‘ครูตั้น’ ดึงนานาชาติหนุนปฏิรูปการเรียนรู้

เมื่อวันที่27 กันยายนนายณัฏฐพลทีปสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่าตามที่ตนได้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติเรื่องการขับเคลื่อนทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ในโรงเรียนตามคำเชิญอย่างเป็นทางการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาและกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานผู้ประสานงานโครงการประจำประเทศไทยที่National Endowment for Science, Technology and the Arts (NESTA) กรุงลอนดอนสหราชอาณาจักร  เมื่อเร็วๆนี้นั้นตนได้บรรยายในหัวข้อการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อการพัฒนานวัตกรรม” (Reforming Education System for Innovation) ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการศธ.ออสเตรเลียและรรัฐมนตรีว่าการศธ.แคว้นเวลส์สหราชอาณาจักรโดยมีผู้แทนรัฐบาลนักการศึกษาชั้นนำระดับโลกนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสมาชิกวุฒิสภาศิลปินและผู้บริหารองค์กรการศึกษากว่า200 คนจากทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมตนมีความตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะสนับสนุนการทำงานของโครงการและแผนงานที่ดีและได้รับการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศอย่างโครงการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ที่กสศ. สพฐ. และองค์การOECD ร่วมดำเนินงานมา3 ปีจนประสบความสำเร็จในวันนี้โดยตนต้องการเห็นแผนการขยายผลการดำเนินงานในประเทศไทยในขั้นตอนต่อไปที่ยังคงรักษาคุณภาพการดำเนินงานและสามารถขยายการดำเนินงานสู่ระดับชาติได้ในอนาคตอันใกล้นี้

รัฐมนตรีว่าการกล่าวต่อว่า  ตนมีความตั้งใจจะทำให้ทุกโรงเรียนในประเทศไทยมีInternet ความเร็วสูงทุกโรงเรียนและมิใช่เฉพาะห้องผู้บริหารในโรงเรียนแต่ต้องมีสัญญาณถึงทุกห้องเรียนห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และห้องสมุดเพื่อให้นักเรียนไทยทุกคนมีโอกาสที่เสมอภาคในการเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากทั่วโลกรวมทั้งครูและผู้บริหารสถานศึกษาสามารถเข้าถึงเครื่องมือและแนวทางพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่21 และทักษะภาษาอังกฤษในสถานศึกษาของตนได้อย่างเต็มที่

หากสถานศึกษาและครูต้องการการสนับสนุนการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคตอย่ากังวลเรื่องงบประมาณหรือเรื่องการหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถวันนี้ศธ. และกสศ. ได้มีความร่วมมือที่ชัดเจนและต่อเนื่องกับองค์การระหว่างประเทศชั้นนำของโลกอย่างOECD แล้วในฐานะรมว.ศธ. จะดึงเอาความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอกประเทศเข้ามาช่วยสนับสนุนครูไทยที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่21 อย่างเต็มที่ไม่ต้องกังวลเรื่องงบประมาณนายณัฏฐพลกล่าว

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ศธ.จะตัดลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นและไม่เกิดประโยชน์โดยตรงต่อผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมาสนับสนุนมาตรการดังกล่าวให้เกิดความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนภายในวาระการบริหารราชการกระทรวงของตนให้ได้

Advertisement

นอกจากนั้นรัฐมนตรีว่าการศธ.ได้หารือระดับทวิภาคีกับMr.Andreas Schleicher, Director for the Directorate of Education and Skills ผู้แทนองค์การOECD เรื่องแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์การOECD ทั้งในโครงการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์และโครงการอื่นๆในฐานะที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นAssociate Member ของPISA Governing Board (PGB) กระทรวงศึกษาธิการในปีนี้โดยมีผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) และรองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเข้าร่วมหารือด้วยโดยผู้แทนองค์การOECD ยินดีสนับสนุนนโยบายและการปฏิรูประบบการศึกษาของรมว.ศธ. ไทยอย่างเต็มที่โดยพร้อมจะให้ทีมงานของOECD จัดทำรายงานวิเคราะห์เชิงลึกจากผลการสอบPISA ประจำปี2018 ที่มีกำหนดจะประกาศผลอย่างเป็นทางการในปลายปีนี้ให้กระทรวงศึกษาธิการนำไปใช้สนับสนุนนโยบายปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบของรมว.ศธ. และรัฐบาลไทยในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ดร.ไกรยสภัทราวาทรองผู้จัดการกสศ. และดร.ณัฐาเพชรธนูผอ.ศูนย์PISA สำนักทดสอบทางการศึกษาสพฐ. ได้ร่วมกับผู้แทนจากประเทศฮังการีและแคว้นเวล์สสหราชอาณาจักรนำเสนอผลการวิจัยพัฒนาและการประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ที่ได้ดำเนินการร่วมกับองค์การOECD มาตลอด3 ปีพบว่าครูไทยที่เข้าร่วมโครงการวิจัยจาก110 โรงเรียนครอบคลุมนักเรียนกว่า1,500 คนสามารถใช้เครื่องมือส่งเสริมความคิดฯจากองค์การOECD ได้ผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะความคิดสร้างสรรค์แบบอเนกนัยทั้งด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนไทยได้แสดงพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์นี้ได้อย่างโดดเด่นในลำดับต้นๆของ11 ประเทศที่เข้าร่วมโครงการตลอด3 ปี

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ทางสพฐ. และกสศ. เตรียมแผนการขยายผลการดำเนินงานของโครงการตามนโยบายของรมว.ศธ. พร้อมทั้งเชื่อมโยงการทำงานกับสสวท. ไปในปีงบประมาณ2563 ต่อไปโดยผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลรายละเอียดและรายงานผลการวิจัยที่เป็นทางการจากองค์การOECD ได้ที่research.eef.or.th

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image