สตาร์ตอัพจุฬาฯลุยผลิตวัคซีนโควิดขายปีปลายปี64

สตาร์ตอัพจุฬาฯลุยผลิตวัคซีนโควิดขายปีปลายปี64

ผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมกิจการของคนไทยที่รับการส่งเสริมการลงทุนที่เป็นอุตสาหกรรมเป้า และถือเป็นกิจการที่สร้างฐานความรู้ให้แก่สังคมไทย ได้แก่ บริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด และบริษัท แนบโซลูท จำกัด จัดตั้งโดยคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เดชคุณวุฒิ ประธานกรรมการ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ตอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ซียู อินโนเวชั่น ฮับ ได้รับการส่งเสริมการงทุนจากบีโอไอในกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตที่ใช้เซลล์พืช เงินลงทุน 3.94 ล้านบาท ผลิตเพื่อส่งออกกว่า 70% กล่าวว่า บริษัทกำลังพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 มี 6 ชนิดและกำลังจะทดสอบกับคน 1 ชนิด หากผ่านจะได้เห็นวัคซีนของคนไทยที่จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565 คาดว่าจะมีกำลงผลิต 2 ล้านโดสต่อเดือน ราคาจะไม่เกิน 500 บาทต่อโดส ขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างทดสอบยารักษาโควิด-19 ซึ่งกำลังรอทดสอบในสัตว์ทดลองคือหนูแฮมสเตอร์ที่รอการนำเข้ามาจากต่างประเทศ หากสำเร็จทั้งหมดบริษัทมีแผนลงทุนโรงงานผลิตวัคซีนและอื่นที่เกี่ยวข้องรวม 500 ล้านบาทซึ่งกำลังพิจารณาหารูปแบบการร่วมลงทุนอยู่

Advertisement

ภญ.พุทธิมน ศรีบนฟ้า ประธานกรรมการ บริษัท แนบโซลูท จำกัด สตาร์ตอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะ จากซียู อินโนเวชั่น ฮับ ได้รับส่งเสริมในกิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ เงินลงทุน 3.46 ล้านบาท กล่าวว่า บริษัทได้รับส่งเสริมฯกิจการให้บริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ 2 เรื่อง คือ การทดสอบประสิทธิภาพของชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(พีพีอี) ในการป้องกันเชื้อไวรัส และการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ อาทิ เครื่องสำอาง ยา สารสกัด และสารออกฤทธิ์ โดยใช้เทคนิคเซลล์เพาะเลี้ยง

ผศ.ภญ. ดร.จิตติมา ลัคนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บ.แนบโซลูท จำกัด กล่าวว่า หากเป็นไปอยากให้รัฐได้วางโรดแมพในการสร้างเครือข่ายผลักดันผลงานวิจัยและพัฒนาของคนไทยให้ต่างชาติเห็นไม่ใช่แยกเป็นแต่ละรายดำเนินการเช่นขณะนี้

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image