‘เริ่มวางแผนการเงินดี มีชัยตลอดปี’

เข้าสู่เดือนสุดท้ายของไตรมาสแรกในปีไก่ ไม่ว่าปีนี้จะเป็นไก่ทองคำขยันจิกคุ้ยเขี่ยทำมาหากิน หรือจะเป็นไก่ไฟพุ่งพล่านรุ่งโรจน์โชติช่วง ปีนี้ยังคงเป็นอีกปีที่ต้องเลือกการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่ง K-Now ฉบับนี้ขอมาอัพเดทกันหน่อยว่าการลงทุนปี 2560 นี้ จะวางแผนการเงินอย่างไรดี ให้มีชัยกันตลอดปี

 

4 นโยบายใหม่ที่ดีกับทุกคน

นโยบายรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้ ยิ่งต้องกลับมาวางแผนทบทวนเงินทองที่ได้มาและต้องใช้จ่ายไป การวางแผนทำให้เราไม่เสียศูนย์ เมื่อมีสิ่งไม่คาดคิดเข้ามาในชีวิต อย่าลืมว่า ชีวิตจะไปต่อไปได้ ต้องใช้ “เงิน” วางแผนบริหารจัดการกันให้ดีๆ จะได้ใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและมั่งคั่ง

Advertisement

K-NOW_P02

  1. ภาษีใหม่ ไฉไลกว่าเดิม: ให้สิทธิหักลดหย่อนภาษีกันได้มากขึ้นกว่าเดิมกับนโยบายปรับโครงสร้างภาษีปี 2560 (ที่ใช้ยื่นในปี 2561) มีดังนี้
  • การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาสามารถหักได้เพิ่มขึ้นเป็น 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เพิ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวเป็น 60,000 บาทสำหรับคนโสด และคนไม่โสดที่คู่สมรสไม่มีรายได้ลดหย่อนได้เพิ่มอีก 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตรที่เคยกำหนดไว้สูงสุด 3 คน คนละ 15,000-17,000 บาท เปลี่ยนเป็นลดได้คนละ 30,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนบุตร
  • ฐานภาษีแบบใหม่กำหนดให้คนที่มีรายได้ 4-5 ล้านต่อปีอยู่ในฐานภาษี 30% จากเดิมที่อยู่ในฐาน 35% (ส่วนคนที่มีรายได้น้อยกว่า 4 ล้านและมากกว่า 5 ล้าน อยู่ในฐานภาษีเดิม)
  • คนโสดที่มีรายได้ประจำทางเดียว ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี เมื่อมีเงินได้พึงประเมินเกิน 120,000 บาท ส่วนคนที่มีคู่สมรสและมีรายได้ประจำทางเดียว จะยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมินเกิน 220,000 บาท
  • ส่วนคนที่มีรายได้มีรายได้จากทางอื่นด้วย ถ้าโสดจะต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมิน เกิน 60,000 บาท และถ้ามีคู่สมรส จะต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมินเกิน 120,000 บาท
  1. สิทธิประกันสังคมใหม่ ให้อะไรเยอะขึ้น: สามารถใช้สิทธิประกันสังคมตรวจสุขภาพฟรีกันได้แล้ว โดยสามารถรับบริการได้ตามโรงพยาบาลที่เลือกเอาไว้ ซึ่งสิทธินี้ ครอบคลุมการตรวจสุขภาพพื้นฐาน เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไต และนอกจากนี้ยังมีสิทธิการตรวจอื่นๆ เช่น ตรวจเต้านม ปากมดลูก ดวงตา เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมในเรื่องอายุและความถี่ในการเข้ารับบริการ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันสังคม โทร 1506
  1. เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ ดูแลวัยเก๋า: ปีนี้ปู่ย่าตายายและญาติผู้ใหญ่ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปจะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จากเดิม 600-900 บาทต่อเดือน เป็น 1,200-1,500 บาทต่อเดือน ซึ่งการปรับครั้งนี้ กระทรวงการคลังออกมาบอกว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่ไม่เดือดร้อนเรื่องการเงิน สามารถสละสิทธิ์รับเบี้ยผู้สูงอายุได้ เพื่อเอาเงินก้อนนี้มาจัดสรรให้ผู้ที่ต้องการจริงๆ
  1. หนุนสตาร์ทอัพให้รุ่ง กับ 3 มาตรการใหม่สุดเจ๋ง: รัฐได้ออก 3 มาตรการเพื่อช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ ทั้ง 1) จัดตั้งกองทุน 6,000 ล้านบาทเพื่อร่วมลงทุน 2) ออกโครงการค้ำประกันมูลค่า 10,000 ล้านบาทเพื่อค้ำประกันสินเชื่อ และเด็ดสุดกับ 3) การยกเว้นภาษีให้นิติบุคคลที่มีรายรับไม่เกิน 30 ล้านบาทเป็นเวลา 5 รอบบัญชีต่อเนื่อง (แต่ต้องยื่นคำขอภายใน 30 ธ.ค. 60 นี้)

