คลัง กังวลมาตรฐานบัญชี9 ทำแบงก์รัฐล่ม เร่งหารือ ธปท. ออกมาตรการดูแล

แฟ้มภาพ

คลัง กังวลมาตรฐานบัญชี9 ทำแบงก์รัฐล่ม เร่งหารือ ธปท. ออกมาตรการดูแล

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (Thai Financial Reporting Standards) ฉบับที่ 9 ที่จะเริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2568 ว่า จะส่งผลให้สถาบันการเงินจำเป็นต้องมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นกว่าเดิม อาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของสถาบันการเงินของรัฐ โดยเฉพาะธนาคารขนาดเล็กและเป็นธนาคารที่มีหนี้ไม่ก่อให้เกินรายได้ (เอ็นพีแอล) สูง หากต้องการผ่อนปรนเงื่อนไขของ มาตนฐานรายงานการเงิน ฉบับที่ 9 ต้องหารือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหาแนวทางและมาตรการช่วยเหลือต่อไป เบื้องต้นการบรรเทาผลกระทบจากการนำมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่มาใช้นั้น กระทรวงการคลัง อาจเสนอให้นำเงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ( SFIF) มาช่วยเงินสำรองของธนาคารของรัฐที่จำเป็นต้องเพิ่มกองทุนสำรอง ตามมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ดังกล่าว

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานสมาคมสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ กล่าวว่า ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งจำเป็นต้องกันสำรองเพิ่ม ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ดังกล่าว แนวทางหนึ่งที่สามารถทำได้คือการลดต้นทุนของธนาคาร เพื่อนำเงินทุนไปเป็นสำรองเพิ่มขึ้นตามมาตรฐานบัญชีใหม่ ส่วนธนาคารออมสิน ไม่มีปัญหาในเรื่องการปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีใหม่

รายงานข่าวจาก กระทรวงการคลัง ระบุว่า กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ  SFIF) ถูกตั้งขึ้นตามกฎหมาย เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้มีความมั่นคง และมีเสถียรภาพ โดยให้สถาบันการเงินของรัฐ ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา 0.25% ของยอดเงินฝาก ที่ผ่านมากระทรวงการคลังให้ธนาคารของรัฐชะลอการใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ดังกล่าวไปจนถึงปี 2568 และให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการช่วยเหลือธนาคารของรัฐที่มีภารกิจในการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อาจเข้าถึงสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ตามปกติได้ยาก

Advertisement

รายข่าวระบุว่า มาตรฐานบัญชีในปัจจุบัน ถ้าปล่อยสินเชื่อใหม่ 100 บาท ธนาคารจะต้องสำรองทันที 1% ของ 100 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ถ้าสินเชื่อค้างชำระเกิน 90 วันเป็นเอ็นพีแอล ธนาคารต้องเพิ่มสำรองจาก 1 บาท เป็น 100 บาท ในระบบปัจจุบัน ถ้าสินเชื่อตัวนี้ 100 บาทมีหลักประกัน 70 บาท ตอนปล่อยธนาคารสำรองแล้ว 1 บาท แต่ตอนเป็นหนี้เสียแล้ว ธนาคารจะสำรองเฉพาะส่วนต่าง (ในส่วนที่ไม่มีหลักประกัน) คือ 30 ดังนั้นหากหนี้เสียเป็นหนี้ที่มีหลักประกันเยอะสำรองก็จะน้อยลง แปลว่าคนปล่อยสินเชื่อสำรองน้อยหรือไม่ต้องสำรองเลย เพราะมีหลักประกันคุ้มมูลหนี้

รายงานข่าวระบุว่า ขณะที่มาตรฐานบัญชีใหม่ ถ้าปล่อยสินเชื่อ 100 บาท ไม่ต้องสำรอง 1 บาท แต่สำรองตามความเสี่ยงจริงของสินเชื่อในแต่ละประเภท หากสินเชื่อในกลุ่มหนึ่งมีความเสี่ยงแล้วต้องกันสำรองเพียง 10% ขณะที่ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารอยู่เพียง 2% หมายความว่า สินเชื่อในกลุ่มนี้แม้ธนาคารปล่อยออกไปแล้ว 5 ปียังไม่คุ้มทุนเลย นี่คือความเสี่ยง ดังนั้นต่อไปพอเปลี่ยนมาตรฐานบัญชี ธนาคารรัฐจะช่วยคนยากขึ้น ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งไม่อยากปล่อยสินเชื่อฐานรากที่มีความเสี่ยงสูง ยิ่งไม่ปล่อยมากขึ้น เพราะปล่อยแล้วขาดทุนเลย แต่ธนาคารรัฐยังต้องปล่อยอยู่ นอกจากนั้น มาตรฐานบัญชีใหม่นี้ไม่ได้ใช้เฉพาะกับหนี้ในอนาคตเท่านั้น แต่หนี้ในอดีตทั้งหมดของธนาคารด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image