‘หน่วยซีล-ปภ.’ ลุยภารกิจกู้อุปกรณ์ถ้ำหลวงยาก-สิ่งของตกค้างอื้อ

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่อุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (เตรียมการ) ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นายไพทูรย์ นาคแท้ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เขต 15 พร้อมด้วย นายกมลไชย คชชา ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 นายกวี ประสมพล หัวหน้าวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนนางนอน (เตรียมการ) น.อ.สุริยัน สำราญใจ ผบ.กรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยซีล ตลอดจนเจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือหรือหน่วยซีล เจ้าหน้าที่อาสมัครกู้ภัยสมาคมต่างๆและทหารจากมณฑลทหารบกที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราช ยังคงปฎิบัติภารกิจเก็บกู้ทรัพยากรณ์กู้ภัยที่ตกค้างอยู่ในภายถ้ำหลวงระหว่างการช่วยเหลือ 13 เยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน -10 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา

— หน่วยซีล-ปภ.เริ่มเก็บกู้อุปกรณ์ช่วยทีมหมูป่าฯ ตกค้างถ้ำหลวง

ทั้งนี้ การปฎิบัตการในวันนี้เป็นการดำเนินนการวันที่ 3 ของภารกิจเก็บกู้อุปกรณ์กู้ภัยและเป็นวันสุดท้ายของภารกิจตามแผนงานที่วางไว้ งานหลักในวันนี้จึงเป็นการทำความสะอาดอุปกรณ์และขนย้ายอุปกรณ์ทั้งหมดของหน่วยซีลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขวดอากาศ ท่อส่งอากาศ และสายปรับกำลังดันออกจากถ้ำ โดยใช้กำลังพลของทหารมณฑลทหารที่ 37 หน่วยซีลและกำลังอาสาสมัครกู้ภัยช่วยกันลำเลียงด้วยการแบกจากโถงที่ 1 มายังรถที่ปากถ้ำเพื่อรอการลำเลียงกับไปยังกองบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือต่อไป

จากนั้น นายไพทูรย์ กล่าวว่า การขนย้ายอุปกรณ์ออกจากถ้ำหลวงมีความลำบากมากกว่าการนำเข้า เพราะการนำเข้าเราได้คำนึงถึงความปลอดภัยคนที่จะเข้าช่วยเหลือ ทำให้มีกำลังใจในการช่วยกันขนเข้า แต่การย้ายออกต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของคนที่เข้าไปปฎิบัติหน้าที่ อีกทั้ง ภายในถ้ำมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากกระแสน้ำพัดตะกอนทรายปิดถ้ำในหลายจ6ดทำให้การเข้าไปถึงลำบากเป็นอันตรายต่อการทำงาน บางจุดเข้าไปไม่ได้เลยเข้าไปลึกสุดถึงแค่โถง 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ของทางหน่วยซีลซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่สามารถใช้คนเพียงคนเดียวแบกออกมาได้ แต่ความยากจะไปอยู่ในวันที่ 26 มีนาคมที่จะเป็นการเคลียร์อุปกรณ์ของหน่วยงานทั้งหมดออก ซึ่งบางอย่างมีขนาดใหญ่เช่นเครื่องสูบน้่ำขนาดใหญ๋ที่ต้องใช้ถึง 8-10 คน แบกออกมามีอยู่กว่า 10 ตัวและขนาดเล็กอีกกว่า 20 ตัว มีท่อน้ำ สายไฟ และชุดอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสื่อสารอีกหลายรายการ ซึ่งจะต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี และอาจต้องใช้เวลามากกว่ากำหนด โดยเดิมวางไว้ที 3 วัน แต่จากสภาพของถ้ำในปัจจุบันอาจต้องใช้เวลาถึง 4 วันหรือมากกว่านั้น แต่ทั้งนี้่จะมีสิ่งของหลายรายการที่จะไม่มีการกู้ออกมา อาทิ ท่อส่งน้ำจากโถงต่างๆ จะเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมในโอกาสต่อไป

Advertisement

ทางด้าน น.อ.สุริยัน กล่าวว่า สำหรับอุปกรณ์ที่เก็บกู้ออกมาครั้งนี้มีขวดอากาศอยู่ 337 ขวด ซึ่งถือว่ายังไม่ครบตามจำนวนบัญชีซึ่งยังคงค้างอีกประมาณ 40 กว่าขวด นอกจากนี้ ยังมีแลคคูเลเตอร์ สายปรับกำลังดันและอุปกรณ์อื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถนำออกมาได้ เนื่องจากถูกตะกอนทรายทับถมและปิดกั้นเส้นทางการเข้าไปยังจุดที่อุปกรณ์เหล่านี้อยู่ส่วนใหญ่ยังเป็นขวดอากาศ

ขณะที่ นายกมลไชย กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ในถ้ำหลวงจากการสำรวร่วมกับทางหน่วยซีลพบว่าสามารถเข้าไปได้ลึกสุดคือเลยบริเวณสามแยกไปประมาณ 3 กิโลเมตร แต่จุดที่นักท่องเที่ยวจะสามารถเข้าไปชมได้หลังการพัฒนาแล้วก็คงจะเข้าไปไม่ลึกมาก ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาอีกทีว่าไปได้แค่ไหน เพราะจะต้องำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักและเป็นการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ระดับโลก โดยทางกรมฯก็มีการบูรณาการเรื่องนี้กับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image