‘บ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะ ของสะสมจากอดีตถึงปัจจุบันนับพันชิ้น

‘บ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์’ žแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะ ของสะสมจากอดีตถึงปัจจุบันนับพันชิ้น

จากความหลงใหลในศิลปะอย่างแท้จริง หลอมรวมเป็นแพชชั่น และความรักที่สั่งสมมาตลอดระยะเวลา 32 ปี จนเกิดเป็น บ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ž แหล่งรวมผลงานศิลปะไทย หลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน ประติมากรรม ศิลปะตกแต่ง รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ที่มีความน่าสนใจ นำมาจัดแสดงแบบมีชีวิตชีวา ทั้งด้านนอกอาคาร และในอาคาร สะท้อนให้เห็นพัฒนาการของศิลปะไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมี แพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ในโอกาสเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์บ้านคุณาวงศ์ พร้อมด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์สาขาต่างๆ ร่วมแสดงความยินดี

เสริมคุณ คุณาวงศ์ ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ นักสะสมผลงานศิลปะของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 32 ปี ที่ได้สะสมผลงานศิลปะทั้งหมด เกิดจากแพชชั่น ความรัก ความหลงใหลในความงามของศิลปะ ซึ่งผลงานที่สะสมล้วนแต่เป็นผลงานที่ทรงคุณค่าจากศิลปินที่มีความโดดเด่น โดยสะสมไปตามรสนิยมส่วนตัว เรียบเรียงตามช่วงเวลาของงานศิลปะยุคโบราณจนถึงศิลปะร่วมสมัย

Advertisement

Advertisement

สำหรับบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ เป็นโครงการต่อเนื่องจาก ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพž ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ประติมากรรมที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เปิดทำการในปี พ.ศ. 2547 และได้หยุดดำเนินการในปี พ.ศ.2565 หลังจากนั้น ได้นำคอลเล็กชั่นทั้งหมดมารวมกันที่บ้านพิพิธภัณฑ์แห่ง ใช้เวลาทำโครงการและก่อสร้างกว่า 8 ปี โดยคาดหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งรวมผลงานสะสมที่จะสืบต่อถึงคนรุ่นหลัง เพื่อให้ศิลปะไทยมีชีวิตชีวาต่อไป โดยเป็นเจ้าของร่วมกันกับลูกสาวทั้ง 2 คน ได้แก่ เหมือนฝัน สิริกรณ์ คุณาวงศ์ และ วาดฝัน คุณาวงศ์

ซึ่งในปีนี้ เรียกได้ว่าเป็นการกลับมาเปิดอย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากที่เปิดให้ชมในไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.2562 โดยมีแนวคิดที่จะแบ่งปันประสบการณ์ และสุนทรียภาพในการใช้ชีวิตกับศิลปะให้ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จึงได้ขยายพื้นที่และสร้างอาคารเพิ่มเติมสำหรับจัดแสดงงาน

ทั้งนี้ จากผลงานสะสมทั้งหมดที่ผ่านการคัดสรร โดยนำมาจัดแสดงในบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์รวมกว่า 1,000 ชิ้น บนพื้นที่ประมาณ 5,000 ตารางเมตร โดยจัดแสดงกับภูมิทัศน์ด้านนอกอาคารและในอาคาร ซึ่งแต่ละโซนจะมีแนวคิดและลักษณะศิลปะที่มีความชัดเจน นับเป็นแลนด์มาร์กในการท่องเที่ยวเชิงศิลปะแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ที่ให้ความรู้ ความเพลิดเพลิน และเป็นประโยชน์ต่อวงการศิลปะอีกด้วยŽ

โดยบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์จะแบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน และอีก 19 โซนย่อย ซึ่งในแต่ละโซนจะมีเอกลักษณ์และเรื่องราวซ่อนอยู่ในผลงาน เริ่มที่ CUBIC BUILDING (อาคารคิวบิค) อาคารอเนกประสงค์ 5 ชั้น ที่มีห้องสำหรับใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย แบ่งออกเป็น 7 โซนจัดแสดง อาทิเช่น ห้องครุฑ (Grand Garuda Room), ห้องรับประทานอาหาร, ห้องพาเลอร์ (The Parlour)

ชมศิลปะร่วมสมัย ที่ อาคาร THE RESIDENCE (เดอะ เรสซิเดนซ์) ส่วนของบ้านพักอาศัย ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของครอบครัวคุณาวงศ์ในปัจจุบัน โดยบริเวณพื้นที่ภายในบ้าน จะจัดแสดงผลงานศิลปะตั้งแต่โบราณวัตถุ ศิลปะไทยประเพณี ไปจนถึงของตกแต่งบ้านจากหลากหลายเชื้อชาติ แบ่งออกเป็น 11 โซนย่อย อาทิ โถงบทสนทนาของยุคสมัย, ห้องมรดกไทย

และส่วนสุดท้ายที่จะนำพาผู้มาเยือน สัมผัสความหมายของชีวิต ณ THE GARDEN OF LIFE (สวนแห่งชีวิต) ที่จัดแสดงผลงานประติมากรรม บริเวณสวนด้านหน้าบ้านพิพิธภัณฑ์ โดยผลงานทั้งหมด จะสะท้อนให้เห็นแนวความคิดของพุทธศาสนา ธรรมะ ธรรมชาติ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ชีวิตของมนุษย์ในหลากหลายแง่มุม

นอกจากนี้ ยังมีโซนที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ ก้องกาน, ครูปาน-สมนึก คลังนอก, ครูโต-ม.ล.จิราธร จิรประวัติ,พัดยศ พุทธเจริญ, อินสนธิ์ วงศ์สาม หรืองานจัดแสดงศิลปะเครื่องเคลือบสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูป ตู้พระ ชฎานาง รัดเกล้าเปลว และหีบพระธรรมคัมภีร์สมัยรัชกาลที่ 4 จัดแสดงบนตั่งไทยที่มีความประณีตงดงามในสมัยรัชกาลที่ 4-5 รวมไปถึง ในตู้หุ่น จัดแสดงผลงานหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น หุ่นและศีรษะโขน งานฝีมือชั้นครูจากหลากหลายสำนัก ซึ่งล้วนเป็นสมบัติที่ควรเก็บรักษาให้ลูกหลานได้ชื่นชมและภาคภูมิใจในอารยธรรมของชาติ

สำหรับบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ ตั้งอยู่เลขที่ 33 ในซอยลาดพร้าว 54 สามารถจองผ่านเว็บไซต์ www.zipeventapp.com โดยเปิดให้เข้าชมทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-18.00 น. โดยมีค่าสนับสนุนบ้านพิพิธภัณฑ์ ราคา 450 บาท และผู้เข้าเยี่ยมชมต้องมีอายุ 13 ปีขึ้นไป

สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 06-1626-4241 และ ID Line : @kunawonghouse

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image