‘สิริพรรณ’ ฟันธง ไม่มีทางกลับไป ‘หาร 500’ มอง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ เหมือนมือที่ 3 ขัดตาทัพ ‘พปชร.หมั้น พท.’

‘สิริพรรณ’ ฟันธง ศาล รธน.จะไม่เคาะ กลับไปใช้ ‘หาร 500’ มอง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ เหมือนมือที่ 3 ขัดตาทัพ ขวาง ‘พปชร.หมั้นเพื่อไทย’

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ที่มติชนอคาเดมี ถนนเทศบาลนิมิตใต้ ซอย 12 ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร สำนักพิมพ์มติชนจัดงาน “สมานมิตรฯ Return เปิดโกดังหนังสือดี” ร่วมกับพันธมิตรสำนักพิมพ์อีก 10 แห่ง โดยวันนี้จัดเป็นวันที่ 2 ไปจนถึง 4 ธันวาคม ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ มีผู้หลั่งไหลเดินทางมาเลือกซื้อหนังสือเป็นจำนวนมากแน่นโถงชั้น 1 โดยให้ความสนใจกับหนังสือหลากหลายประเภท ซึ่งมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 10 บาท ลดสูงสุด 90% รวมทั้งมุมหนังสือหายาก

อ่านข่าว : รุมชิม ‘เห่าดง’ กฤช เหลือลมัยลุยเด็ดกะเพราป่าจากชัยบาดาล ปรุงกลาง ‘โกดังมติชน’

ขนุน สิรภพ งบไม่อั้น ฝ่าฝนลุย ‘โกดังมติชน’ กวาด ‘บ้านเมืองของเราลงแดง’ แจกนักกิจกรรม

กฤช เหลือลมัย เปิดโพยผักพื้นบ้าน ยัน ‘วัชพืช’ ก็กินได้ ชี้เป้าปรุง ‘หญ้ายาง-เถาตูดหมูตูดหมา’

Advertisement

เปิดโกดังมติชน เช้าครึกครื้น บ่ายสุดเข้ม รอฟัง ‘สิริพรรณ’ คุยทิศทางการเมืองไทย

บรรยากาศเวลา 14.00 น. รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา Special Talk: 2566 ในหัวข้อ “การเมืองไทย ไปทิศทางไหน” ดำเนินรายการโดย กุลพัทธ์ เพิ่มพูน

โดยในช่วงต้น พิธีกรถามว่าการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรต้องรอวันที่ 30 พ.ย.นี้ ว่ากฎหมายลูก หรือ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่เหลืออีก 1 ฉบับ จะผ่านสภา หรือตกใช่หรือไม่ ซึ่งถ้าหากผ่านหรือตก จะส่งผลอย่างไรบ้าง ?

Advertisement

รศ.ดร.สิริพรรณกล่าวว่า นี่เป็นโจทย์ยากและอยู่ในใจของใครหลายคน ถ้าให้ประเมินต้องบอกว่า ค่าเฉลี่ยจากที่ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ผ่านไปแล้ว 9/10 แล้วหลายคนมองว่าตัวตึงจริงๆ น่าจะอยู่ที่ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงมีกระแสที่เกิดขึ้นมาว่า พล.อ.ประยุทธ์จะย้ายไปอยู่พรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งแน่นอนว่าตัวระบบเลือกตั้งที่กำหนดใน พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา ไม่เป็นคุณกับพรรครวมไทยสร้างชาติ กลับเป็นคุณกับพรรคใหญ่ อย่างเพื่อไทยมากกว่า จึงเกิดกระแสสงสัยว่าจะกลับไปใช้บัตร 2 ใบหรือไม่ หรือจะกลับมาใช้สูตรหาร 500

“ต้องบอกว่า ประการแรก ถ้าจะให้กลับไปใช้สูตรบัตรใบเดียว โอกาสเป็นไปได้น้อยมากจนเป็น 0 เพราะหากเทียบกับ พ.ร.ป.พรรคการเมืองที่เพิ่งผ่านไปนั้น ในเนื้อหามีข้อความที่บอกว่า ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และแบ่งจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็น 100 และ ส.ส.เขต เป็น 400 ถ้าจะกลับไปใช้บัตรใบเดียวปุ๊บ จะไปขัดกับ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ซึ่งผ่านไปแล้ว

ถ้าจะให้ลงรายละเอียด ก็ยังเชื่อว่าพลังประชารัฐเองอาจจะไม่ได้ประโยชน์นักจากสูตรเดิม ทีนี้ ถ้าลองมาเปรียบประเด็นที่ 2 คือ ถ้าจะกลับไปใช้สูตรหาร 500 ตามข่าวลือ ต้องกับไปดูคำร้องว่า คุณหมอระวี (มาศฉมาดล) ร้องอะไรบ้าง ซึ่งแยกเป็น 2 ประเด็น คือ

