ค้าภายใน ชี้ประกันรายได้สร้างหลักประกันอาชีพเกษตร ยันโปร่งใส ทุกบาทเข้าบัญชีเกษตรกร

ค้าภายใน ชี้ประกันรายได้สร้างหลักประกันอาชีพเกษตร ยันโปร่งใส ทุกบาทเข้าบัญชีเกษตรกร

เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวในวงเสวนา หัวข้อ “โครงการประกันรายได้สินค้า 5 สินค้าเกษตร” ในงานสัมมนาเรื่อง “ประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 สินค้า โดยกระทรวงพาณิชย์” ในรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟซบุ๊ก เครือมติชน ไลน์ออฟฟิเชียลมติชน และยูทูบมติชนทีวี ที่อาคารสํานักงาน บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน)

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

ตัวแทนเกษตรกรเดินทางฟังสัมมนา “ประกันรายได้สินค้าเกษตรฯ” เข้มข้น “จุรินทร์” ชูธง “ประกันรายได้ พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย”
เริ่มแล้ว! สัมมนา “ประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 สินค้า โดยกระทรวงพาณิชย์”
จุรินทร์ นำ “ประกันรายได้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย” เดินหน้าปี 3 สู่ปีที่ 4 ชี้ตัวช่วย ศก. รายได้ การเมือง

Advertisement

นายวัฒนศักย์กล่าวว่า โครงการประกันรายได้เป็นการจ่ายส่วนต่าง และโอนเข้าบัญชีพี่น้องเกษตรกรโดยตรง โดยเอาเงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายออกไปก่อน แล้วค่อยตั้งเบิกกับทางรัฐบาล เงินไม่ได้หนีไปไหน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน พี่น้องเกษตรกร เข้ามาช่วยกันวางแผนระบบ กำหนดราคา ยืนยันโครงการประกันรายได้มีความโปร่งใส

นายวัฒนศักย์กล่าวว่า พืชเกษตรต้องกินต้องใช้ บางประเทศมีเงิน แต่ไม่รู้ตรงไหนจะเอามารับประทาน ต้องรักษารากเหง้าของประเทศไทย ให้รู้สึกว่ามีความมั่นคงมีอาชีพ การประกันรายได้มีเพียงพอในระดับหนึ่ง มีมาตรการคู่ขนานยกระดับราคาที่สูงขึ้น โดยผลักดันการส่งออก สินค้าเกษตรยังไปได้ดี อีกทั้งสินค้าเกษตรยังสามารถพัฒนาต่อยอดแปรรูปได้ เช่น มันสำปะหลังทำเป็นภาชนะ ข้าวทำเป็นเครื่องสำอาง ส่งผลดีกับเกษตรกร สร้างรายได้ให้กับประเทศ

Advertisement

“การประกันรายได้สามารถสร้างหลักประกันในอาชีพเกษตร ให้มีความมั่นคง พร้อมมาตรการคู่ขนาน เพื่อให้กลไกตลาดทำงาน พร้อมยกราคาให้สูง ให้ตอบโจทย์พี่น้องเกษตรกรได้”

นายวัฒนศักย์กล่าวว่า โดยมาตรการต่างๆที่ออกมาคู่ขนาน มาตรการเสริมเข้ามา อย่างเรื่องข้าวเราก็จะมีโครงการให้เกษตรกรชะลอขาย หมายความว่าไปเก็บในยุ้งก่อน เก็บเสร็จแล้วเอาข้าวไปที่ ธ.ก.ส. ตีมูลค่าเอาเงินออกมาใช้ก่อน ถึงเวลาราคาดีขึ้นก็ไปไถ่ออกมา เหมือนกันกับสหกรณ์โรงสี เราก็มีอินเซนทีฟช่วยในเรื่องของดอกเบี้ย เพื่อให้เขามีกำลังในการรับซื้อผลผลิตจากพี่น้องเกษตรกร เพราะถ้าเกิดไม่มีตัวกลไกที่สร้างให้เขารู้สึกตื่นตัวที่จะเข้าไปรับซื้อ

ส่วนมันสำปะหลัง มีมาตรการรวบรวมให้ผู้รวบรวม ว่าจะเป็น ผู้ส่งออก โรงแป้ง ในการที่จะไปรับซื้อ แปรรูป และส่งออก เป็นขานึง แต่อีกขานึงเราก็คู่ขนานไปกับการพัฒนาคุณภาพ ที่ผ่านมาปีที่แล้วเราให้เครื่องสับมันไปกว่า 600 เครื่อง ปีนี้ โดยคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ที่ท่านจุรินทร์ เป็นประธาน ก็ได้อนุมัติไปอีก 600 กว่าเครื่อง

“ซึ่งที่ผ่านมาเครื่องสับมันเหล่านี้ได้เป็นประโยชน์กับกลุ่มเกษตรกรต่างๆ เอาไว้ใช้สับมัน แทนที่เขาจะขายเป็นหัวมันสด กก.ละ 2.50-2.70 บาท เขาไปสับตากแห้งและขายเป็นมันเส้น เรียกว่ามันสับ ได้ราคา กก.ละ 7-8 บาท ถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าและชะลอไม่ให้ผลผลิตออกสู่ตลาด เป็นอีกกลไกหนึ่งไม่ให้ผลผลิตออกมากดทับราคาในตลาด” นายวัฒนศักย์กล่าวว่า

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image