มองท่าที ชาติ ‘อาเซียน’ กับ ‘รัฐประหารในพม่า’

มองท่าที ชาติ ‘อาเซียน’ กับ ‘รัฐประหารในพม่า’ สิงคโปร์ ห่วงกังวล มาเลเซีย วอนเจรจา อินโดฯ ขอยึดหลักประชาธิปไตย ไทย-กัมพูชา “เป็นเรื่องภายในของเขา”

หลังจากกองทัพพม่าออกมาประกาศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน หลังจับกุมนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐหัวหน้าพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งไปอย่างถล่มทลาย ด้วยข้ออ้างว่ามีการทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้น

คลิกอ่าน มิน อ่อง ลาย ผบ.สูงสุด เมียนมา ยึดอำนาจแล้ว อ้างเหตุมีโกงเลือกตั้ง

ผู้นำชาติตะวันตกต่างออกมาแสดงท่าทีกับการรัฐประหารดังกล่าวโดยส่วนใหญ่แสดงความกังวลกับการก้าวถอยหลังของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของเมียนมาในครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา แคนาดา รวมถึงออสเตรเลีย

สถานทูตชาติตะวันตก หวั่นรปห.ในเมียนมา พร้อมใจจี้กองทัพ เคารพผลการเลือกตั้ง

Advertisement

เช่นเดียวกันกับประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมา ประเทศสมาชิกประชาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา แตกต่างกันไป

สิงคโปร์

Advertisement

เป็นประเทศแรกๆที่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุรัฐประหารในเมียนมา โดยกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์แสดงความ “ห่วงกังวลอย่างมากกับสถานการณ์ล่าสุดในเมียนมา” และหวังว่าทุกฝ่ายจะ “ใช้ความอดกลั้น” ในสถานการณ์ดังกล่าว

ประเทศไทย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมา จะส่งผลกระทบถึงไทยหรือไม่ว่า เป็นเรื่องภายในของเขา ส่วนจะกระทบไทยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของโควิด-19 อย่างเดียว

“เป็นเรื่องภายในของเขา กลัวเรื่องโควิดอย่างเดียว” พล.อ.ประวิตร ระบุ

คลิกอ่าน ‘บิ๊กป้อม’ เผย กองทัพเมียนมายึดอำนาจ เป็นเรื่องของเขา ห่วงกระทบไทยแค่โควิด

กัมพูชา

REUTERS/Kham/File Photo

สมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ระบุว่า การรัฐประหารในเมียนมา เป็นกิจการภายในของเมียนมา และปฏิเสธที่จะออกความเห็น

“กัมพูชา ไม่ออกความเห็นเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศใดๆ ทั้งในกรอบอาเซียน หรือประเทศอื่นๆ”

มาเลเซีย

กระทรวงต่างประเทศมาเลเซีย ออกแถลงการณ์ด้วยเช่นกัน โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในเมียนมา แก้ไขปัญหาความขัดแย้งจากการเลือกตั้งอย่างสันติหลังจากกองทัพออกมายึดอำนาจและควบคุมตัวผู้นำรัฐบาลที่มาจากการเลือตั้งซึ่งรวมไปถึงนางออง ซาน ซูจี

“มาเลเซีย สนับสนุนให้ผู้นำพม่าเจรจากันต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบในแง่ลบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศเมียนมา โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19” แถลงการณ์ระบุ

อินโดนีเซีย

ด้านอินโดนีเซีย แสดงท่าทีผ่านแถลงการณ์ของกระทรวงต่างประเทศเช่นกัน โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในเมียนมา ยึดถือหลักการประชาธิปไตยและการปกครองตามรัฐธรรมนูญ

“อินโดนีเซียเน้นย้ำเช่นกันว่าความขัดแย้งในการเลือกตั้งต้องแก้ไขด้วยกลไกทางกฎหมายที่มีอยู่”  นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ใช้ความอดกลั้นและเรียกร้องให้ยึดหลักการตาม “กฎบัตรอาเซียน” ที่ว่าด้วยเรื่องการยึดมั่นในหลักนิติธรรมหลังธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย

ฟิลิปปินส์ 

โฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ แถลงเช่นกันว่า ฟิลิปปินส์ ให้ความสำคัญกับชาวฟิลิปปินส์ในเมียนมา และมองเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นกิจการภายในที่ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง

“สิ่งสำคัญคือความปลอดภัยของชาวฟิลิปปินส์ในเมียนมา” แฮร์รี โรก โฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ระบุ

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image