เช็กมติ ครม. 7 พฤษภาคม 2567 แต่งตั้ง-โยกย้าย ครบทุกตำแหน่ง

เช็กมติ ครม. 7 พฤษภาคม 2567 แต่งตั้ง-โยกย้าย ครบทุกตำแหน่ง

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม คณะรัฐมนตรี มีมติแต่งตั้ง โยกย้าย หลายตำแหน่ง ดังนี้

1.เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

Advertisement

2.เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
1. นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

3. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ จากฐานชีวภาพ

Advertisement

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ รวม 7 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
1. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์สิรี ชัยเสรี ด้านการบริหารเศรษฐกิจการเกษตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. นางรวีวรรณ ภูริเดช ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. ศาสตราจารย์ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ ด้านการเงิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายสุเมธ เหล่าโมราพร ด้านบริหารธุรกิจและการตลาด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
7. นายทศพล ทังสุบุตร ด้านนิติศาสตร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

4.เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2516 (เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าว และคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2518 (เรื่อง แต่งตั้งกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489)
2. แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ชุดใหม่ จำนวน 10 ตำแหน่ง ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการ
3. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน กรรมการ
4. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน กรรมการ
5. อธิบดีกรมการค้าภายใน หรือผู้แทน กรรมการ
6. อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ หรือผู้แทน กรรมการ
7. ผู้แทนกรมการปกครอง กรรมการ
8. ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
9. ผู้แทนกรมการข้าว กรรมการ
10. ผู้อำนวยการกองที่รับผิดชอบสินค้าข้าว กรมการค้าภายใน กรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

5.เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
1. นายณัฐภูมิ เปาวรัตน์ ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจการคลังสินค้า
2. นายฉัตรชัย ศักดิ์ศิลปชัย ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจการไซโล
3. นายวรพันธ์ ประเสริฐยิ่ง ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจการห้องเย็น
4. นายกษาปณ์ เงินรวง ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจการธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

6. เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1) นายภูมิธรรม เวชยชัย
2) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
3) นายพิชัย ชุณหวชิร
4) นายอนุทิน ชาญวีรกูล
5) พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
6) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน

7.เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้
1) นายวิชัย ไชยมงคล ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
2) พลเรือโท นิกร เพชรวีระกุล ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
3) นายกิตติกร โล่ห์ สุนทร ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
4) นางจินตรา หมีทอง ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายสันติ พร้อมพัฒน์)]

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

8. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 9 คณะ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้
1. คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง
2. คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
3. คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ
4. คณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนตามแนวทางในการป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล
5. คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
6. คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
7. คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร
8. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา
9. คณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

รายละเอียดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ดังนี้

1. คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานกรรมการ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี รองประธานกรรมการ โดยกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายรอยล จิตรดอน และนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ โดยมี อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ นายวัฒนา สุกาญจนาเศรษฐ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
1) ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และสนับสนุนให้การดำเนินการโครงการฝนหลวงเป็นไปตามพระราชประสงค์ เพื่อความสัมฤทธิ์ผลภายในกรอบพระบรมราโชบายตำราฝนหลวง และข้อแนะนำทางเทคนิคพระราชทาน
2) ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง และการปฏิบัติการฝนหลวงก้าวหน้า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น

2. คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
องค์ประกอบชุดใหม่
รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป นายกสมาคมอุตสาหกรรมสับปะรดไทย นายกสมาคมชาวไร่สับปะรดไทย และผู้แทนกลุ่มเกษตรกรทำไร่พงศ์ประศาสน์ (นายสุวิทย์ สุขชิต) โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นายพรชัย พูลสุขสมบัติ นายศราวุฎ เรืองเอี่ยม นายสุรศักดิ์ เหลืองอร่ามกุล และนายศิริ ชมชาญ โดยมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
1) กำหนดนโยบายในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาสับปะรดของประเทศ
2) สนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สับปะรด
3) สั่งการและหารือประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนนโยบายของคณะกรรมการฯ
4) ติดตามการดำเนินงานยุทธศาสตร์สับปะรด และรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ
5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็น

3. คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)

รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายกฤษฎา เกิดสมจิตต์ ผู้แทนเกษตรกร นายกันตพงษ์ แก้วกมล ผู้แทนเกษตรกร นายขจรรัฐ สุระโคตร ผู้แทนเกษตรกร นายจงสฤษดิ์ คุ้นวงศ์ ผู้แทนภาคเอกชน นายชาญวิทย์ กาญจนวัฒน์ ผู้แทนภาคเอกชน นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ผู้แทนภาคเอกชน นายชมชวน บุญระหงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายบำเพ็ญ เขียวหวาน ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายสุทธิศักดิ์ แก้วแกมจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 4 คน (อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
1) กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนปฏิรูปประเทศ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศ
2) ดำเนินการบูรณาการแนวทาง มาตรการ แผนงานและงบประมาณกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์
3) จัดระบบการประสานและการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อกำกับดูแล และเร่งรัดการดำเนินงานของส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อมอบหมายให้ดำเนินการใดตามที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อช่วยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ทั้งระบบตามความเหมาะสม

4. คณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนตามแนวทางในการป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล

