โครงการออกแบบและจัดทำแผนแม่บท Smart City ของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โซน C

โครงการออกแบบและจัดทำแผนแม่บท Smart City ของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โซน C

เพื่อขับเคลื่อนให้ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นโมเดลของเมืองต้นแบบที่มีความทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษในอากาศ และเป็นเมืองที่สร้างความสุขให้กับทุกคน บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ผู้บริหารโครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ได้นำเอากรอบแนวความคิดเมืองอัจฉริยะมาใช้ออกแบบและจัดทำแผนแม่บท Smart City ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีการสื่อสารมาบูรณาการเข้ากับการบริหารจัดการเมืองชาญฉลาด ในพื้นที่ส่วนขยาย โซน C

แผนแม่บท Smart City ของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โซน C เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซน C เพื่อก้าวสู่เมืองอัจฉริยะแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ภายใต้วิสัยทัศน์ “โมเดลของเมืองต้นแบบที่มีความทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษในอากาศ และเป็นเมืองที่สร้างความสุขให้กับทุกคน”

การพัฒนาในระยะแรกมุ่งเน้นการยกระดับความอัจฉริยะให้กับระบบควบคุมการเข้าออก โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจจับใบหน้าและระบบ Self-Check in เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บัตรประชาชนลงทะเบียนเข้าอาคารได้ด้วยตนเอง เพื่อลดระยะเวลาการรอคิวและลดความแออัดในการยืนยันตัวตนเข้าอาคารศูนย์ราชการฯ โซน C  พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในศูนย์ราชการฯ โดยติดตั้ง GPS และ CCTV บนรถโดยสารเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ และติดตามสถานการณ์เดินรถผ่านแอปพลิเคชัน และป้ายรถโดยสารอัจฉริยะ กรณีเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบที่จอดรถอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการหาจุดจอดรถและจองจุดจอดรถ เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดภายในศูนย์ราชการฯ รวมถึงผู้ใช้บริการที่ต้องการเดินทางโดยรถประจำทางหรือรถโดยสารภายในศูนย์ราชการฯ ก็สามารถติดตามสถานะ
การเดินรถแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย

บริเวณภายในอาคารมีการติดตั้งสื่อประชาสัมพันธ์ที่เป็นมากกว่าสื่อดิจิทัลทั่วไป โดยในอาคารจะมี        Digital Wall ขนาดใหญ่ที่แสดงข้อมูลสถานะสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซน C เช่น ปริมาณผู้ใช้บริการ คุณภาพอากาศภายในภายนอกอาคาร ปริมาณการจราจรในศูนย์ราชการ ปริมาณไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ฯลฯ โดยนำเสนอในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนไปตามสถานะของสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมี Digital Signage ที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการด้วยการใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์วัดระยะและกล้องที่สามารถตรวจจับเมื่อมีผู้รับบริการมายืนใกล้ ๆ สามารถทักทายเพื่อเสนอตัวให้ความช่วยเหลือและให้บริการตอบคำถามพื้นฐาน เช็คสถานะที่จอดรถ สถานะรถโดยสาร และแนะนำเส้นทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้

Advertisement

ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ผ่านซุปเปอร์แอปพลิเคชันของศูนย์ราชการ  (GCC Super Application) โดยแอปพลิเคชันจะทำหน้าที่นำเสนอบริการและข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานในยุคดิจิทัล และสนับสนุนให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซน C ได้อย่างครบครันและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

Advertisement

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้เช่าพื้นที่ ผู้ใช้บริการ รวมถึงสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ล้วนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image