ศูนย์วิจัยทรัพยากรฯ เผยจุดคุ้มทุนมนุษย์ ค่าแรงขั้นต่ำควรเริ่ม 622 บาทต่อวัน

นายเทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ได้ประมาณการอัตราค่าจ้างหรือรายได้ที่คุ้มค่าการลงทุนในทุนมนุษย์ของแรงงานจบใหม่ ปี 2561 ใน 18 สาขาอาชีพ พบว่า อาชีพแรงงานวิชาชีพ วุฒิการศึกษาปริญญาตรีได้รับค่าตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 4.76% ต่อปี แรงงานพื้นฐาน วุฒิการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ที่ 1.65%  และแรงงานไร้ฝีมือ วุฒิการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น ที่ 1.17% โดยเป็นระดับที่ใกล้เคียงเงินเฟ้อของไทยในแต่ละปี ซึ่งเมื่อหักมูลค่าของเงินที่ลดลงจากอัตราเงินเฟ้อแล้วแทบจะไม่ได้ผลตอบแทนเลย ทำให้แรงงานพื้นฐานและแรงงานไร้ฝีมือมีรายได้ไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนไปในทุนมนุษย์ของตนเอง แต่จำนวนนี้ยังไม่รวมกับรายได้พิเศษอื่น ๆ

นายเทอดศักดิ์ กล่าวว่า กรณีที่คิดว่าแรงงานจบใหม่ในปี 2561 ควรได้รับผลตอบแทนทุนมนุษย์ขั้นต่ำที่ 6.5% เทียบเท่ากับอัตราเงินกู้ขั้นต่ำประเภทเงินกู้ที่มีระยะเวลา(เอ็มแอลอาร์) ของสถาบันการเงิน นั้น พบว่าแรงงานไร้ฝีมือควรมีรายได้ต่อวัน 622บาท หรือ 13,357 บาทต่อเดือน แรงงานพื้นฐานรายได้ที่ 897 บาทต่อวันหรือ 18,832 บาทต่อเดือนและแรงงานวิชาชีพ ควรมีรายได้ค่าแรงขั้นต่ำที่ 1,387 บาทต่อวันหรือ 29,711 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม เป็นการศึกษาจากฝั่งลูกจ้าง มุมมองด้านนายจ้างอาจจะต้องมีการพิจารณาด้านรายละเอียด เช่น ความต้องการแรงงานของตลาดแรงงาน ประสิททธิภาพการทำงาน เป็นต้น ซึ่งลูกจ้างควรมีการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของตนให้สูงขึ้นเพื่อได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น หรือมีการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้และลดความเสี่ยงจากการมีรายรับทางเดียว เป็นต้น  

ค่าจ้างแรงวิชาชีพต่าง ๆ ตามประมาณการผลตอบแทนที่ 6.5%
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image