โซเชียลปูดประเด็นใหม่ ‘ภาษาพาที’ น้ำจิ้มข้าวมันไก่เผ็ด ใช้น้ำปลาแก้อีกแล้ว งงไม่ขอซุปเพิ่ม

ปูดประเด็นใหม่ ‘ภาษาพาที’ น้ำจิ้มข้าวมันไก่เผ็ด ใช้น้ำปลาแก้อีกแล้ว ชาวเน็ตงงทำไมไม่บอกร้าน-ขอซุปเพิ่ม

จากกรณีที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ แบบเรียนหนังสือ “ภาษาไทยพาที” ระดับชั้น ป.5 ซึ่งมีเนื้อหาว่า กินไข่ต้มครึ่งซีก เหยาะน้ำปลา หรือข้าวเปล่าคลุกน้ำผัดผักบุ้ง ทำให้ตัวละครในหนังสือมีความสุข ถือเป็นการพอเพียง เห็นคุณค่าของชีวิต

ส่งผลให้สังคมตั้งคำถามถึงโภชนาการของเด็ก และการมองโลกอย่างโรแมนติกมากเกินไป กระทั่งแต่ละภาคส่วนรวมถึงคนดังต่างออกมากแสดงความคิดเห็นในวงกว้าง ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 เมษายน ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Patison Benyasuta ได้แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาหน้าหนึ่งในหนังสือเรียนภาษาพาที ป.5 ซึ่งเล่าถึงสถานการณ์ของ “ใบพลู” ที่ไปทานอาหารในที่แห่งหนึ่ง เธอทานข้าวมันไก่แต่น้ำจิ้มเผ็ด จึงตั้งใจไปขอน้ำปลาของร้านอื่น

ADVERTISMENT

ปรากฏว่าแม่ค้าพูดกับเธอว่า “อะไรกัน ไม่ได้ซื้อข้าวแกงร้านนี้สักหน่อย จะมาขอน้ำปลา” คนขายต่อว่าก่อนจะอนุญาต “เอ้า! อยากได้ก็ตักไป”

ในหนังสือบรรยายไว้ว่า ใบพลูคอหด เดินถือจานข้าวมันไก่กลับโดยไม่ได้เติมน้ำปลา ไม่เป็นไร เขาไม่เต็มใจให้ก็อย่าไปเอาของเขาดีกว่า น่าเสียดาย น่าเสียดายจริงๆ ทำอย่างไรขนบธรรมเรียนประเพณีดีๆ ของไทยที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน จึงจะอยู่ในจิตใจของคนไทยทุกคนและในทุกที่

ADVERTISMENT

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

กุมารแพทย์ ติงแบบเรียนป.5 ‘กินข้าวคลุกน้ำปลา’ ชี้วิสัยทัศน์น่ากังวล มองแค่อิ่มท้อง สุขใจ
วิโรจน์ อัดยับแบบเรียนป.5 สอนเด็กยอมจำนน ยอมรับชีวิต กินข้าวเปล่าคลุกน้ำปลา
ครูจุ๊ย จี้ ศธ.รับผิดชอบ ปล่อยแบบเรียนที่รัฐจ่ายอุดหนุน ยัดเยียด ‘ข้าวคลุกน้ำปลา’ ให้สวยงาม
สพฐ.แจง ‘ภาษาไทยพาที’ เน้นสอนความสุขอยู่ที่ใจ ชี้ตีความคลาดเคลื่อน ทำให้เกิดการดูหมิ่น เกลียดชัง
เปิดเนื้อหาทั้งบทเรียน ‘ภาษาพาที’ หลังเกิดวิวาทะ สอนเด็กกินข้าวคลุกน้ำปลา

(มีเนื้อหาต่อด้านล่าง)

ว่า “น้ำจิ้มข้าวมันไก่เผ็ด ใครสั่งใครสอนว่าตัดด้วยน้ำปลาจ๊ะใบพลู น้ำซุปสิน้ำซุป บอกอีร้านข้าวมันไก่ไปตรงๆ เลยว่าเผ็ด ขอซุปเพิ่มไม่งั้นจะคอมเพลน

ใบพลูควรจะเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงของทุนนิยม และสังคมเมือง ที่มีระบบน้ำใจในอีกแบบหนึ่งที่ต่างกับชนบท เช่น ถ้าคุณขอคำปรึกษาในเน็ต ก็จะมีคนช่วยเหลืออย่างยืดยาวด้วยข้อมูลเชิงลึก ที่หาไม่ได้ในตลาดน้ำคลองประชาชมชื่นแน่นอน หรือระบบเครือข่ายคอนเน็กชั่น ที่คุณสามารถขอความช่วยเหลือจากคนไม่รู้จักกันได้ง่ายๆ โดยขอร้องอย่างจริงใจลงในโซเชียลมีเดีย ดีไม่ดี โอนมาให้ง่ายๆ เลย

น้ำใจในเมือง มันต่างกับน้ำใจในชนบท เพราะเขา “แบ่งปัน” สิ่งที่เขามีมากให้ เช่น องค์ความรู้ เครือข่าย ข้อมูล คอนเน็กชั่น เช่นเดียวกับสังคมชนบท ที่เขาก็จะแบ่งปันสิ่งที่เขามีมากให้เช่นกัน เช่น กล้วยออกเยอะ ผักบุ้งริมรั้ว แต่อย่าหวังว่าเขาจะให้สิ่งที่เขามีน้อย เช่น ลองไปยืมเงินสิ

เพราะธรรมชาติมนุษย์พร้อมจะแบ่งปันในสิ่งที่ตัวเองมีมาก ไม่ใช่แบ่งปันสิ่งที่ตัวเองไม่มี หรือมีน้อย เช่นน้ำปลาของร้านข้าวแกง ที่เขาอาจเป็นลูกจ้างมา ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า เจ้าของร้านที่แท้จริงจะยินดีให้หรือไม่

ใบพลูเองก็เติบโตมาในสังคมเมือง แค่ไปเที่ยวบ้านญาติตลาดน้ำได้สองสามวัน กลับมาก็ลืมวิถีเมืองไปแล้ว เขาเรียกวัวลืมตีน  การด้อยค่าสังคมเมืองและโฆษณาน้ำปลา เป็นตีมหลักของแบบเรียนไทย ลองพลิกๆ ดูท้ายเล่มอาจมีสปอนเซอร์น้ำปลาตราคนแบกโลกแฝงอยู่”

ขณะเดียวกับ เพจวิวาทะ ก็ได้ระบุว่า “เรียกสิ่งนี้ว่าน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เรียกว่าขนบธรรมเนียมประเพณี ถึงว่าคนเลยอยากจะมารื้อให้เข้าที่เข้าทาง ว่าแต่คนเขียนเป็นอะไรมากกับน้ำปลาไหม นี่ก็จะเอามากินกับข้าวมันไก่

ภายหลังจากโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนมากต่างสังเกตว่าบทเรียนเล่มนี้มี “น้ำปลา” เป็นตัวชูโรง หลายๆ เมนูกล่าวถึงน้ำปลา นอกจากนี้ยังวิเคราะห์คำว่า “มีน้ำใจ” ในบริบทคนเมืองและชนบท ที่แตกต่างกัน ควรสอนใบพลูให้เข้าใจถึงสภาพสังคมที่มีหลายองค์ประกอบหลอมรวมเข้าด้วยกัน ไปจนถึงว่าไม่ควรตัดสินว่าคนพูดเป็นเจ้าของร้าน ในความเป็นจริงบางร้านก็เป็นลูกจ้าง และหลายคนยังบอกด้วยว่าเป็นตรรกะที่แปลกๆ กินร้านหนึ่งไปขออีกร้านหนึ่ง ทั้งๆ ที่ไปขอน้ำปลา หรือน้ำซุปจากร้านข้าวมันไก่ที่ซื้อก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามบ้างบอกว่านึกรสชาติ ข้าวมันไก่กับน้ำปลาไม่ออกจริงๆ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image