แพทย์ ชี้ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ไม่รุนแรงถึงชีวิต

Woman's ear

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโรคน้ำในหูไม่เท่ากันว่า โรคนี้ไม่ใช่โรคที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต เพียงจะกระทบต่อการดำรงชีวิตในขณะที่มีอาการป่วย สำหรับเกณฑ์การป่วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ต้องมี 4 อาการ 1. เวียนศีรษะ บ้านหมุน เห็นทุกอย่างเคลื่อนไหว ไม่น้อยกว่า 20 นาที หรือในอาการเป็นหนักต้องมากถึง 12 ชั่วโมง 2. ผลการตรวจการได้ยินของหู พบว่าการได้ยินลดลงในหูข้างใดข้างหนึ่ง ที่มีอาการหรือ 2 ข้างลดลง 3.อาการทางหูเป็นๆหายๆ รวมถึงมีความรู้สึกมีอะไร ดันๆ ภายในหู รวมการได้เสียงในหูข้าวเดียว และ4. เมื่อตรวจอาการทางร่างกายอื่นไม่พบสาเหตุ ทั้งนี้หากครบทั้ง 4 อาการ จึงจะเรียกน้ำในหูไม่เท่ากัน ความรุนแรงของโรคนี้ แต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนมีอาการเกิดขึ้น และหายได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง ก็กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่บางคนก็มีอาการรุนแรง มึน งง เป็นๆหายๆ เป็นเวลานาน ต้องมีการนอนพัก

พญ.ภาณิณี กล่าวว่า สำหรับสาเหตุของการอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากภาวะความเครียด พักผ่อนน้อย หรือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารเค็มจัด ทั้งนี้ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการระบุว่าป่วยด้วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน มักมีความเข้าใจผิด ถึงอาการของโรค โดยบางคนพบว่าป่วย เวียนศีรษะก็คิดว่าป่วยบ้านหมุน ทั้งความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ ส่วนการรักษามีหลายแนวทาง 1.ช่วงที่เวียนหัว บ้านหมุน ต้องทำอย่างไรให้ลดอาการ ให้รับประทานยาแก้เวียนศีรษะ ฉีดยาแก้เวียนศีรษะ รวมกับการพักผ่อน ซึ่งแต่ละคนไม่เท่ากัน 2. ทำให้ความถี่ของโรคให้เกิดน้อยที่สุด การรักษาจะเน้นรับประทานยาเป็นหลัก ร่วมกับการขับปัสสาวะ เนื่องจากมีน้ำในหูชั้นในผิดปกติ เพื่อขับน้ำออกไป หรือใช้การผ่าตัดร่วมในรายที่มีอาการรุนแรง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image