องค์ประกอบชุดใหม่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมาย รองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 13 ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 อธิบดีกรมชลประทาน ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ หรือผู้แทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ หรือผู้แทน ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน หรือผู้แทน นายบุญมี โสภังค์ ผู้แทนกลุ่มสมัชชาสุ่มน้ำมูล นางบุรี อาจโยธา ผู้แทนกลุ่มสมาพันธ์เกษตรอีสาน นายทองวัน อาจสาลี ผู้แทนกลุ่มพัฒนาเขื่อนราศีไศล นางวันเพ็ญ แสงศร ผู้แทนกลุ่มอิสระ นายวิพล อุปสิทธิ์ ผู้แทนกลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรแม่มูลยั่งยืน และนายอำคา โพธิ์ศรี ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรฝายราศีไศล โดยมีรองอธิบดีกรมชลประทาน ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง กรมชลประทาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
1) พิจารณากลั่นกรองแนวทางตามแผนในการป้องกันแก้ไข และฟื้นฟูผลกระทบตามผลการศึกษากระทบทางสังคมโครงการฝายราษีไศลและการแก้ไขผลกระทบอย่างยั่งยืน ที่คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการศึกษาไว้แล้วให้นำไปสู่การปฏิบัติจริง
2) พิจารณาและเสนอการขับเคลื่อนแผนงานในการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟู ซึ่งได้รับการเห็นชอบร่วมกัน ที่มีขั้นตอนปฏิบัติ ระยะเวลา งบประมาณ หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ชัดเจนแล้ว ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำแผนการขับเคลื่อนที่ได้พิจารณาแล้ว เข้าขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำไปดำเนินการต่อไป
3) ติดตาม ดูแล สนับสนุน การปฏิบัติงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
5) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามความเหมาะสมภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการ
อนึ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานภายใต้คำสั่งนี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงาน มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะเดินทาง (หากมี) โดยอนุโลมตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

5. คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช

องค์ประกอบชุดใหม่
รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายกสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลือง และรำข้าว นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย นายกสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม นายกสมาคมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก โดยมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ
หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)

1) เสนอนโยบาย แผนการบริหาร การจัดการ การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชน้ำมัน และน้ำมันพืชต่อคณะรัฐมนตรี
2) กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ และเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การจำหน่าย การแปรรูป การนำเข้า การส่งออก การใช้ทดแทนพลังงาน รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
3) เร่งรัด ส่งเสริม และประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน เกษตรกร อุตสาหกรรมน้ำมันพืช และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
4) มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเป็นรายสินค้าที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น

6. คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นายกสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย นายกสมาคมยางพาราไทย นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมการยางแห่งประเทศไทย นายกสมาคมสหพันธ์ขาวสวนยางแห่งประเทศไทยนายกสมาคมเครือข่ายเกษตรกร สถาบันเกษตรกรยางพาราไทย ประธานคณะกรรมการเครือข่ายขาวสวนยางระดับประเทศ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และนายประเสริฐ อัคราจินดากุล ผู้แทนคนกรีดยาง โดยมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)

1) เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาและแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ กำหนดมาตรการระยะสั้น และระยะยาวให้เชื่อมโยง ทั้งการผลิต การตลาด และการแปรรูป อย่างครบวงจร โดยครอบคลุมการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การพัฒนาการผลิต การพัฒนาระบบตลาด การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า การควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน การวิจัยพัฒนา และเพิ่มการใช้ยางในประเทศ รวมทั้งแนวทางการเจรจาของไทยเกี่ยวกับยางพาราระหว่างประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2) กำหนดและเสนอมาตรการเพื่อดูแลระดับราคายางพาราให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสม โดยเน้นกลไกตลาด เสนอแผนปฏิบัติการ รวมทั้งงบประมาณที่ต้องใช้ในการดูแลระดับราคายาง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องและคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นขอบและอนุมัติตามขั้นตอน
3) ติดตามและกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ มาตรการ และแผนปฏิบัติการ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการยางพาราต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
5) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือขอเอกสารหลักฐาน โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
6) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

7. คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร

องค์ประกอบชุดใหม่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง หรือผู้แทน อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือผู้แทน อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา หรือผู้แทน เจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ หรือผู้แทน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือผู้แทน ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน อธิบดีกรมการข้าว อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร อธิบดีกรมหม่อนไหม เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร และผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โดยมีผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการและเลขานุการผู้อำนวยการสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
1) กำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร
2) พิจารณาระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ
3) บูรณาการแผนงาน/โครงการ งบประมาณในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4) อำนวยการ กำกับ ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติให้เป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ
5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลผู้ช่วยปฏิบัติงานตามความจำเป็นและเหมาะสม

8. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา

องค์ประกอบชุดใหม่

รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมเจ้าท่า ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นายกฤษกร ศิลารักษ์ นายบุญเลื่อน วงศ์ประเทศ และนางผ่องศรี สืบวงค์ โดยมีรองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
1) พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินทุกประเภทและให้ความเห็นชอบผลการตรวจสอบทรัพย์สินเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติจ่ายค่าทดแทน
2) กำกับและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานรวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้อง ตามความจำเป็น
4) ปฏิบัติงานอื่นที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการนี้
ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ให้กรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานที่ได้รับแต่งตั้งได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทาง อนุโลมตามระเบียบราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากกรมชลประทาน

9. คณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ
องค์ประกอบชุดใหม่

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมการข้าวอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ โดยมีผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักการเกษตรต่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
1) ติดต่อประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization – FAO) โครงการอาหารโลก (World Food Programme – WEP) กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development- IFAD) ศูนย์พัฒนาชนบทแบบผสมผสานสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค (Centre for Integrated Rural Development for Asia and the Pacific – CIRDAP) และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐบาล และเอกชนของประเทศไทย ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ FAO, WEF, IFAD, และ CIRDAP) รวมทั้ง จัดหา เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านอาหาร การเกษตร และพัฒนาชนบท
2) ติดตามผลการดำเนินขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การเกษตร และการพัฒนาชนบท
3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเฉพาะเรื่องได้ตามความเหมาะสม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image