TCEB จัดกระหึ่ม Thailand MICE Forum 2019 ทั่วโลกดันไทยขึ้นผู้นำไมซ์เอเชีย-ปี’ 63โกย 2.3 แสนล้าน

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า  ได้จัด Thailand MICE Forum 2019 (TMF 2019)  ปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้วยยุทธศาสตร์ไมซ์” หรือ “Thailand’s Opportunity: Asia’s Top MICE Destination” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ที่โรงแรม ดิ แอธินี กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีสร้างการรับรู้ และตื่นตัวให้กับผู้ประกอบการไมซ์ไทยร่วมสร้าง “โอกาส” และผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจไมซ์ระดับเอเชีย (Asia’s Top MICE Destination) ไปด้วยกันอย่างมีทิศทางและแผนกลยุทธ์ในแนวทางเดียวกัน

ส่วนไฮไลต์การจัดงานปีนี้มีผู้บริหารระดับสูงด้านไมซ์ระดับโลกเข้ามาร่วมพูดคุยพร้อมกันบนเวทีเป็นประเทศแรกในเอเชียจาก 3 สมาคม ได้แก่ Mr.Phillip Eldsvold ประธานสมาคมส่งเสริมธุรกิจการจัดอินเซนทีฟระดับโลก (SITE) Mr.Senthil Gopinath ซีอีโอสมาคมด้านการประชุมนานาชาติของโลก (ICCA) และ Mr.Kai Hattendorf กรรมการผู้จัดการและประธานบริหาร สมาคมอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้าโลก (UFI) เพื่อเปิดมุมมองให้กับผู้ประกอบการไทยในหัวข้อเสริมแกร่งการแข่งขันไทย ด้วยมุมมองไมซ์โลกที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดไมซ์ของประเทศไทยได้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.เทรนด์อนาคต -Future Trends 2.การแข่งขัน-Compettition 3.อินเซ็นทีฟยุคใหม่-Incentive Growth

โดย TCEB มีเป้าหมายจะนำพาอุตสาหกรรมไมซ์ประเทศไทยก้าวข้ามความท้าทายขึ้นไปเป็นผู้นำไมซ์แห่งเอเชียตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ปีหน้า 2563-2565 โดยเฉพาะในเวทีการจัดงาน Thailand MICE Forum 2019 แต่ละส่วนได้สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมของทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะร่วมกันกับเคลื่อนไมซ์ให้กลายเป็นธุรกิจเพื่อการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบอย่างแท้จริง ที่จะทำให้ไทยเป็นผู้นำไมซ์เอเชียด้วยองค์ประกอบสำคัญคือ “โอกาส-Opputunity”ขานรับกับการเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่ระดับโลก 86th UFI the Global Congress ระหว่าง 6-9 พฤศจิกายน 2562  ซึ่งไทยได้รับเลือกเป็นสถานที่จัดเป็นครั้งที่ 2 หลังจากเคยมาจัดครั้งแรกมาแล้วเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา ครั้งนี้จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย ประกอบด้วย
1.มีกลุ่มผู้ประกอบการใหม่ที่จะมาช่วยสร้างตลาดเติบโตอย่างรวดเร็ว 2.กระจายรายได้ไปสู่จังหวัดอื่น ๆ มากขึ้น 3.ได้รับความร่วมมือจากกรุงเทพมหานครเข้ามาร่วมเป็นเจ้าภาพด้วย 4.เสริมสร้างความแข็งแกร่งเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจช่วงปลายปีนี้ให้คึกคักมากยิ่งขึ้น 5.ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไมซ์สามารถพูดคุยกับคู่ค้ากลุ่มสมาชิกสมาชิกสมาคม UFI เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจเพิ่มมากขึ้นได้

สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมใหญ่ด้านงานแสดงสินค้าโลก หรือ 86th UFI Global Congress ระหว่าง 6-9 พฤศจิกายน 2562 ภายใต้แนวคิด “Platforms of Trust : Connect – Engage – Succeed ทาง TCEB คาดจะมีผู้เข้าร่วมงาน 550 คน จากทั่วโลก 50 ประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรงจากการจัดงานไม่ต่ำกว่า 44 ล้านบาท

Advertisement

ภายในงานจะแบ่งเป็น 5 โซนกิจกรรม 1.Thai Town โซนพิเศษแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมการแสดงสินค้าและไมซ์ซิตี้ 2.สัมมนาเชิงธุรกิจ “ประเทศไทย” จุดหมายใหม่แห่งอุตสาหกรรมการแสดงสินค้าของโลก 3.เวทีเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ 4. กิจกรรมเพื่อสังคม 5.กอล์ฟกระชับมิตร พร้อม ๆ กับการจำลองเมือง MICE CITY ของไทยมาไว้ในงานนี้ด้วย

