จี้สช.เอาผิดร.ร.รับครูไร้ ‘ตั๋ว’สอนเด็ก นักวิชาการติงจริยธรรมครูอ่อนแอ

จี้สช.เอาผิดร.ร.รับครูไร้ ‘ตั๋ว’สอนเด็ก นักวิชาการติงจริยธรรมครูอ่อนแอ

ครูโหด-กมว. จี้สช.เอาผิดร.ร.รับครูไร้ ‘ตั๋ว’ สอนเด็ก นักวิชาการติง จริยธรรมครูอ่อนแอ เห็นการทำรุนแรงกับเด็กเป็นเรื่องปกติ

จากกรณีครูอัตราจ้างโรงเรียนโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ ทำร้ายร่างกายนักเรียน จนเป็นเหตุให้ผู้ปกครองโมโห เข้าทำร้ายร่างกายของครู นั้น  ล่าสุดโรงเรียนได้ไล่ออกครูรายดังกล่าวแล้วนั้น

อ่าน

วิจารณ์แซ่ด! ครูร.ร.ดัง กระชากหัวเด็กอนุบาลตัวปลิว ผลักล้มกับพื้น ผปค.ถึงกับรับไม่ได้

Advertisement

โซเชียลเดือด! แห่ถล่มครูจุ๋ม ทำร้ายเด็กอนุบาล จนปิดเฟซบุ๊ก-ไอจี หนี

ผู้ปกครองรุมทำร้ายครู หลังตบลูกตัวปลิว รับไม่ได้ น.ร.เล่าถูกทำร้าย ถึงกับนอนละเมอ

เมื่อวันที่ 26 กันยายน นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) กล่าวว่า ตนทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว อยู่ระหว่างตรวจสอบ ถ้ามีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก็จะต้องถูกเพิก แต่ถ้าไม่มีโรงเรียนก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งการที่โรงเรียนเอกชนเปิดรับครูที่ไม่มีใบอนุญาตฯ มาปฏิบัติงานสอน ก็ถือว่ากระทำผิด เป็นเรื่องที่สช.ต้องตรวจสอบและดำเนินการเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

Advertisement

“กรณีนี้ ถ้ามีหลักฐานชัดเจนปลายทางกมว.เพิกถอนใบอนุญาตฯ แน่นอน ซึ่งอยากย้ำว่า หากมีกรณีที่ครูทำร้ายเด็กขอให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่ทราบเบาะแสร้องเรียนมาที่คุรุสภาด้วย เพื่อจะะได้ลงไปตรวจสอบได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะหากไม่มีใครแจ้งมากมว.เองยอมรับว่าจะทราบปัญหาพร้อม ๆ กับทางสื่อมวลชน ทำให้การแก้ไขเป็นไปอย่างล่าช้า”นายเอกชัยกล่าว

นายสมพงษ์  จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า จริยธรรมของครูทุกวันนี้อ่อนแอลง อย่างกรณีครูชาย 5 คนที่จังหวัดมุกดาหาร รุมโทรมเด็ก แต่ครูที่รู้เห็นกลับไม่มีใครห้ามหรือตัดเตือน จนมาถึงกรณีนี้ที่ครูทำร้ายเด็ก ครูที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ไม่มีใครห้ามเช่นกัน ทำให้เห็นว่าจริยธรรมครูไม่มีการตรวจสอบ หรือถูกนำมาปฏิบัติใช้ หรือยึดถือในวิชาชีพ จนดูเหมือนว่า การทำรุนแรงกับเด็กเป็นเรื่องปกติ คนที่อยู่ในบรรยากาศก็ไม่ได้มองว่า เป็นเรื่องที่ผิด ห้องเรียนถูกปิด ขาดการตรวจสอบจากผู้บริหาร และผู้ปกครอง ซึ่งกว่าจะมาทราบเรื่องก็ต่อเมื่อเด็กถูกทำร้ายแล้ว ทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้นต่อไปนี้ ผู้ปกครองเองคงไม่ใช่มีหน้าที่เพียงแต่ส่งลูกเรียนเท่านั้น แต่ต้องคอยสังเกตุพฤติกรรมของลูกว่ามีความเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ เพื่อให้สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จะต้องลงไปดูแลโรงเรียนอย่างใกล้ชิด แต่เรื่องนี้กลับรู้สึกว่า ทางสช.เอง ออกมาดูแลเด็กช้าเกินไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image