ทำความรู้จัก สารประกอบไฮโดรคาร์บอน C9+ เหตุไฟไหม้แท็งก์แก๊สบริษัทดังมาบตาพุด

รู้จัก Pyrolysis Gasoline สารที่ทำให้เกิดพิษต่อระบบหายใจ หัวใจ ประสาท เหตุไฟไหม้แท็งก์แก๊สบริษัทดังมาบตาพุด 

จากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ ถังเก็บสารประกอบไฮโดรคาร์บอน C9+ หรือ เรซินปิโตรเลียม ของ บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ถนนไอ-แปด ทางเรือมาบตาพุด ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ส่งผลให้มีควันพวยพุ่งขึ้นทั่วท้องฟ้า และเปลวไฟลุกไหม้บนถังแก๊สโซลีน เบื้องต้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 3 ราย ได้นำตัวส่ง รพ.กรุงเทพระยอง และทำการอพยพผู้ที่อยู่ภายในจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ออกมาในจุดปลอดภัยแล้ว

ซึ่งทางบริษัทได้ออกมาแถลงการณ์ชี้แจงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ว่า ไม่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน C9+ ดังกล่าว ได้มีการแยกเบนซีน โทลูอีน มิกซ์ไซลีน ออกหมดแล้ว ปัจจุบัน สารนี้ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ (Solvent) ที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระดับต่ำตามที่ได้นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม แฟนเพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ได้โพสต์รูปภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า “ข้อมูลล่าสุดแท็งก์เก็บสารเคมีที่เกิดไฟไหม้ที่ระยอง คือ สารตัวนี้ครับ อันตรายมาก พ่อแม่พี่น้องประชาชนในพื้นที่อพยพออกนอกพื้นที่โดยด่วน และถ้ามีอาการตามข้างล่างนี้ให้รีบพบแพทย์ทันที”

Advertisement

โดยภาพที่ได้แนบไว้ได้นำเสนอข้อมูลไว้ ดังนี้

Drama-addict ได้ระบุว่าสารเคมีตัวที่เกิดเพลิงลุกไหม้ คือ ไพโรโลซิส แก๊สโซลีน (Pyrolysis Gasoline) เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารผสม ซึ่งส่งผลทำให้เกิดพิษต่อหลายระบบในร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบหายใจ หัวใจ และระบบประสาทอย่างรุนแรง

โดยผู้ที่ได้รับสารพิษจะมีอาการ ดังนี้

Advertisement
  • ปวดหัว คลื่นไส้ อาจกดทับประสาทถึงขั้นหมดสติ
  • ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร อาจถึงขั้นสำลักอาเจียน
  • ระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแพ้ และคัน
  • ระคายเคืองต่อจมูก และอาจมีเลือดกำเดาไหล

ซึ่งหากผู้ใดมีอากาศผิดปกติดังกล่าวควรรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที

ส่วนวิธีป้องกันไม่ให้ได้รับสารดังกล่าวสามารถทำได้ ดังนี้

  • หลังอพยพ เปิดประตูหน้าต่างระบายอากาศ
  • สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน
  • ถอดเครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย ล้างด้วยน้ำสะอาด
  • ล้างตาด้วยน้ำเกลือ (Normal Saline)

หากสัมผัสกับสารเคมีอันตรายควรทำอย่างไร

  • หากสัมผัสสารเคมีที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด เพื่อให้สารเคมีเจือจาง
  • กรณีสัมผัสทั่วร่างกายให้รีบถอดเสื้อผ้าออก
  • กรณีสารเคมีเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้ไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว
  • หากสูดดม ให้ย้ายผู้ที่ได้รับสารไปที่อากาศบริสุทธิ์ ประเมินการหายใจ และการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ทำการ CPR และรีบขอความช่วยเหลือ เพื่อส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน C9+ เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by product) จากการผลิตสารตั้งต้น เพื่อผลิตเม็ดพลาสติก ที่อยู่ในถังจัดเก็บดังกล่าวได้มีการแยกเบนซีน โทลูอีน มิกซ์ไซลีน ออกหมดแล้ว ปัจจุบันสารนี้ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ (Solvent)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image