ทายาท ‘จอมพล ป.’ อดคิดไม่ได้ ดนดีตกน้ำไม่ไหล? ชวนสืบต่อ ทำไมต้องลี้ภัย

ทายาท ‘จอมพล ป.’ อดคิดไม่ได้ ดนดีตกน้ำไม่ไหล? ชวนสืบต่อ ทำไมต้องลี้ภัย

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่มิวเซียมสยาม สำนักพิมพ์มติชน ผนึกกำลังพันธมิตร จัดงานใหญ่ “Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม” ครั้งที่ 2 มหกรรมความรู้ระดับประเทศ ที่รวม 7 ความเต็มอิ่มที่สุด ครบทั้งความรู้และความสนุกครบทั้งความรู้และความสนุก

บรรยากาศเวลา 14.30 น. BookLaunch: เปิดเรื่องลับเมื่อจอมพล ป. ลี้ภัย โดย นายประดาป พิบูลสงคราม ทายาทจอมพล ป., ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์, นายประเสริฐ ศิริ อดีตกำนันบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ผู้ขับเรือพาจอมพล ป. ไปส่งที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา หลังการรัฐประหาร 16 ก.ย. 2500, ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ดำเนินรายการโดย ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ อดีตคณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้ร่วมรับฟังอย่างล้มหลาม ทั้งประชาชน ตบอดจนเยาวชน และนักวิชาการ อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายสมชาย แซ่จิว ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จีน เป็นต้น

Advertisement

ในตอนหนึ่งเมื่อถามว่า หนังสือเล่มนี้จะสามารถให้ภาพจอมพล ป. หลังวางมือ สิ้นอำนาจไปแล้ว ในเรื่องอะไรบ้าง ?

นายประดาป พิบูลสงคราม ทายาทจอมพล ป. ประธานมูลนิธิจอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวว่า ตนเป็นนักการทูต แต่ตอนที่คณะราษฎรปฏิวัติ ตนอายุ 8 ขวบ จอมพล ป. ท่านเสียตอนที่ตนอายุ 15 ปี จึงไม่ค่อยรู้เรื่องมากนัก เตะฟุตบอลกับเพื่อนที่ ร.ร.กรุงเทพคริสเตียน มารู้ที่หลังจากการที่นักวิชาการที่เขียนหนังสือออกมาให้อ่าน อย่าง อาจารย์ชาญวิทย์, อ.ณัฐพล เป็นต้น

“พ่อผมเป็นลูกจอมพล ป. คนที่สอง ต้องขอบคุณมติชนที่ทำให้เราได้มีวันนี้ หนังสือเล่มนี้ กำนันโจ๊ด เขียนมา 30 กว่าปีมาแล้ว เขียนทุกเดือน 22 บท ประมวลและเรียงเรียบใหม่โดยมติชน เขียนคำนิยมโดย อ.ชาญวิมย์ มาอยู่ในเล่มนี้ ทำให้มันได้มาตรฐาน ต้องขอบคุณทีมงาน ที่ช่วยกันตรวจสอบ ผมคิดว่าการที่หนังสือได้มาเปิดตัววันนี้ เพราะความได้มาตรฐานของมติชน ขอบคุณอาจารย์ชาญวิทย์ และทีมงานทุกท่าน หลายอย่างเราก็เอามาจากเรื่องเก่า เมื่อ 30 ปีที่แล้ว บทความที่กำนันเขียนไว้ มาจับแพะชนแกะ ขอคำนำจาก อ.ณัฐพล”

Advertisement

นายประดาป กล่าวว่า ผมดีใจที่ช่วง 3 วันอันตรายของขอมพล ป. นั้น คนไทยจะได้อ่าน เพราะตนก็ยังไม่รู้ มารู้ทีหลังตอนเจอกำนันโจ๊ด อ่านบทความตอนแรก

“แล้วมาเอ๊ะ ว่าวันที่ 16 กันยายน ทำไมมีคนคิดว่า จอมพล ป.ไปด้วยรถซีตรองบางคนคิดว่าไป
ทันเดอร์เบิร์ด หรือ วิหคเหิรฟ้า เพิ่งเข้าใจว่าเป็นแผน ฟังจากญาติพี่น้อง ที่คุณพ่อเล่าให้ฟังว่า จอมพล ป .ให้รถทันเดอร์เบิร์ด ออกมาก่อน แล้วตัวเองไปรถซีตรอง ขับไปที่บ้านชิดลมก่อน แล้วถึงขับไปที่ตราดเลย” นายประดาปเผย

นายประดาปกล่าวต่อว่า ขอขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนี้ทุกท่านที่ทำให้คนไทยมีหนังสือเล่มนี้ให้อ่าน

“ผมขื่นชมกำนัน ผมเชื่อเรื่องโชค แต่ถ้าไม่มีฝีมือก็ไม่รอด หลายอย่างก็เป็นโชคด้วย อดคิดไม่ได้ที่คนไทยพูดกัน ‘คนดี ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้’ ท่านต้องอ่านดูว่าทำไม ถึงเป็นแบบนั้นได้ 17 กันยายน 2500 อยู่ได้จนถึง 11 มิถุนายน 2507 ก็ต้องตามอ่านดู” นายประดาปชี้

ในตอนหนึ่ง นายประดาปกล่าวว่า มีหลายประเด็นต้องสืบค้นกันต่อ อยากให้นักวิชาการช่วย คือ 1.ทำไมท่านถึงลี้ภัย

“บริบทตอนนั้นคือสงครามเย็น ท่านคิดสาระตะแล้วสิ่งที่ท่านกลัวคือ คอมมิวนิสต์มั่นคงของชาติเป็นหลัก ปี 2500 ท่านดูแล้ว คอมมิวนิสต์มาแรง พยายามหาทางที่เราจะไม่ต้องรับราฆ่าฟันกัน แต่ถ้าอเมริกันไม่เอาด้วยแล้ว พ่ายหมด ตอนหลังสิ่งที่จะสู้กับคอมมิวนิสต์ได้คือ ทหาร ไม่ใช่ตำรวจ ช่วงแรกที่ทานออกจากประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่ได้กะจะฆ่าท่าน ดีไม่ดีคาดหวังว่าจะเอาท่านกลับมาด้วยซ้ำไป พ่อผมได้ถูกตั้งให้เป็นทหารเรือ ที่ฝรั่งเศส จอมพลสฤษดิ์ไปถามที่บ้านว่ามีเงินใช้ไหม รออยู่ 1 เดือน จอมพล ป.ไม่กลับ

เพราะดีดลูกคิดแล้วคิดว่าสูตรนี้เท่านั้น ที่จะเอาสงครามเย็นอยู่ 16 ปีผ่านมามันก็จริง เป็นที่นักวิชาการต้องไปวิเคราะห์กันต่อ ที่ผมคิดว่าทำไมท่านถึงไม่สู้ เพราะรู้แล้วว่ามันจบ” นายประดาปกล่าว

ย้อนอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image