1.กระบวนการผ่าน พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งตอนนั้นเราจะเห็นว่าพรรคใหญ่อย่างเพื่อไทย และพลังประชารัฐ ร่วมกันปล่อยให้ครบ 180 วัน โดยไม่ครบองค์ประชุม หรือเรียกง่ายๆ ว่าสภาล่ม ซึ่งเป็นเชื้อที่ปล่อยมาถึงทุกวันนี้ สภาล่มบ่อย

คำร้องข้อที่ 2. คือในแง่ของเนื้อหา คุณหมอระวีไม่ได้ร้องว่า สูตรหาร 100 ผิดรัฐธรรมนูญด้วยตัวเอง และไม่ได้ร้องว่า ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้กลับไปใช้สูตรหาร 500 ดังนั้น จึงฟันธงได้อีก 1 ประเด็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่มีคำวินิจฉัยที่บอกว่า ต้องกลับไปใช้สูตรหาร 500 โดยทันที เพราะ 1.ไม่ได้อยู่ในคำร้องของ นพ.ระวี 2.โดยตัวเนื้อหาของสูตร หาร 100 ไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญ” รศ.ดร.สิริพรรณชี้

รศ.ดร.สิริพรรณกล่าวต่อว่า ส่วนที่ นพ.ระวีเขียนคำร้องนั้น แบ่งเนื้อหาได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.บอกว่า มันมีเชื้อในรัฐธรรมนูญ ที่พูดด้วยคำว่า ‘มี ส.ส.พึงมีปรากฏอยู่’ รวมถึงการเลือกตั้ง ปี 2562 มีตัวที่บอกว่า เนื่องจากการเอาบัตรของ ส.ส.เขต มาคำนวณ ส.ส.รายชื่อ ถ้า ส.ส.เขตเปลี่ยนไป สมมุติว่าได้ใบแดง จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อก็จะต้องเปลี่ยนตามเพราะโยงกันอยู่ ตรงนี้ในรัฐธรรมนูญยังมีอยู่ และการแก้ไขระบบเลือกตั้งไม่ได้เอามาตรานี้ออก นพ.ระวีจึงบอกว่า มีเชื้อเดิมของระบบเลือกตั้งเดิมอยู่ ตนจึงเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะไม่วินิจฉัยกลับมาสูตรหาร 500

“ถ้าให้คาดเดา ถ้าขัดเล็กๆ น้อย ในรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถให้แก้ไขส่วนนั้นได้โดยที่ทั้งฉบับไม่จำเป็นต้องตกไป นี่คือโอกาสที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นแบบนี้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่อาจจะแก้ทัน หรืออาจจะให้ดำเนินการเลือกตั้งไปก่อน แล้วค่อยแก้ทีหลัง ก็เป็นได้” รศ.ดร.สิริพรรณกล่าว และว่า

ในแง่หนึ่ง อาจจะมองได้ว่า การใช้มาตรการตุกติกไม่ยอมเอาเข้าวาระที่ 3 โหวตกันให้เรียบร้อยก่อนนั้น ไม่สง่างาม แต่ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญจะใช้คำวินิจฉัยว่า กระบวนการนี้ขัดรัฐธรรมนูญ จะเท่ากับว่าก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา ตามข้อบังคับของการแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น อาจจะไม่สง่างาม แต่ก็ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ

รศ.ดร.สิริพรรณกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์จะย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ ว่า บางทีเราก็จะคิดว่า ‘เห็นหนูตัวเท่าช้าง เห็นช้างตัวเท่ามด เห็นงูเป็นริบบิ้น’  ตนอยากจะมองว่า กระแสที่ปล่อยออกมาตอนนี้เพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์ ?

“กล่าวคือ ทำเหมือนกับว่า รวมไทยสร้างชาติจะเป็นพรรคที่มีโอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์จะย้ายเข้ามา เหมือนเครื่องมือ ตกปลาในบ่อเพื่อน ถามว่ากระแสนี้ออกมาจากไหน น่าจะมาจาก พล.อ.ประยุทธ์ และรวมไทยสร้างชาติ แต่ก็ต้องรอฟัง ตามความเห็นตามหลักวิชาการและกฎหมาย ก็จะเชื่อเช่นนี้” รศ.ดร.สิริพรรณระบุ

เมื่อถามว่า ถ้าหากจะมองอีกมุมว่า กระแสดังกล่าวเป็นการ ‘แยกกันเดิน รวมกันตีในอนาคต’ ได้หรือไม่ ?

