสร้างสรรค์

1. พิพิธภัณฑ์ไทย เริ่มก่อรูป พ.. 2402 (165 ปีที่แล้ว) ปลายแผ่นดิน .4 (.. 2394-2411)ได้ต้นแบบจากมิวเซียมตะวันตก ซึ่งมีกำเนิดเมื่อเรือน พ.. 2000 (สมัยอยุธยาตอนต้น) ราว 567 ปีที่แล้ว [กำเนิดมิวเซียมยุโรป ขึ้นอยู่กับการตีความจะเริ่มตรงไหน? เมื่อไร?]

2. มิวเซียมตะวันตก มีพัฒนาการถึงปัจจุบัน ด้วยอุดมการณ์ (คำขวัญ) ว่า “มิวเซียมไม่มีพรมแดน มีแต่เครือข่าย” ส่วนพิพิธภัณฑ์ไทย (ของรัฐ) มีพรมแดน” และ “ไม่มีเครือข่าย”

3. มิวเซียมกับพิพิธภัณฑ์ มีความหมายต่างกัน ทั้งในแง่อุดมการณ์และบริหารจัดการ

. อุดมการณ์

มิวเซียม หมายถึง แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (1.) อย่างไร้พรมแดน และ (2.) อย่างรื่นรมย์ ประเทศก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี, ไต้หวัน, สิงคโปร์ ฯลฯ มิวเซียมเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยคำขวัญ “รู้เขา รู้เรา รู้โลก” เสมือนมหาวิทยาลัยไม่มีห้องเรียน และไม่มีโปรเฟสเซอร์

พิพิธภัณฑ์ หมายถึง แหล่งหล่อหลอมกล่อมเกลาและควบคุมความคิดของประชากร (1.) อย่างเป็นไปตามต้องการของคนชั้นนำ และ (2.) อย่างเคร่งครัด เคร่งเครียด ไม่รื่นรมย์

. บริหารจัดการ

มิวเซียม เพื่อสาธารณะเข้าถึงง่าย พิพิธภัณฑ์ เพื่อชนชั้นนำและนักปราชญ์ แต่สาธารณะเข้าถึงยากยิ่ง และยากมาก

วันเปิดตึกโดม 9 กรกรฎาคม 2479 (88 ปีที่แล้ว)
ส่วนหนึ่งของ “โดม เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์” สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[ภาพประกอบทั้งหมดจากหนังสือ Walking Tour ทอดน่องท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดย นิภาพร รัชตพัฒนากุล และ เทอดพงศ์ คงจันทร์ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2548]

กำแพงเมืองกรุงเทพฯ ด้านติดแม่น้ำ บริเวณถนนพระอาทิตย์ (ภาพเก่า)

กำแพงเมืองและกำแพงวังหน้า ขุดพบเมื่อ ปี พ.. 2538 (29 ปีที่แล้ว) ครั้งสร้างตึก 60 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (จำลองแนวกำแพงไว้บริเวณด้านหน้าคณะรัฐศาสตร์ ภายในโรงอาหารและหอสมุดปรีดี พนมยงค์)

นักศึกษา มธก. และนักเรียนเตรียม มธก. เดินขบวนเรียกร้องดินแดนอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2483 (84 ปีที่แล้ว) ด้านหลังคือแนวกำแพงชราในขณะนั้น

ปืนใหญ่ขุดพบโดยบังเอิญ เมื่อปี พ.. 2527 (40 ปีที่แล้ว)
ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ด้านข้างหอประชุมทางด้านสนามหลวง

ลานโพธิ์ก่อนสร้างตึกคณะศิลปศาสตร์

ผู้ชุมนุมภายในสนามฟุตบอล ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 (51 ปีที่แล้ว)

บ้านเราเขาปล้น” หอประชุมถูกกลุ่มกระทิงแดงบุกเข้าทำลายเมื่อ 20 สิงหาคม 2518 (47 ปีที่แล้ว)

บริเวณประตูท่าพระจันทร์ ในวันที่ 3 ตุลาคม 2519 (48 ปีที่แล้ว) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา เล็กน้อย 2519

ผู้ชุมนุมบริเวณลานโพธิ์ และประตูท่าพระจันทร์ ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (48 ปีที่แล้ว)

หน่วยรักษาความปลอดภัย หน้าหอประชุมใหญ่ที่เสียชีวิตเป็นกลุ่มแรกในการล้อมปราบผู้ชุมนุมภายในธรรมศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 (48 ปีที่แล้ว)

เจ้าหน้าที่กวาดต้อนผู้ชุมนุมมารวมกันไว้ที่สนามฟุตบอล ภายหลังยึดธรรมศาสตร์ได้ในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 (48 ปีที่แล้ว)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image