K-NOW_P03

ลด “เสี่ยง” เรื่องเงินทอง

Advertisement

ผลการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า รายได้ตลอดชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่แทบไม่เคยพอค่าใช้จ่าย และไม่มีรายได้เพื่อบริโภคตลอดอายุขัย สำรวจพบ แม้วัยเกษียณยังมีหนี้ท่วมหัว ขณะที่ครัวเรือนรายได้สูงเท่านั้นที่พอมีเงินเก็บเหลือหลังเกษียณ แต่เฉลี่ยมีใช้ได้ไม่เกิน 15 ปี ที่ปรึกษาด้านการเงิน K-Expert โดย ธนาคารกสิกรไทย ได้สรุปพฤติกรรมด้านการเงินส่วนบุคคลของคนไทย ที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการดำรงชีวิต ได้แก่

1) พึ่งพาการฝากเงินออมทรัพย์เป็นหลัก ปัจจุบันสัดส่วนตัวเลขบัญชีเงินฝากในประเทศไทย มีจำนวน 87 ล้านบัญชี แต่มีจำนวนบัญชีกองทุนรวมแค่ 4.4 ล้านบัญชี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่สะสมสินทรัพย์ที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ในเชิง Passive Income หรือการให้เงินทำงาน แต่กลับจะด้อยค่าลงเรื่อยๆ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปจะนำเงินออกมาซื้อของได้จำนวนที่น้อยลง

2) ไม่มีการวางแผนป้องกันความเสี่ยง สถิติของสมาคมประกันชีวิตไทยระบุว่ามีคนไทยเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง โดยหลายคนยังติดกับความคิดที่ว่า ไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เช่น ประสบอุบัติเหตุจนพิการ เสียชีวิต หรือเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง

3) ความสนใจต่อการวางแผนเกษียณยังต่ำมาก จากผลการสำรวจของ ธปท. พบว่าครัวเรือนที่สามารถออมเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณ มีเพียง 25% ของกลุ่มตัวอย่าง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 40% ไม่มีการวางแผนและออมเพื่อเกษียณ ในเวลาเดียวกันประเทศไทยกำลังเผชิญกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ซึ่งประชากรสูงวัยกาลังเพิ่มจานวนมากขึ้น ในขณะที่อัตราภาวะเจริญพันธุ์ของประชากรในภาพรวมน้อยลง แม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะเก็บออมเงิน แต่โดยรวมจะเป็นไปเพื่อการใช้จ่ายในระยะสั้น อาทิ ที่พักอาศัย การศึกษา และการเดินทาง เป็นต้น

K-NOW_P04

 

3 ตัวช่วยบริหารเงินให้มั่นคงและมั่งคั่ง

  1. มืออาชีพช่วยวางแผน

K-Expert บริการที่ปรึกษาการเงินโดยทีมผู้เชี่ยวชาญมาตรฐานระดับ CFP มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจความต้องการของลูกค้า ซึ่งพร้อมให้คำแนะนำทุกเรื่องการเงิน การออม การลงทุน แบบเจาะลึก ผ่านแนวคิด “มีคนช่วยคิด ชีวิตก็ดี” ซึ่งทุกข้อสงสัยการเงิน สามารถปรึกษา K-Expert ได้ที่

