แนวทางประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับประเทศ ตอนที่ 4 : เรียบเรียงโดย กฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต

แนวทางการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาฯ ในระดับประเทศ

1.ในภาพรวม โดยทั่วไปควรเริ่มจากการวางรากฐานให้ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยอยู่อย่างพอเพียง พอมีพอกิน และพึ่งตนเองได้ มีการขวนขวายหาความรู้และมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต มีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร โรงเรียน/สถาบันการศึกษา หน่วยงาน/องค์กรของรัฐ ธุรกิจภาคเอกชนและระดับประเทศ มีการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆ แห่งเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา และร่วมกันพัฒนาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างรู้รักสามัคคี และเสริมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชนให้เกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียงในที่สุด

2.แนวทางประยุกต์ใช้หลักปรัชญาฯ ในระดับประเทศ อาทิ

⦁ มีความพอประมาณ อาทิ

Advertisement

ส่งเสริมให้ประชาชนส่วนใหญ่ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ โรงเรียนและสถาบันการศึกษาของรัฐ ธุรกิจภาคเอกชน สมาคมวิชาชีพต่างๆ สังคม รัฐบาลและประเทศนำหลักปรัชญาฯ มาประยุกต์ใช้/ ด้านบุคคลเน้นนโยบายให้บุคคลพึ่งพาตนเอง พัฒนาศักยภาพของประชาชน การบริการของรัฐในด้านต่างๆ อย่างทั่วถึง ไม่สนับสนุนให้ประชาชนก่อหนี้สินเกินความจำเป็น/ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็งและร่วมมือกันเป็นเครือข่าย ไม่ว่าอยู่ในพื้นที่ใด หรืออาชีพอะไร/สร้างความสมดุลในทุกสาขาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

⦁ ความมีเหตุผล อาทิ

การลงทุนเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลต้องมีความคุ้มค่า และการกำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงผลกระทบระยะยาวมากกว่าระยะสั้น/ นโยบายของรัฐต้องนำไปสู่การแก้ปัญหาและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ด้านสังคม และคุณภาพชีวิต การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เป็นต้น/ ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐและการดำเนินธุรกิจของเอกชน/การบูรณาการ การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างหน่วยงานราชการและภาคส่วนอื่นๆ/การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area based Development) ให้เป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

Advertisement

⦁ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี อาทิ

– ด้านเศรษฐกิจ ต้องมีแผนรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า เช่น ผลกระทบจากเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ วิกฤตค่าเงิน ภัยสงคราม เป็นต้น

– ด้านสังคม รัฐต้องมีนโยบายสร้างระบบตาข่ายทางสังคม (Social Safety Net) เพื่อดูแลผู้เดือดร้อนต่างๆ เช่น การประกันการว่างงาน การประกันอุบัติภัยต่างๆ เป็นต้น

⦁ การมีความรู้ อาทิ
ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล/ มีระบบการวางแผน การวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีและระบบข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย/ นโยบายของรัฐต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/ นโยบายของรัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจและปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

⦁ การมีคุณธรรม อาทิ
การส่งเสริมระบบคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการในการบริหารจัดการและการบังคับบัญชา/การเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการในวงกว้าง

ส่งเสริมด้านธรรมาภิบาลของภาครัฐ ภาคเอกชนและบรรษัทภิบาลที่ดี/การดำเนินนโยบายของรัฐบาลหรือภาครัฐให้เป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เป็นต้น

แนวคิดการสร้างสังคมพอเพียง

ในการสร้างสังคมพอเพียง รัฐบาล ภาครัฐทุกระดับ ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน (รวมเกษตรกร) ในทุกพื้นที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน (รวมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด) รัฐบาลในส่วนกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับและทุกประเภท รัฐสภา พรรคการเมืองทุกพรรค หน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ โรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ธุรกิจภาคเอกชนและสมาคม/ผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ (รวมกลุ่มเกษตรกร และอาชีพอื่นๆ)

และรัฐบาลต้องนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและดำเนินงานหรือปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีจังหวัดพอเพียง ประเทศพอเพียง และเชื่อมต่อกับสังคมโลกให้เป็นสังคมพอเพียงได้ในที่สุด (ดังภาพ)

 

เรียบเรียงโดย
กฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image