จี้ ก.พาณิชย์ถอนสิทธิบัตรต่างชาติยื่นขอกัญชา 6 รายการ จ่อฟ้องศาลคุ้มครอง

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เปิดเผยว่า ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พ.ส.2522 มาตรา 9 (1) ระบุว่า จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ. หรือ ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ แน่นอนว่ากัญชาเป็นพืชไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ประเทศไทยไปทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือที่เรียกว่า PCT (Patent Cooperation Treaty) (พีซีดี) โดยกำหนดว่าการยื่นขอสิทธิบัตรระหว่างประเทศที่ยื่นไว้ที่ประเทศสมาชิกหนึ่งจะมีผลให้ความคุ้มครองในประเทศสมาชิกที่เหลือทั้งหมด ซึ่งถ้าประเทศสมาชิกใดประเทศหนึ่งจะขอจดสิทธิบัตรก็จะยื่นมาถามประเทศสมาชิกว่ายอมรับหรือไม่ หากยื่นมาสอบถามไทยและไม่ขัดข้อง ระบบจะอนุมัติมาขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรไทย โดยไม่ต้องประเมินอีก ปัจจุบันสิทธิบัตรกัญชาก็มีการจดในหลายประเทศแล้ว โดยจะยื่นจดเป็นสารกัดจากพืชกัญชา เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น 

“ปรากฎว่ามีเรื่องโป๊ะแตกเกิดขึ้นเมื่อองค์การเภสัชกรรม (อภ.) จะต้องทำวิจัยและพัฒนา (R&D) ตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และไปค้นเจอว่ามีการยื่นจดสิทธิบัตรสารสกัดกัญผ่านระบบพีซีดีที่ไทยเมื่อไหร่ไม่รู้แต่เมื่อค้นเจอกลับพบว่าหมดเวลาประกาศเพื่อให้ทักท้วงแล้วซึ่งหากไม่มีใครทักท้วงกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะอนุมัติและได้รับความคุ้มครองดังกล่าวโดยกรมทรัพย์สินฯแจ้งว่าได้ประกาศแล้วแต่ไม่มีผู้ใดทักท้วง”  ผศ.ภญ.นิยดา กล่าว 

ผศ.ภญ.นิยดากล่าวว่าจากนั้นอภ.และเครือข่ายร่วมกันทักท้วงเรื่องดังกล่าวโดยสิ่งสำคัญทักท้วงว่าผิดกฎหมายไทยตามมาตรา 9(1) หากกรมทรัพย์สินฯมองเห็นว่าผิดกฎหมายไทยควรจะโต้แย้งไปตั้งแต่ครั้งแรกโดยที่ไม่ทำอะไรและไม่ต้องประกาศเพราะตั้งแต่ที่กรมทรัพย์สินประกาศแสดงว่าไทยยอมรับสิทธิบัตรนั้นแล้วปัจจุบันก็ยังไม่ดำเนินอะไรเรื่องยังคงคาราคาซังซึ่งคาดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์น่าจะทราบเรื่องนี้แล้วหากยังคงดองเรื่องและค้างไว้จนถึง 10 ปีหมายความเมื่อวิจัยแล้วเสร็จไทยก็ทำอะไรไม่ได้เพราะมีคนจดสิทธิบัตรสารสกัดกัญชาไปแล้วโดยระหว่างที่กำลังถกเถียงกันอยู่นั้นพบว่ามีการยื่นผ่านพีซีดีถึง 6 รายการบางรายการเป็นสารสกัดจากพืชกัญชาบางรายการเป็นสารสังเคราะห์จากพืชกัญชาโดยทุกตัวชัดเจนว่าเป็นสารสกัดจากพืชกัญชาทั้งหมดและอาจมีการยื่นจดพืชกระท่อมอยู่ด้วย   

นอกจากนี้ผศ.ภญ.นิยดากล่าวว่าขณะที่รัฐบาลไทยยังคงโอ้เอ้ปลดล็อกกฎหมายปัญหาสิทธิบัตรยังคงมีเรื่องคาราคาซังส่วนองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ทำอะไรไม่ได้มากโอกาสจะหลุดไปให้ต่างชาติยึดครองสูงมากแต่อย่างไรก็ดีเมื่อเห็นว่าผิดมาตราซึ่งชัดเจนอยู่แล้วก็ควรแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวและสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดหลังปลดล็อคจะเอื้อประโยชน์ให้กับต่างชาตินำผลิตภัณฑ์ที่จดสิทธิบัตรเข้ามาขายถ้าเป็นแบบนั้นคงต้องฟ้องร้องกันแน่

Advertisement

“ปลายเดือนนี้กพย. เครือข่ายนักวิชาการและเภสัชกรรมจะรวมตัวกันยื่นหนังสือเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ถ้าหากกระทรวงพาณิชย์ยังไม่ทำอะไรจะรวมตัวกันฟ้องศาลปกครองว่าคุณกระทำผิดกฎหมายไทยหรือไม่เช่นนั้นต้องให้พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้มาตรา 44 แก้ไขเรื่องทั้งหมดตั้งแต่ขั้นตอนแรก” ผศ.ภญ.นิยดากล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ระดมกำลังจี้กรมทรัพย์สินฯ ถอนสิทธิบัตร ‘กัญชา’ ถ้าไม่ทำ! ขอ คสช.ออกม.44 ชี้ขาด

จี้ ก.พาณิชย์ถอนสิทธิบัตรต่างชาติยื่นขอกัญชา 6 รายการ จ่อฟ้องศาลคุ้มครอง

หมอจุฬาฯจวกยับ!! หลังกรมทรัพย์สินฯ ให้ต่างชาติยื่นขอจดสิทธิบัตรสาร ‘กัญชา’ กระทบปท.แน่

กก.ยาเสพติดฯ เลื่อนยกระดับ ‘กัญชา’ หวั่นข้อกฎหมาย ส่งกฤษฎีกาตีความ

หมอจุฬาฯเสนอ 4 ข้อ กก.ยาเสพติดฯ หากเมินขู่ผู้ป่วยมะเร็งเคลื่อนไหว อย.ขอรอผล 9 พ.ย.

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image