นักกีฏวิทยาชี้ แมงเม่าออกมาเยอะ ไม่เกี่ยวโลกร้อน แต่ฝนมาเร็ว อากาศชื้นเหมาะสม

นักกีฏวิทยาชี้ แมงเม่าออกมาเยอะ ไม่เกี่ยวโลกร้อน แต่ฝนมาเร็ว อากาศชื้นเหมาะสม

กรณีโซเชียล มีการเผยแพร่เรื่องจำนวนแมงเม่า ที่ออกมาจำนวนมาในช่วงเวลานี้นั้น

วันที่ 23 พฤษภาคม ดร.แก้ววิภา รัตนจันทร์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านกีฏวิทยาป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ ว่า แมงเม่าก็คือ ตัวเต็มวัยของปลวก หรือปลวกที่มีปีกนั่นเอง ซึ่งพบเห็นทั่วไป ทั้งในป่า และตามบ้านเรือน โดยแมงเม่านั้นจะออกจะออกมาเล่นไฟ ภายหลังฝนตก หรือช่วงเวลาที่มีอากาศ และความชื้นที่เหมาะสม และอยู่ในช่วงวงจรชีวิตที่ปลวกจะออกมาเป็นตัวแมงเม่าพอดี

“ช่วงที่พวกเขาออกมาเล่นไฟนั้น จะเป็นช่วงการหาคู่และจับคู่กันด้วย นั่นคือ เมื่อได้คู่แล้วก็จะสลัดปีทิ้ง แล้ว ตัวผู้ตัวเมียก็จะผสมพันธุ์กัน เพื่อให้ได้เป็นปลวกตัวอ่อน เป็นวงจรชีวิตต่อไป การที่แมงเม่าสลัดปีทิ้ง และเห็นปีกกองอยู่จำนวนมากๆนั้น ไม่ได้หมายความว่า ตาย แต่หมายถึง เขาได้คู่แล้ว จะไปสร้างรังใหม่ และพร้อมผสมพันธุ์เพื่อสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป”ดร.แก้ววิภา กล่าว

Advertisement

เมื่อถามว่า ถือว่า ปีนี้เราเห็นแมงเม่าในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพราะภาวะโลกร้อนหรือไม่ 2 อย่างนี้เกี่ยวกันหรือไม่ ดร.แก้ววิภา กล่าวว่า ไม่น่าจะเกี่ยวกัน เพราะเห็นเป็นแบบนี้ทุกปี ที่เห็นเยอะอาจจะเป็น เพราะทุกๆปีฤดูร้อนแล้ว ฝนจะค่อยๆทยอยตก แต่ปีนี้ฤดูร้อนค่อนข้างยาว และฝนตกลงมาทีเดียวพร้อมกันทั่วประเทศ บวกกับ ได้เวลาที่ตัวเต็มวัยจะออกมาพอดี ก็เลยเห็นออกมาเยอะ

เมื่อถามว่า กินแมงเท่าเท่ากับกินปลวกใช่หรือไม่ จะมีผลอะไรต่อสุขภาพไหม ดร.แก้ววิภา กล่าวว่า ถูกต้องแล้ว แต่แมงเม่าเกือบทุกชนิกกินได้ อย่างไรก็ตาม คนที่ตั้งใจจะกิน จะไม่เก็บแมงเม่าที่ร่วงหล่นตามดินดินกิน เพราะจะสกปรก มีขี้ดินขี้ทรายเจอปน แต่จะใช้วิธีตักน้ำในภาชนะวางไว้แมงเม่าหล่นลงไปในน้ำ ซึ่งนำไปกินได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image