เช็กลิสต์ 4 ข้อ ‘คนทำงาน’ ป่วยโรค NCDs

เช็กลิสต์ 4 ข้อ ‘คนทำงาน’ ป่วยโรค NCDs

อึ้ง! วัยทำงาน 39 ล้านคน เสี่ยงป่วยโรค NCDs ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยในงาน เปิดเวทีพัฒนาศักยภาพนักสร้างสุขและนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในองค์กร ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย วิทยากร และการสร้างนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างสุของค์กรอย่างเป็นระบบ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โรงแรมโซ แบงคอก กรุงเทพฯ

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของคนวัยทำงาน จากรายงานสุขภาพคนไทยปี 2566 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ไทยมีคนวัยทำงานอยู่ 39 ล้านคน และส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์

โดยมีสาเหตุมาจาก 4 ปัจจัยหลัก

Advertisement

1.คนวัยทำงาน 1 ใน 5 มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ทุกวัน

2.คนวัยทำงานดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์

3.รับประทานอาหารจากร้านและตลาดเน้นหวาน มัน เค็มจัด

Advertisement

4.ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 รายงานว่า คนวัยทำงานทำกิจกรรมทางกายลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียง 63.31% ในปี 2566 จากเดิม 73.44% ในปี 2564

ทั้งนี้ สสส.จึงมุ่งสร้างเสริมทักษะนักสร้างสุของค์กร โดยใช้แนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) และแนวทางความสุขพื้นฐาน 8 ประการ (Happy 8) เพื่อส่งเสริมให้คนวัยทำงานมีความสุขควบคู่ไปกับการมีสุขภาวะที่ดี

“สสส.พัฒนานักสร้างสุของค์กรกว่า 2,000 คน เพื่อขยายผลการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรไปยังหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม และองค์กรพระพุทธศาสนาให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ล่าสุด สสส.ได้พัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพนักสร้างสุขและนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร เพื่อพัฒนาผู้ร่วมขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรใน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.พัฒนานักสร้างสุของค์กร ระดับต้น 2.พัฒนาวิทยากรนักสร้างสุข 3.พัฒนานวัตกรนักสร้างสุของค์กร โดยเน้นให้มีประสบการณ์และแนวคิดสุขภาวะในองค์กรได้อย่างมีระบบ พัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยเสริมการมีสุขภาวะที่ดี 4 มิติ ทั้งกาย จิต ปัญญา สังคม และขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมเรียนรู้เสริมทักษะการเป็นนักสร้างสุของค์กร สามารถเข้าร่วมได้ที่เว็บไซต์ thaihealthacademy.com” นพ.พงศ์เทพกล่าว

เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ลองหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ห่างไกลโรค NCDs

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image