วช.ทำชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบ หาเชื้อเลปโตสไปร่า ก่อโรคฉี่หนู

วช.ทำชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบ หาเชื้อเลปโตสไปร่า ก่อโรคฉี่หนู

 

โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู สามารถก่อให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งในคนที่ติดเชื้อบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

โดยสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มเลปโตสไปร่า (Leptospira) สายพันธุ์ Leptospira interrogans ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ

เลปโตสไปร่า (Leptospira) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) สามารถพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตประเทศเขตร้อน ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้ถือเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสัตว์เศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว และยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนาอีกด้วย

Advertisement

ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีการระบาดของ Leptospirosis นับตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งจะพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนเนื่องจากมีการเกิดน้ำท่วมขังที่เป็นแหล่งของเชื้อโรค สัตว์ที่เป็นโรคของเชื้อ Leptospira spp. สามารถเป็นได้ทั้งสัตว์ป่า เช่น กระรอก กวาง สุนัขจิ้งจอก และสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว รวมไปถึงหนู โดยเชื้อชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในท่อหน่วยไต และถูกขับออกมาทางปัสสาวะพร้อมกระจายไปยังแหล่งน้ำและดิน การติดต่อของเชื้อเข้ามาสู่คนสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสเชื้อโดยตรงและการเคลื่อนที่ของเชื้อเข้าสู่คนผ่านทางบริเวณผิวหนังที่มีแผลหรือบริเวณเยื่อบุอ่อนนุ่ม เช่น ตา จมูก ปาก เป็นต้น เมื่อมีการติดเชื้อความรุนแรงของการติดเชื้อจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อที่ติด และระยะเวลาของอาการป่วย ลักษณะอาการของโรค Leptospirosis เบื้องต้นจะมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ

รวมไปถึงอาการปวดตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่องซึ่งเกิดจากการทำลายเซลล์กล้ามเนื้อ

ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อ Leptospirosis จะใช้การตรวจด้วยกล้อง Darkfield microscope การตรวจหา DNA ของเชื้อด้วยวิธี Polymerase chain reaction (PCR) และการเพาะเชื้อ Leptospira spp. จากสิ่งส่งตรวจที่ได้รับมา ถึงแม้ว่าวิธีการต่างๆ เหล่านี้จะเป็นวิธีที่มีความจำเพาะในการวินิจฉัย แต่ก็มีข้อจำกัดต่างๆ เช่น การเพาะเลี้ยงเชื้อจำเป็นต้องใช้วิธีการเลี้ยงที่แตกต่างจากแบคทีเรียตัวอื่นและใช้เวลานาน รวมไปถึงวิธี PCR ถึงแม้จะเป็นวิธีที่มีความรวดเร็ว ความไวและความจำเพาะสูง

Advertisement

 

แต่ก็มีข้อเสียอยู่ที่การใช้เครื่องมือในการตรวจที่มีราคาแพง และไม่สามารถนำไปใช้ออกตรวจภาคสนามได้

การวินิจฉัยเชื้อจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่เป็นรังโรค เช่น เลือด น้ำเหลืองและปัสสาวะ สิ่งส่งตรวจจากสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ด้วยวิธี MAT (microscopic agglutination test) และ IFA (immunofluoresent assay) เป็นวิธีที่ใช้ทั่วไปในห้องปฏิบัติการเพราะง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีราคาถูก

แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 วิธี ยังมีข้อจำกัดด้านความแม่นยำ ในแง่ของการเกิดผลบวกลวงและผลลบลวง ก่อให้เกิดการวินิจฉัยที่ผิดพลาด ซึ่งจะส่งผลกระทบ

ต่อวางแผนการรักษา การป้องกัน และการควบคุมการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิส ปัจจุบันมีการชุดทดสอบ (test kit) ในการตรวจพันธุกรรมเชื้อเลปโต

สไปร่า โดยอาศัยวิธีการ Polymerase Chanin Reaction หรือ PCR ซึ่งต้องนำเข้าชุดทดสอบมาจากต่างประเทศ

คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นำโดย ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ และคณะ ประกอบด้วย ดร.สุพัตรา อารีกิจ รศ.ดร.อุไรวรรณ โฆษิตานนท์ รศ.นพ. วรพจน์ ตันติศิริวัฒน์ รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล รศ.ดร.พิชาภัค ศรียาภัย ดร.เกศปุญยวีศ์ บุญรอดดิษฐ์ ดร.พรพรรณ จรัสสิงห์ รศ.ดร.ทายาท ศรียาภัย  รศ.ดร.กุลชาติ จังภัทรพงศา และนายพงษ์บุญ ตั้งจิตรรุ่งโรจน์

ด้วยความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไบโอเซนเซอร์ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน ร่วมกับเครือข่ายวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้พัฒนาชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบเพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อเลปโตสไปร่า เพื่อพัฒนาชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบอย่างง่าย สะดวก และรวดเร็วในการตรวจหาเชื้อเลปโตสไปร่า โดยใช้เทคโนโลยีไบโอเซนเซอร์ที่มีศักยภาพด้านความไว และความจำเพาะสูงมาประยุกต์ใช้ในการตรวจเชื้อเลปโตสไปร่า เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษา ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิส

หลักการของชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบอย่างง่ายและรวดเร็วในการตรวจหาเชื้อเลปโตสไปร่า หรือ Rapid Leptospira DNA strip testž ใช้กระบวนการเพิ่มขยายจำนวนพันธุกรรมเฉพาะจุดของเชื้อเลปโตสไปร่า พร้อมกับกระบวนการดีเอ็นเอตรวจจับ โดยใช้อุณหภูมิเดียว ในระยะเวลาประมาณ 20 นาที หลังจากนั้นหยดส่วนผสมลงบนแผ่นทดสอบและอ่านผลเป็นแถบสี จากการศึกษาพบว่า Rapid Leptospira DNA strip testž สามารถตรวจพบเชื้อเลปโตสไปร่าในปริมาณปนเปื้อนน้อยกว่า 1 ตัว และมีความจำเพาะสูงโดยไม่เกิดการจับกับเชื้อก่อโรคชนิดอื่นๆ ด้วย

“คุณสมบัติดังกล่าวสามารถนำชุดทดสอบนี้ไปใช้ในโรงพยาบาล สถานอนามัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการตรวจโรค และลดขั้นตอนพร้อมทั้งเครื่องมือที่ยุ่งยาก นอกจากนี้สามารถไปใช้ประโยชน์ในการตรวจวิเคราะห์โรคเลปโตสไปโรซิสนอกสถานที่ได้ ในเขตชุมชนที่ห่างไกลได้ จึงเหมาะเป็นวิธีที่ใช้ในการตรวจเพื่อเฝ้าระวังโรค ควบคุมโรค ป้องกันโรค และ รักษาให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเลปโตสไปร่าได้อย่างทันท่วงทีŽ” ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าว

งานวิจัยพัฒนาต้นแบบชุดทดสอบ Rapid Leptospira DNA strip testŽ เป็นผลงานที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งเป็นปีแรกของการวิจัย

ในปีงบประมาณ 2565 นี้ คณะผู้วิจัยได้รับทุนสนับสนุนต่อเนื่องในการทดสอบด้านความถูกต้องของชุดทดสอบ Rapid Leptospira DNA strip testŽ โดยเปรียบเทียบผลกับวิธีมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน สำรวจจากตัวอย่างสิ่งส่งตรวจในจำนวนที่มากขึ้นและมาจากแหล่งที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ผลประเมินการใช้งานที่มีความน่าเชื่อถือ และสามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์หรือนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะได้ในอนาคต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image