รศ.ดร.สิริพรรณกล่าวว่า เรื่องแยกกันเดิน เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เราจะเห็นว่าตอนนี้สิ่งที่ไม่เคยมีในสังคมไทยมาก่อน คือการมีพรรคทหาร 2 พรรคพร้อมกัน จากอดีตพรรคทหารจะเกิดขึ้นมาทีละพรรค แต่ตอนนี้ 2 พรรคเหมือนกับ 2 หัว ถามว่าเป็นเทคนิคการต่อสู้ แยกกันเดิน แล้วมารวมกันทีหลังหรือไม่ ในแง่หนึ่งเชื่อว่าโอกาสรวมกัน เป็นไปได้

“แต่การแยกกันเดิน ไม่ใช่เรื่องแทคติค (กลยุทธ์) อย่างเดียว ยังเป็นเรื่องของวิธีการในการทำงานทางการเมือง ซึ่งภาพรวมองคาพยพของพลังประชารัฐ ถ้าไม่นับกลุ่ม 4 กุมารที่แยกออกไป ส่วนใหญ่คือ ‘ศิษย์เก่าเพื่อไทย’ ฉะนั้น โอกาสที่พลังประชารัฐจะไปร่วมมือกับเพื่อไทยเป็นไปได้สูง แต่ยุทธศาสตร์แบบนี้อาจจะถูกใจคนจำนวนหนึ่ง เพราะคือการต่อรอง และการสลายขั้วการเมืองคือยุทธศาสตร์ของกลุ่มหนึ่งในพลังประชารัฐ และอาจจะเป็นยุทธศาสตร์ของ พล.อ.ประวิตร

แต่ฝั่งที่หนุน พล.อ.ประยุทธ์ไม่ชอบยุทธศาสตร์นี้ คือยังไม่อยากเห็นการสลายขั้ว ยังยอมรับไม่ได้ที่เพื่อไทยจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง แม้จะในภาพของรัฐบาลผสมก็ตาม ดังนั้น พูดง่ายๆ การเกิดขึ้นของรวมไทยสร้างชาติ เหมือน ‘มือที่ 3’ ที่เข้ามา อย่างน้อยป้องกันไม่ให้ เพื่อไทยกับพลังประชารัฐ หมั้นหมายและแต่งงานกันได้ในที่สุด เหมือนกับ ‘มาขัดตาทัพเอาไว้ก่อน’ เพราะมองว่าจะเป็นการกลับมาของเพื่อไทย ถึงแม้จะเป็นเพื่อไทย + พลังประชารัฐ ก็ตาม แต่ก็มีโอกาสที่พลังประชารัฐจะไปรวมกับรวมไทยสร้างชาติด้วย รศ.ดร.สิริพรรณกล่าว

รศ.ดร.สิริพรรณกล่าวต่อว่า อีกวิธีที่พลังประชารัฐเคยใช้ คือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งตอนนี้ พลังประชารัฐก็เจอประเด็นทางกฎหมาย เช่น 1.เรื่องยุบพรรค จากการบริจาคเงิน 2.ข่าวคุณธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งถ้าจับทางจากที่ พล.อ.ประวิตรหลุดมาว่า ‘เขาติดคดีอยู่’ พร้อมส่ายหน้า ถามว่าตอนนี้คุณธรรมนัสโดนคดีอะไร ยังไม่มีคดีเป็นที่ประจักษ์ แต่สัญญาณนี้กำลังจะบอกว่า โอกาสที่คุณธรรมนัสจะกลับมาพลังประชารัฐมีน้อย

“ถามว่านี่เป็นกลเกมของใคร คิดว่าเกมนี้ทำพร้อมกับการสร้างความหวัง ว่าจะกลับไปใช้สูตรหาร 500 ซึ่งถ้าหากกลับไปใช้ พรรคที่จะเสียเปรียบมาก คือ พลังประชารัฐและภูมิใจไทย เพราะใช้ฐานคะแนนเสียงบัญชีรายชื่อเป็นตัวตั้ง และพรรคเหล่านั้นไม่มีจุดขายในฐานะพรรคในตัวของเขาเอง ถ้าให้ประเมิน การเลือกตั้งครั้งหน้า พลังประชารัฐอาจจะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคิดเป็นฐานคำนวณ ส.ส.ทั้งหมด เอา 500 เป็นตัวตั้ง คืออาจจะได้ ส.ส.พึงมี 25 ที่นั่ง แต่คุณจะไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่ม

ภูมิใจไทยก็เหมือนกัน ประเมินกันว่าจะได้เป็น 100 ได้จากไหน จาก ส.ส.เขต ด้วยพลังดูดและบ้านใหญ่ แต่ถามว่าคะแนนนิยมในระดับบัญชีรายชื่อมากแค่ไหน ย้อนไปปี’54 ภูมิใจไทยได้ 3 เปอร์เซ็นต์ ปี’62 ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการรวมของ ส.ส.เขต ครั้งนี้ต่อให้ภูมิใจไทยปังมาก ได้ 8 เปอร์เซ็นต์ ก็คือไม่เกิน 40 ที่นั่ง

แน่นอนว่า รวมไทยสร้างชาติ ประเมินคะแนนที่จะได้มาจากกระแสของ พล.อ.ประยุทธ์ และจากภาคใต้ แต่อย่าลืมว่าภาคอีสานที่มีประชากรมากที่สุด เสียงของ พล.อ.ประยุทธ์ต่ำมาก จึงต้องเอามาเฉลี่ยกัน” รศ.ดร.สิริพรรณกล่าว

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image