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานจะสัมผัสประสบการณ์การจัดงานสะท้อนวัฒนธรรมและประเพณีไทย เช่น กิจกรรมงานบุญของไทยที่มีเสน่ห์และมีอัตลักษณ์ เช่น ชมเทศกาลงานวัด ศิลปะมวยไทย เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ซึ่งจะจัดขึ้นในงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ UFI Grand Night Out ณ วัดโพธิ์ท่าเตียน และส่งท้ายด้วยกิจกรรมสัมผัสกับประสบการณ์ชีวิตวิถีธรรมชาติ ณ ปฐม ออร์แกนิค วิลเลจ สวนสามพราน

นายจิรุตถ์กล่าวว่า ปี 2562 TCEB ได้เร่งประมูลงานได้ตามเป้าหมายแล้ว เป็นงานจัดการแสดงสินค้านานาชาติรวมกว่า 17 งาน และงานประชุมนานาชาติจะต้องทำให้เข้าเป้าไม่ต่ำกว่า 14 งาน เทรนด์ที่กำลังมาแรงคือการรุกเจาะกลุ่มไมซ์ในตลาดขององค์กรในฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือ Human Resorce ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการจัดอีเวนต์มากที่สุด

Advertisement

ปี 2563 TCEB ได้ตั้งเป้าจะเพิ่มนักเดินทางกลุ่มไมซ์ให้ได้รวมทั้งสิ้น 37,781,000 คน สร้างรายได้ให้ประเทศรวม 232,700 ล้านบาท ส่วนปี 2562 หากประเมินรายได้ทางอ้อมจากกิจกรรมการสร้างห่วงโซ่เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไมซ์ตลอดทั้งปีแล้วจะพบว่าสร้างเงินรวมได้มากกว่า 544,700 ล้านบาท

สำหรับรายได้จากอุตสาหกรรมไมซ์โดยตรงตามเป้าหมายปี 2563 และสถิติปี 2562 มีดังนี้

ตลาดต่างประเทศ ปี 2563 จะมีจำนวนนักเดินทางไมซ์เข้ามา 1,386,000 คน ทำรายได้ 105,600 ล้านบาท ตลาดหลักยังคงเป็น จีน อินเดีย และอาเซียน ขณะที่ปี 2562 ประมาณการจำนวนนักเดินทางไมซ์ต่างประเทศมีทั้งสิ้น 1,248,000 คน สร้างรายได้สู่เศรษฐกิจ 100,500 ล้านบาท

ตลาดในประเทศ ปี 2563 จะมีจำนวนนักเดินทางไมซ์คนไทย 36,395,000 คน สร้างรายได้ 127,100 ล้านบาท  ปี 2562 มีนักเดินทางชาวไทยร่วมกิจกรรมไมซ์ในประเทศกว่า 31,400,000 ล้านคนครั้ง ก่อให้เกิดรายได้ 121,000 ล้านบาททั้งนี้ตลอดปี 2562 อุตสาหกรรมไมซ์ทั้งตลาดในและต่างประเทศจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจ(Economic Impact) ที่จะทำให้เกิดผลเชิงบวกประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ

1.เกิดการใช้จ่ายจากการจัดกิจกรรมไมซ์รวมมูลค่าทั้งสิ้น 544,700 ล้านบาท แบ่งเป็นไมซ์ในประเทศ 275,000 ล้านบาท ไมซ์ต่างประเทศ 269,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3% ของ GDP ประเทศ

2.ภาครัฐจะสามารถจัดเก็บภาษีได้จากธุรกิจไมซ์ 35,900 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างแรงงานกว่า 340,000 อัตรา

@UFIชี้เป้าไทยเร่งเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันมร.ไค ฮัทเทนดอฟ กรรมการผู้จัดการและประธานบริหาร สมาคมอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้าโลก (UFI) กล่าวว่า “ศักยภาพของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางงานแสดงสินค้านานาชาติได้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจากการวิจัยล่าสุดของ UFI ได้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีตำแหน่งทางการตลาดที่เหมาะสม สามารถรองรับการขยายตัวเพิ่มเติมได้เป็นอย่างดีในอนาคตอันใกล้นี้ อุตสาหกรรมไมซ์ของไทยเปรียบได้กับกรณีศึกษาที่โดดเด่นสำหรับงานพัฒนา นโยบาย และการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่จับต้องได้นอกเหนือจากการท่องเที่ยว

ขณะเดียวกันไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ โดยจะต้องพูดคุยกับรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนนโยบายทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ สร้างความเชื่อมั่นแก่ตลาดนานาชาติ ควบคู่กับ TCEB จัดทำผลศึกษาวิจัยต่อเนื่อง สร้างประวัติการจัดงานแต่ละครั้งอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำไมซ์เอเชีย

