กลุ่มธุรกิจ TCP มอบเครื่องเอกซเรย์พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. แก่สภากาชาดไทยเพื่อส่งต่อ 3 โรงพยาบาลสนามช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยโควิด-19

กรุงเทพฯ (มีนาคม 2564) – กลุ่มธุรกิจ TCP สนับสนุนสภากาชาดไทยมอบเครื่องเอกซเรย์แก่ 3 โรงพยาบาลสนามเพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วยโรคโควิด-19 รวมถึงใช้วินิจฉัยโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ที่คิดค้นโดยฝีมือคนไทย จากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกอบด้วย เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก บอดีเรย์ เอส จำนวน 2 เครื่อง มอบแก่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก และโรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล บอดีเรย์ อาร์ จำนวน 1 เครื่อง มอบแก่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จังหวัดสมุทรสาคร มูลค่าราว 4.3 ล้านบาท

นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “ในปัจจุบัน ยังมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 และมีความเสี่ยงติดเชื้อที่ต้องได้รับการรักษาและคัดกรองอยู่อย่างต่อเนื่อง นำมาสู่ปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลสนามที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เฝ้าระวัง เราจึงร่วมมือกับสภากาชาดไทยเพื่อมอบเครื่องเอกซเรย์แก่โรงพยาบาลเหล่านี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ป่วยโรคโควิด-19 รวมถึงโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ในอนาคต”

เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอกและชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัลเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นและวิจัยโดยคนไทยเพื่อคนไทยอย่างแท้จริง เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติ เพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นเน้นบริเวณปอด เครื่องผ่านมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยทางรังสี จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงความปลอดภัยทางระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 (ระบบการบริหารจัดการคุณภาพเครื่องมือแพทย์) จึงมั่นใจได้ว่าจะช่วยให้การรักษาโรคโควิด-19 รวมถึงโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ มีประสิทธิภาพขึ้น  

จุดเด่นของเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอกและชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล ได้แก่

Advertisement
  • สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

ภาพประกอบเพิ่มเติม

ภาพที่ 1

Advertisement

บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา) 

  1. นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
  2. นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
  3. ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ คณะกรรมการสภากาชาดไทย และที่ปรึกษาอาวุโส สวทช.
  4. คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย
  5. นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP
  6. นางสาวนุชรี อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจ TCP
  7. ดร. เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี นักวิจัยอาวุโส ศูนย์ A-MED สวทช.
  8. ดร. อุดมชัย เตชะวิภู นักวิจัย ศูนย์ A-MED สวทช.

 

 

ภาพที่ 2

บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา) 

  1. นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
  2. นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP
  3. นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
  4. ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ คณะกรรมการสภากาชาดไทย และที่ปรึกษาอาวุโส สวทช.
  5. คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย
  6. นายแพทย์ พรเทพ พงศ์ทวิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จังหวัดสมุทรสาคร
  7. นายแพทย์ ธวัชชัย เศรษฐศุภพนา  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
  8. นายแพทย์ ธนพัฒน์ พวงเพชร รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
  9. นายแพทย์ ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
ภาพที่ 3-4

เครื่องเอกซเรย์ที่กลุ่มธุรกิจ TCP มอบให้แก่สภากาชาดไทย เพื่อส่งต่อ 3 โรงพยาบาลสนาม
ช่วยคัดกรองผู้ป่วยโรคโควิด-19

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แผนกสื่อสารองค์กร กลุ่มธุรกิจ TCP: โทรศัพท์ 02-415-0100  ปภาดา ตวงหิรัญวิมล (ต่อ 1274)
ฮิลล์แอนด์นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย: โทรศัพท์ 02-627-3501 ศุภลักษณ์ หมื่นจร (ต่อ 218)
ชลธร ลักคนาชีวิน (ต่อ 118)

เกี่ยวกับกลุ่มธุรกิจ TCP

กลุ่มธุรกิจ TCP ประกอบด้วยบริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าของกลุ่มธุรกิจ บริษัท ที.จี. เวนดิ้ง แอนด์ โชว์เคส อินดัสทรีส์ จำกัด เป็นเจ้าของและบริหารจัดการตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและแบรนด์อื่นๆ บริษัท เดอเบล จำกัด ดูแลการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและแบรนด์อื่นๆ และบริษัท ไฮ-เกียร์ จำกัด เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมส่งเสริมการขาย ด้วยทีมงานมืออาชีพ ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ TCP มีพนักงานกว่า 5,000 คน ในประเทศไทยและทั่วโลก

ผลิตภัณฑ์และแบรนด์ของ กลุ่มธุรกิจ TCP ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยและทั่วโลก ประกอบด้วย 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์รวม  9 แบรนด์ คือ กลุ่มเครื่องดื่มให้พลังงาน คือ กระทิงแดง เรดดี้ โสมพลัส และวอริเออร์ กลุ่มเครื่องดื่มสปอร์ตดริ้งค์ คือ สปอนเซอร์ กลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริ้งก์ คือ แมนซั่ม แมนซั่ม วิตามิน วอเตอร์ ไฮ่! กลุ่มเครื่องดื่มชาพร้อมดื่ม คือ เพียวริคุ ผลิตภัณฑ์เมล็ดทานตะวัน คือ ซันสแนค และกลุ่มหัวเชื้อเครื่องดื่ม คือ เรดบูลรสดั้งเดิม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image