เปิดผลเลือกตั้ง เมียนมา ก่อนกองทัพ รวบ ตัว ออง ซาน ซูจี ส่อทำรัฐประหาร

เปิดผลเลือกตั้ง เมียนมา ก่อนกองทัพ รวบ ตัว ออง ซาน ซูจี ส่อทำรัฐประหาร

จากกระแสข่าวการจับกุมตัว นางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) พรรครัฐบาล ของเมียนมา และ บรรดาผู้นำรัฐบาลพลเรือนของพม่า จนเกิดเป็นกระแสข่าวลือว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้นในเมียนมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์

จับตาปฏิวัติ! ทหารเมียนมารวบตัวซูจีพร้อมผู้นำพรรคเอ็นแอลดีแล้ว

ทหารพม่า คุมตัวมุขมนตรีแต่ละรัฐ นักการเมืองฟากประชาธิปไตย เร่งหลบหนีแล้ว

สถานทูตชาติตะวันตก หวั่นรปห.ในเมียนมา พร้อมใจจี้กองทัพ เคารพผลการเลือกตั้ง

Advertisement

มูลเหตุแห่งความขัดแย้งครั้งล่าสุดนั้นเกิดขึ้นจากผลการเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) คว้าชัยชนะไปอย่างถล่มทลาย สามารถครองเก้าอี้ในรัฐสภาได้มากถึง 83 เปอร์เซ็นต์ โดยครองเก้าอี้ได้มากถึง 396 ที่นั่ง จากเก้าอี้ในรัฐสภา 476 ที่นั่ง ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่ 2 โดยคว้าที่นั่งในสภาแบ่งเป็น สภาผู้แทนราษฎร หรือสภาล่าง 258 ที่นั่ง (เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 ที่นั่ง) และสภาชนชาติ หรือสภาสูง 138 ที่นั่ง (เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 ที่นั่ง)

ขณะที่ พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา ( USDP) พรรคซึ่งได้รับการสนับสนุนของกองทัพได้เสียงในสภาล่าง 26 ที่นั่ง และสภาชนชาติ 7 ที่นั่ง (ลดลงจากเดิมสภาละ 4 ที่นั่ง)

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญพม่าฉบับล่าสุดกำหนดเอาไว้ว่าให้กองทัพเมียนมา จะต้องแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คิดเป็นสัดส่วน 25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อคงอำนาจของกองทัพเอาไว้ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกทั้งสองสภา มากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ เพื่อนำไปสู่การทำประชามติ และการลงประชามติดังกล่าว ถูกกำหนดไว้ว่า จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิลงคะแนนทั้งประเทศมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้นับจากสัดส่วนผู้มาลงประชามมติแต่อย่างใด

Advertisement

นอกจากนี้ “รัฐธรรมนูญ” ยังให้อำนาจ “กองทัพ” ในการแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญๆเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศได้ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงกิจการชายแดน ได้ด้วย

ทั้งนี้หลังการเลือกตั้งดังกล่าว กองทัพเมียนมา ออกมาแสดงความกังวลว่าจะมีการทุจริตเลือกตั้งขึ้น อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ได้รับลูกดังกล่าวโดยระบุว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอ ส่งผลให้ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง ลาย ออกมาประกาศส่งสัญญาณการรัฐประหารยึดอำนาจ โดยระบุว่า รัฐธรรมนูญ “เป็นกฎหมายแม่บทของทุกกฎหมายที่มีอยู่และควรได้รับความเคารพ” อย่างไรก็ตาม พลเอกอาวุโสมิน อ่อง ลาย กล่าวเตือนด้วยว่าในบางสถานการณ์ “ก็อาจมีความจำเป็นที่จะต้องล้มล้างรัฐธรรมนูญ”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยพบพม่า : การเลือกตั้งกับปัญหาที่เพิ่งเริ่ม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image