สำรวจตัวเอง! กินเก่ง กินตลอด ‘หิว’ หรือ ‘เป็นโรค’ รู้จัก ‘โรคกินไม่หยุด’

สำรวจตัวเอง! กินเก่ง กินตลอด ‘หิว’ หรือ ‘เป็นโรค’ รู้จัก ‘โรคกินไม่หยุด’

อาหารเดี๋ยวนี้ตกแต่งหน้าตาดูสวยงาม กลิ่นห้อมหอม รสชาติดี มีให้เลือกมากมาย เจอทีเป็นต้องกิน บางทีเพิ่งกินมา แต่ของของชอบ ก็ซื้อไปกินต่อเลย จนบางครั้งอดสงสัยไม่ได้ว่า นี่เราหิวหรือเป็นโรคอะไรรึเปล่า!

ทำความรู้จัก “โรคกินไม่หยุด” Binge Eating Disorder (BED) แนะนำโดยโรงพยาบาลศิครินทร์ ดังนี้

โรคกินไม่หยุด คือ อาการรับประทานอาหารปริมาณมากผิดปกติโดยที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ผู้ที่มีอาการโรคกินไม่หยุดนี้ มักมีการรับประทานอาหารปริมาณมากกว่าปกติแม้ไม่รู้สึกหิว และไม่สามารถควบคุมการรับประทานของตนเองได้

Advertisement

ส่วนสาเหตุของอาการโรคกินไม่หยุด ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้น โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ เช่น

-โรคอ้วน พบว่าผู้ที่มีอาการโรคกินไม่หยุด มักมีโรคอ้วนเป็นโรคประจำตัว

-ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

Advertisement

-ขาดความมั่นใจในรูปร่าง และมีความพึงพอใจในรูปร่างของตนเองต่ำ

-เสพติดการลดน้ำหนัก เครียดกับการลดน้ำหนัก หรือเคยล้มเหลวในการลดน้ำหนัก

-เคยผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ

-มีประวัติคนในครอบครัวมีความเกี่ยวข้องกับโรคการกินผิดปกติ

-มีภาวะทางจิต อาทิ โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคไบโพลาร์ โรคกลัว (Phobias) และภาวะป่วยทางจิตหลังเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic Stress Disorder: PTSD)

ผู้มีอาการเสี่ยงเป็นโรคกินไม่หยุด มักมีพฤติกรรม ได้แก่

-รับประทานอาหารมากกว่าปกติ แม้ไม่หิว

-หยุดรับประทานไม่ได้แม้จะอิ่มแล้วก็ตาม

-รับประทานอาหารปริมาณมากๆ อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน

-อาจมีอาการข้างต่นตั้งแต่ 1-3 ครั้ง/สัปดาห์ และผู้ป่วยมักรู้สึกผิด เศร้า โกรธ ละอายใจ รังเกียจ หรือโทษตนเองที่รับประทานมากเกินไป

แน่นอนเมื่อกินไม่หยุด “ปัญหาสุขภาพ” ร้ายแรงก็อาจตามมา อาทิ

-โรคความดันโลหิตสูง

-โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง

-ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน

-เบาหวานชนิดที่ 2

-ปัญหาทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล

-ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

-ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อไทรอยด์ และอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ไม่ตก จึงทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นด้วย จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โดยการรักษาโรคกินไม่หยุด แพทย์อาจเลือกวิธีการรักษาที่สอดคล้องกับอาการและสาเหตุของโรคมากที่สุด คือ การใช้ยา หรือ การเข้ารับจิตบำบัด หากพบว่าตนเองหรือคนในครอบครัวมีอาการเสี่ยง หรือเข้าข่ายอาการของโรคกินไม่หยุด (BED) สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image