  • K-Expert Center ชั้น 2 จามจุรีสแควคร์
  • k-expert.askkbank.com
  • โทร 0-2888-8888 กด 09
  1. เครื่องมือช่วยบริหาร
    • K-Saving Plan: สำหรับคนที่ไม่มีวินัยในการลงทุน ฟังทางนี้ เพราะบริการ K-Saving Plan จากกสิกรไทยจะช่วยตัดเงินจากบัญชีไปลงทุนทุกเดือนให้โดยอัตโนมัติ แบบเงินเดือนออกปุ๊ป ก็หักส่วนหนึ่งไปลงทุนปั๊บ เริ่มต้นเพียง 500 บาท ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะใช้เงินเพลิน จนเป็นข้ออ้างว่าเงินไม่เหลือลงทุนแน่นอน
    • My Port: Feature ใน K-Mobile Banking PLUS ช่วยให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของการลงทุนในกองทุนได้อย่างใกล้ชิด เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าเงินที่ลงทุนไปงอกเงยขึ้นแค่ไหนแล้ว แถมกองทุนไหนกำลังมาแรง ก็ซื้อได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปสาขา ผ่านแอพ K-Mobile Banking PLUS เช่นกัน
    • KS Super Stock: แอพพลิเคชั่นคู่ใจสำหรับนักลงทุนในทุกสถานการณ์ พร้อมเสิร์ฟบทวิเคราะห์ร้อนๆ กราฟเทคนิค และระบบสแกนหุ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ครบขนาดนี้ มั่นใจได้ว่าข้อมูลแน่นก่อนตัดสินใจแน่นอน
  1. วิธีช่วยเก็บเงิน
    • เงินฝากทวีทรัพย์เอ็กซ์ตร้า: กลับมาอีกครั้งกับ “ทวีทรัพย์ เอ็กซ์ตร้า” ตัวช่วยออมเงินแบบแพคคู่ของเงินฝากประจำ 24 เดือน ดอกเบี้ยแรง 3.3% แบบไม่ต้องเสียภาษี ควงคู่มากับประกันชีวิต 2 แบบ 2 สไตล์ ซึ่งเลือกได้ว่าจะทำคู่กับประกันชีวิตสะสมทรัพย์ 615 การันตี หรือ ประกันชีวิตเพื่อเกษียณ 60/5 ก็ได้ ซึ่งไม่ว่าแบบไหน ก็รับรอบว่าได้ออมเงินกันให้เต็มเหนี่ยวสุดๆ
    • ความคุ้มค่าของประกันอยู่ที่ “ความคุ้มครอง”: ประกันเป็นตัวช่วยที่ดีเลิศสำหรับการสร้างหลักประกันให้ชีวิต ซึ่งหลักๆ แล้วประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 4 หมวดด้วยกันคือ เน้นความคุ้มครอง, เน้นสะสมทรัพย์ระยะสั้น, เน้นสะสมทรัพย์เพื่อเกษียณอายุ, เน้นสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
    • ใช้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม ซึ่งกองทุนรวมมีหลายประเภทให้เลือกตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อย่างคนที่รับความเสี่ยงได้น้อย ก็เลือกกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ ส่วนคนที่รับความเสี่ยงได้สูง ก็อาจเลือกกองทุนรวมผสม หรือกองทุนรวมหุ้น เป็นต้น

K-NOW_P05

3 FinTech สุดล้ำที่ไม่ว่าใครต้องควรรู้จัก

ปัจจุบัน FinTech เข้ามามีบทบาทต่อเรื่องการเงินอย่างมหาศาล ทำให้เรื่องการออมการลงทุนกลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม เพราะมี FinTech ใหม่ๆ ออกมาตอบความต้องการของนักลงทุนมือใหม่ได้อย่างตรงจุดและประสิทธิภาพ ซึ่ง K-Now ได้คัดเลือก 3 FinTech เด็ดๆ จากฝั่งอเมริกามาแนะนำกัน ซึ่งคาดว่าเร็วๆ นี้ จะมีเวอร์ชั่นของคนไทยมาให้ได้ใช้อย่างแน่นอน

  1. Betterment: แอพพลิเคชั่นช่วยจัดสรรพอร์ตการลงทุนอัตโนมัติ (ROBO Advisor) ครอบคลุมเรื่องการวางแผนการเงิน การจัดการภาษี และการวางแผนเพื่อเกษียณ โดย Betterment สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่านักลงทุนที่ลงทุนด้วยตัวเองเฉลี่ย 2.9%
  2. Wealthfront: อีกหนึ่ง ROBO Advisor ที่เน้นการนำเสนอบริการเพื่อคนรุ่นใหม่เป็นพิเศษ เช่น การเก็บเงินสำหรับเรียนต่อ และนอกจากนั้น Wealthfront ยังมีบริการด้านการเงินที่ครบถ้วนสำหรับทุกคน ทั้งการบริหารจัดการภาษี การวางแผนซื้อ-ขายหุ้น และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
  3. FeeX: ฟรีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้จ่ายค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียให้กับกองทุนต่างๆ ลดลง ซึ่งชาวอเมริกันต้องเสียค่าธรรมเนียนเหล่านี้รวมกันถึง 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี นอกจากนี้ FeeX ยังมีเป้าหมายในการทลายทุกกำแพงที่ทำให้คนทั่วไปไม่เข้าใจเรื่องการเงินอีกด้วย

###

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image