มร.ไค ฮัทเทนดอฟ ย้ำว่า ไทยมีจุดแข็งสำคัญหลัก ๆ ค้ำยันอุตสาหกรรมไมซ์ให้มีศักยภาพพร้อมขึ้นผู้นำเอเชียครบรอบด้าน 4 เรื่อง คือ 1.เป็นประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยง (Hub) การเดินทางของภูมิภาคเอเชีย  2.วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ไว้ได้อย่างเข้มแข็ง โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการเติบโตของโลก 3.มาตรฐานความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักเดินทาง 4.การขยายพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมไมซ์ระดับประเทศและนานาชาติทั่วโลก

@TEAหนุนเอ็กซิบิชั่นไมซ์ผู้นำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นายทาลูน เทง นายกสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) “TEA” กล่าวว่า สมาคมได้ก่อตั้งมากว่า 20 ปี และกำลังก้าวสู่ยุทธศาสตร์ใหม่อีก 20 ปีข้างหน้า ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ตลาดจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทยเติบโตสูงขึ้นทุกปี มีการขยายพื้นที่จัดงานเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีประมาณรวมกว่า 2 แสนตารางเมตร มีศักยภาพความพร้อมผู้นำตลาดเอ็กซิบิชั่นไมซ์อาเซียน และเป็น 1 ใน 5 ของเอเชีย ขณะนี้สามารถผลักดันขึ้นเป็นผู้นำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ แต่ยังเทียบชั้นกับ จีน อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศใหญ่มีสถานที่จัดเอ็กซิบิชั่นใหญ่กว่าไทยหลายเท่าไม่ได้

ดังนั้นสิ่งที่ไทยจะต้องเพิ่มความแรงเรื่องการพัฒนาบุคลากร และการมองหางานเทรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาจัดโดยแต่ละงานเริ่มมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้ร่วมงาน ผมมองว่าธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะเติบโตเป็นจุดหมายปลายทางไมซ์ระดับโลก

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และปลดล็อกอุปสรรคต่าง ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร การบริการ เทคโนโลยี กฎระเบียบบางอย่าง รวมถึงผู้ประกอบการที่ต้องร่วมกันพัฒนามาตรฐานของตนเอง และทำการตลาดในเชิงรุกมากขึ้นเพื่อดึงงานแสดงสินค้าระดับโลกมาจัดในประเทศไทย

 @3บิ๊กไทย“ฐาปน-ชฎาทิพย์-ศุภจี”แนะรัฐลุยRe-Thailandส่วนในเวที Thailand MICE Forum 2019 ของ TCEB ที่ได้เปิดให้ตัวแทนนักลงทุนไทยแถวหน้าของประเทศ 3 กลุ่ม นำโดย นางชฎาทิพย์ จูตระกูล ซีอีโอสยามพิวรรธ์และกลุ่มไอคอนสยาม นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ซีอีโอ กลุ่มไทยเบฟ และ นางสุภจี สุธรรมพันธุ์ ซีอีโอ กลุ่มดุสิตบรรยายพิเศษในหัวข้อ Customer-First Experience Creation for Business Events ทั้ง 3 คน ได้ประสานเป็นเสียงเดียวกันให้รัฐบาลเร่ง Re-Thailand เพื่อรักษาส่วนแบ่งรายได้จากอุตสาหกรรมไมซ์ การท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศให้ได้ตามเป้าหมาย รวมถึงเร่งยกระดับมาตรฐานบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันก้าวขึ้นสู่ประเทศผู้นำไมซ์แห่งเอเชีย

 @ญี่ปุ่นลุยโปรโมต9นวัตกรรมโตเกียวโอลิมปิก2020ภายในงาน Thailand MICE Forum 2019 ทาง TCEB ยังได้เปิดเวทีให้ นางสาวยูมิโกะ อิวาตะ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์การประชุมนานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการประชุมนานาชาติ ขึ้นเวทีโปรโมตการเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน “โตเกียว โอลิมปิก 2020” ในหัวข้อ Digital Optimization for Smart Hospitality ที่จะจัดในเมืองชิบะ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโตเกียวมากนัก จะจัดช่วงเดือนสิงหาคม 2563 ตอนนี้ญี่ปุ่นได้สร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกแบบครบวงจรด้วย 9 นวัตกรรม ทั้งเรื่องการเดินทาง ที่พัก ตั๋วโดยสาร แหล่งท่องเที่ยว ไฮไลต์คือพ็อกเกตสื่อสารขนาดเล็กพกติดตัวสามารถแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ได้ง่ายดาย โดยมีบริการแจกตามสนามบินแก่นักเดินทางที่เข้าร่วมงาน โตเกียว โอลิมปิก 2020

เรื่องและภาพโดย…เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน บล็อกเกอร์ #gurutourza www.facebook.com/penroongyaisamsaen

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image