คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ สงสัย ‘เสียง’ ส.ว.รับผิดชอบต่อใคร แนะฟังสภาผู้แทน เคารพ ปชช.

คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ สงสัย ‘เสียง’ ส.ว.รับผิดชอบต่อใคร แนะฟังสภาผู้แทน เคารพ ปชช.

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงทรรศนะกรณีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ได้รับการเสนอชื่อ ทว่าได้เสียงเพียง 324 เสียง ไม่เพียงพอให้นั่งนายกฯนั้น

ผศ.ดร.ปารีณากล่าวทางเฟซบุ๊กว่า นายกรัฐมนตรี ควรมีที่มาที่สามารถยึดโยงกับประชาชนตามหลักการปกติและแท้จริงของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งปรากฏตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ที่ให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 กำหนดให้การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องทำ “ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา” ด้วย “มติเห็นชอบ” โดยมี “คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของทั้งสองสภา”

Advertisement

ดังนั้น การ “งดออกเสียง” จึงมีความหมายเท่ากับการไม่เห็นชอบนั่นเอง

การออกเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าโหวตสนับสนุนใคร รับใคร หรือไม่รับ ไม่สนับสนุนใครนั้น เป็นการตัดสินใจออกเสียงของสมาชิกสภาที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนของเขา (constituencies) ที่เลือกเขามาเป็นผู้แทน แต่การออกเสียง หรืองดออกเสียงของสมาชิกวุฒิสภานั้นแสดงถึงการรับผิดชอบต่อใคร?

สมาชิกวุฒิสภาสามารถแสดงออกถึงการเคารพต่อเสียงประชาชนได้โดยการฟังเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

Advertisement

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image